คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 798

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ, การเชิดตัวแทน, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ไม่มีการประชุมสามัญประจำปี กรรมการชุดเดิมยังคงมีอำนาจ
ข้อบังคับของบริษัทโจทก์ ข้อ 4 มีความว่า 'เมื่อมีการประชุมสามัญประจำปี'ภายหลังแต่การจดทะเบียนบริษัท ในทุก ๆ ปีต่อไปของบริษัทก็ดี ผู้ที่เป็นกรรมการต้องออกจากตำแหน่งทั้งสิ้น ...' ดังนี้ กรรมการชุดเดิมต้องออกจากตำแหน่งต่อเมื่อมีการประชุมสามัญประจำปีในทุก ๆ ปี ถ้าไม่มีการประชุมสามัญประจำปี กรรมการก็ยังคงเป็นกรรมการของบริษัทอยู่ต่อไป หลังจากตั้งกรรมการชุดเดิมแล้ว บริษัทโจทก์ไม่มีการประชุมสามัญประจำปีกรรมการบริษัทโจทก์ชุดเดิมจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายฟ้องจำเลยได้
ข้อที่ว่า บริษัทจำเลยเชิด ช. และ ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ทำการกู้เงินจากบริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยได้รับและถือเอาประโยชน์จากการกู้ยืมรายนี้ย่อมอยู่ในประเด็นว่าบริษัทจำเลยได้กู้เงินโจทก์โดย ช. และส. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยในสัญญากู้ยืมหรือไม่
การตั้งตัวแทนที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้นใช้แก่กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทนไม่ใช้แก่กรณีเชิดบุคคลเป็นตัวแทน
พยานโจทก์เบิกความว่า การกู้ยืมเงินรายนี้จำเลยให้ดอกเบี้ยร้อยละ2 บาทต่อเดือน ดังนี้ เป็นเพียงเสนอด้วยวาจาเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันแน่นอน ก็คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน จึงไม่ฝ่าฝืนอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121-1122/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ขายฝากและการรับผิดแทนตัวแทน แม้ไม่มีเอกสารมอบอำนาจ
โจทก์ไม่รู้หนังสือ. เชิดบุตรของตนเป็นตัวแทนเพื่อติดต่อทางเอกสารกับจำเลยตลอดมา เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์. โจทก์ให้บุตรทำใบรับเงินให้จำเลย โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยผู้สุจริตเสมือนว่าบุตรนั้นเป็นตัวแทนของตน. โดยจำเลยไม่จำต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมาแสดง.
บทบัญญัติมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่า การนำสืบถึงการใช้หนี้เงินกู้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงนั้น. ไม่นำมาใช้บังคับ.ในกรณีชำระเงินไถ่การขายฝาก.
เอกสารใบรับเงินซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์ในวันออกใบรับเงินนั้น. เมื่อมีการปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้ว. แม้จะมิได้เสียเงินเพิ่มอากร. ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121-1122/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ขายฝากโดยตัวแทนที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ และการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ไม่รู้หนังสือ เชิดบุตรของตนเป็นตัวแทนเพื่อติดต่อทางเอกสารกับจำเลยตลอดมา เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์ โจทก์ให้บุตรทำใบรับเงินให้จำเลย โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยผู้สุจริตเหมือนว่าบุตรนั้นเป็นตัวแทนของตน โดยจำเลยไม่จำต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมาแสดง
บทบัญญัติมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่า การนำสืบถึงการใช้หนี้เงินกู้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงนั้น ไม่นำมาใช้บังคับในกรณีชำระเงินไถ่การขายฝาก
เอกสารใบรับเงินซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์ในวันออกใบรับเงินนั้น เมื่อมีการปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้ว แม้จะมิได้เสียเงินเพิ่มอากร ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121-1122/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ขายฝากและการรับรองการชำระหนี้โดยตัวแทนที่มิได้มีหนังสือมอบอำนาจ
โจทก์ไม่รู้หนังสือ เชิดบุตรของตนเป็นตัวแทนเพื่อติดต่อทางเอกสารกับจำเลยตลอดมา เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์ โจทก์ให้บุตรทำใบรับเงินให้จำเลย โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยผู้สุจริตเสมือนว่าบุตรนั้นเป็นตัวแทนของตน โดยจำเลยไม่จำต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมาแสดง
บทบัญญัติมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่า การนำสืบถึงการใช้หนี้เงินกู้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงนั้น ไม่นำมาใช้บังคับ ในกรณีชำระเงินไถ่การขายฝาก
เอกสารใบรับเงินซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์ในวันออกใบรับเงินนั้น เมื่อมีการปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้ว แม้จะมิได้เสียเงินเพิ่มอากร ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโดยกรรมการผู้จัดการ แม้ไม่มีตราบริษัท ก็มีผลผูกพันหากทำในนามบริษัท และจำเลยไม่โต้แย้งอำนาจกรรมการ
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน แม้มิได้ประทับตราบริษัท ซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วย ก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย บริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทโจทก์ ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการทำสัญญา แม้ไม่มีตราบริษัท ก็ผูกพันบริษัทได้ หากทำในนามบริษัท และจำเลยไม่โต้แย้งอำนาจ
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน แม้มิได้ประทับตราบริษัทซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วยก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย บริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทโจทก์ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัท แม้ไม่มีตราบริษัท ก็มีผลผูกพันได้ หากแสดงเจตนาทำในนามบริษัท
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์. โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน. แม้มิได้ประทับตราบริษัท. ซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วย.ก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย. บริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์. จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทโจทก์. ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้. เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโดยกรรมการผู้จัดการ แม้ไม่มีตราบริษัท ก็มีผลผูกพันหากทำในนามบริษัท และจำเลยไม่โต้แย้งอำนาจกรรมการ
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน แม้มิได้ประทับตราบริษัทซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนนั้นจะต้องประทับตราด้วย ก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยบริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อและบริษัทโจทก์ ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่น หนี้ระงับสิ้น
คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เอามารวมเป็นต้นเงินกู้ในสัญญา ดอกเบี้ยนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งหมด มิใช่เป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เกิน (อ้างฎีกาที่ 478/2488)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน 14,000 บาท จำเลยให้การว่ากู้และรับเงินเพียง 10,000 บาท ส่วนอีก 4,000 บาทเอาดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน จำนวน 8 เดือน มารวมเข้าเป็นเงินต้นด้วย เป็นคำให้การที่ต่อสู้ถึงหนี้ตามสัญญากู้ 4,000 บาท ว่าไม่สมบูรณ์
การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารไม่สมบูรณ์ คู่ความมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างได้
การที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้โดยวิธีที่ลูกหนี้มอบฉันทะให้บุตรของเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้กับบุตรมีสิทธิจะได้รับ แล้วเอามาหักชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ มิใช่เป็นกรณีเจ้าหนี้ตั้งตัวแทนรับชำระหนี้ แต่เป็นการตกลงที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 หนี้นั้นย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้เป็นโมฆะ การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นตามตกลง ทำให้หนี้ระงับสิ้นไป
คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เอามารวมเป็นต้นเงินกู้ในสัญญา ดอกเบี้ยนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งหมด มิใช่เป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เกิน (อ้างฎีกาที่478/2488)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน 14,000 บาท จำเลยให้การว่ากู้และรับเงินเพียง 10,000 บาท ส่วนอีก 4,000 บาทเอาดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน จำนวน 8 เดือน มารวมเข้าเป็นเงินต้นด้วย เป็นคำให้การที่ต่อสู้ถึงหนี้ตามสัญญากู้ 4,000 บาท ว่าไม่สมบูรณ์
การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารไม่สมบูรณ์ คู่ความมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างได้
การที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้โดยวิธีที่ลูกหนี้มอบฉันทะให้บุตรของเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้กับบุตรมีสิทธิจะได้รับ แล้วเอามาหักชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ มิใช่เป็นกรณีเจ้าหนี้ตั้งตัวแทนรับชำระหนี้ แต่เป็นการตกลงที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321หนี้นั้นย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป
of 32