คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 798

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินเพื่อหมุนเวียนค้าขายต่อเนื่อง ไม่ถือเป็นการกู้ยืม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องได้
การรับเงินไปเป็นทุนหมุนเวียนในการซื้อของเพื่อส่งให้ผู้จ่ายเงินนำไปขายแล้วคิดหักบัญชีกัน ตามที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ไม่ถือเป็นการกู้ยืม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้คืนเงินที่รับไปเกินกว่าราคาของที่จัดซื้อส่งให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินเป็นทุนหมุนเวียนซื้อขายต่อเนื่อง ไม่ถือเป็นการกู้ยืม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องเรียกคืนเงินเกินราคาสินค้าได้
การรับเงินไปเป็นทุนหมุนเวียนในการซื้อของเพื่อส่งให้ผู้จ่ายเงินนำไปขายแล้วคิดหักบัญชีกันตามที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ไม่ถือเป็นการกู้ยืม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องให้คืนเงินที่รับไปเกินกว่าราคาของที่จัดซื้อส่งให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: ผู้สั่งจ่ายเช็คมีหน้าที่รับผิดชอบหนี้แม้ธนาคารยังไม่เรียกเก็บ
ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร โดยยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีของตนได้ด้วยนั้น กรณีมิใช่เป็นเรื่องตั้งเป็นตัวแทนไปทำสัญญากู้ และข้อตกลงระหว่างผู้ไปทำสัญญากู้กับผู้ที่ตนยอมให้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีของตนได้ ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ
ออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นตามความตกลงระหว่างกัน ต้องรับผิดใช้เงินคืนให้แก่เจ้าของบัญชี แม้ธนาคารผู้ให้กู้จะยังไม่ได้ทวงถามเจ้าของบัญชีก็ตาม หากผู้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินนั้นถึงแก่ความตายก่อนชดใช้เงิน กองมรดกของผู้นั้นก็ต้องรับผิดต่อเจ้าของบัญชี
ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นว่ากล่าวไว้แล้วในศาลชั้นต้น แต่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการออกเช็คของผู้ที่มิได้เป็นตัวแทน
ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร โดยยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีของตนได้ด้วยนั้น กรณีมิใช่เป็นเรื่องตั้งเป็นตัวแทนไปทำสัญญากู้ และข้อตกลงระหว่างผู้ไปทำสัญญากู้กับผู้ที่ตนยอมให้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีของตนได้ ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ
ออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นตามความตกลงระหว่างกัน ต้องรับผิดใช้เงินคืนให้แก่เจ้าของบัญชี แม้ธนาคารผู้ให้กู้จะยังไม่ได้ทวงถามเจ้าของบัญชีก็ตาม หากผู้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินนั้นถึงแก่ความตายก่อนชดใช้เงิน กองมรดกของผู้นั้นก็ต้องรับผิดต่อเจ้าของบัญชี
ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นว่ากล่าวไว้แล้วในศาลชั้นต้น แต่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อสุกรไม่ใช่การกู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องได้
จำเลยรับเงินไปจากโจทก์โดยจำเลยตกลงจะไปซื้อสุกรมาส่งให้โจทก์ ดังนี้หาใช่จำเลยตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่ จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสุกร: ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยรับเงินไปจากโจทก์โดยจำเลยตกลงจะไปซื้อสุกรมาส่งให้โจทก์ ดังนี้ หาใช่จำเลยตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยนิติบุคคลที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ และผลของการละเมิดกฎหมายที่ดิน
จำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งมาโดยชัดแจ้งว่าที่ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยายบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ว่า ส. และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในการลงชื่อซื้อที่ดินพิพาทนั้น และความจริง ส. และจำเลยที่ 1 มิได้ลงชื่อในโฉนดในฐานะตัวแทนของโจทก์ดังที่ศาลล่างฟังมา ดังนี้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะฟังเป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์นั้น หาได้นำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
ถ้าหากเป็นคดีมีข้อพิพาทในหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี ก็อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ที่จะต้องมีหนังสือตั้งตัวแทน เพราะสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 มิได้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวการตัวแทนพิพาทกันตามสัญญาตัวแทนโดยเฉพาะ เพราะตัวการตัวแทนผูกพันกันตามสัญญาตัวแทนอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้อาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องทำเป็นหนังสือข้อผูกพันอันเป็นมูลฟ้องแต่ประการใดเลย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) กฎหมายใช้คำว่า "กรรมการ" มิได้ใช้คำว่า "คณะกรรมการ" ดังนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีคนต่างด้าวคนหนึ่งเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย จึงย่อมหมายถึงกรรมการคนใดคนหนึ่ง ไม่หมายความว่ากรรมการทุกคนต้องเป็นคนต่างด้าว โจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จะมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าว ตามประมวลกฎหมายทีดิน มาตรา 86
แม้การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 ผลของข้อห้ามนี้มีอย่างไรนั้น ยังมีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 94 ว่า บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาตให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ถือว่าการได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยการซื้อขายนั้น ไม่มีผลใด ๆ เสียเลย แม้คนต่างด้าวจะไม่สามารถถือและใช้สิทธิในที่ดินนั้นได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังบัญญัติให้จำหน่ายที่ดินนั้นเสียตามกำหนดเวลาที่อธิบดีมีคำสั่ง มิฉะนั้นอธิบดีจะจัดการจำหน่ายเองตามวิธีการที่กฎหมายบังคับไว้ (อ้างฎีกาที่ 499/2500) ซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับค่าที่ดินคืนไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 97 (5) ได้ยกเลิกไปแล้ว โดยที่อธิบดีมิได้สั่งให้โจทก์จำหน่ายที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยบริษัทที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ แม้ผิดกฎหมายเดิม แต่เมื่อกฎหมายแก้ไขแล้ว โจทก์มีสิทธิในที่ดินได้
จำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งมาโดยชัดแจ้งว่าที่ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ว่า ส. และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในการลงชื่อซื้อที่ดินพิพาทนั้น และความจริง ส. และจำเลยที่ 1 มิได้ลงชื่อในโฉนดในฐานะตัวแทนของโจทก์ดังที่ศาลล่างฟังมา ดังนี้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะฟังเป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์ นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย ในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
ถ้าหากเป็นคดีมีข้อพิพาทในหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี ก็อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ที่จะต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเพราะสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 มิได้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวการตัวแทนพิพาทกันตามสัญญาตัวแทนโดยเฉพาะเพราะตัวการตัวแทนผูกพันกันตามสัญญาตัวแทนอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้อาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้อง ทำเป็นหนังสือเป็นข้อผูกพันอันเป็นมูลฟ้องแต่ประการใดเลย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) กฎหมายใช้คำว่า 'กรรมการ' มิได้ใช้คำว่า 'คณะกรรมการ' ดังนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีคนต่างด้าวคนหนึ่งเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย จึงย่อมหมายถึงกรรมการคนใดคนหนึ่ง ไม่หมายความว่ากรรมการทุกคนต้องเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จะมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86
แม้การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ผลของข้อห้ามนี้มีอย่างไรนั้น ยังมีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 94 ว่าบรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้เป็นที่เห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ถือว่าการได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยการซื้อขายนั้น ไม่มีผลใด ๆ เสียเลย แม้คนต่างด้าวจะไม่สามารถถือและใช้สิทธิในที่ดินนั้นได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังบัญญัติให้จำหน่ายที่ดินนั้นเสียตามกำหนดเวลาที่อธิบดีมีคำสั่ง มิฉะนั้นอธิบดีจะจัดการจำหน่ายเองตามวิธีการที่กฎหมายบังคับไว้ (อ้างฎีกาที่ 499/2500) ซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับค่าที่ดินคืนไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) ได้ยกเลิกไปแล้วโดยที่อธิบดีก็มิได้สั่งให้โจทก์จำหน่ายที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกประโยชน์จากตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องได้ และการแบ่งแยกที่ดินต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาประโยชน์ที่อ้างว่าตัวแทนได้รับไว้จากการที่โจทก์มอบหมายให้ไปทำการแทน ดังนั้น ถึงการตั้งตัวแทนนั้นจะไม่ได้ทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือ โจทก์ก็ย่อมฟ้องได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 640/2489 และ 418/2501)
เอกสารมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ โจทก์ก็นำสืบได้ว่าที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของที่พิพาทนั้นได้กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ หาใช่นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่
(อ้างฎีกาที่ 640/2489 และ 1290/2501)
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 79 บัญญัติว่า เมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินแล้ว ประสงค์จะแบ่งแยกที่ดินเป็นบางส่วน ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนั้น และพนักงานอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนั้นไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน เมื่อได้รังวัดแบ่งแยกเสร็จแล้ว ถ้าจะต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสียก่อน แล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่ให้ ดังนั้น การที่คู่ความชี้เขตให้พนักงานศาลทำแผนที่แบ่งเขตที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ และศาลพิพากษาให้เป็นไปตามนั้น จึงไม่ชอบ ชอบที่จะให้ถอนชื่อจำเลยออกและใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้มีชื่อในโฉนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกประโยชน์จากตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องได้ และการแบ่งแยกที่ดินต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาประโยชน์ที่อ้างว่าตัวแทนได้รับไว้จากการที่โจทก์มอบหมายให้ไปทำการแทนดังนั้น ถึงการตั้งตัวแทนนั้นจะไม่ได้ทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือ โจทก์ก็ย่อมฟ้องได้ไม่ตกเป็นโมฆะ
(อ้างฎีกาที่ 640/2489 และ 418/2501)
เอกสารมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ. โจทก์ก็นำสืบได้ว่าที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของที่พิพาทนั้นได้กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์หาใช่นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่
(อ้างฎีกาที่ 640/2489 และ 1290/2501)
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 79 บัญญัติว่าเมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินแล้วประสงค์จะแบ่งแยกที่ดินเป็นบางส่วน ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนั้นและพนักงานอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนั้นไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินเมื่อได้รังวัดแบ่งแยกเสร็จแล้ว ถ้าจะต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสียก่อน แล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่ให้ดังนั้นการที่คู่ความชี้เขตให้พนักงานศาลทำแผนที่แบ่งเขตที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ และศาลพิพากษาให้เป็นไปตามนั้น จึงไม่ชอบ ชอบที่จะให้ถอนชื่อจำเลยออกและใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้มีชื่อในโฉนด
of 32