คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 798

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้เอง สัญญาที่ตัวแทนไม่มีอำนาจทำแทน ไม่มีผลผูกพัน
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้นแต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ.ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้น แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น.คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจแม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาทางตัวแทน: การยอมให้คู่สมรสทำหน้าที่แทนในการจัดการที่ดินและผลผูกพันที่เกิดขึ้น
ทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของทางพิพาทออกเป็น 10 แปลง เนื้อที่แปลงละ 50 ตารางวา โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 1 แปลง และผ่อนชำระเงินจนครบถ้วนแล้ว โจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะ การที่ต่อมาจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นเป็นเงินรายละ 20,000 บาท โดยบางครั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับชำระค่าที่ดินนั้นการที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เก็บเงินค่าผ่อนชำระราคาที่ดินจากผู้ซื้อและรับชำระเงินค่าผ่อนที่ดินแทน และฝ่ายจำเลยที่ 1 เพิ่งจะไม่ยอมตกลงยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะหลังจากจำเลยที่ 2 ตกลงทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วถึง 20 กว่าวัน เป็นการแสดงออกของจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2ออกเป็นตัวแทน หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ตลอดมาได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ.มาตรา798 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาทางนิติกรรมโดยปริยาย (การเชิดตัวแทน) และผลผูกพันตามกฎหมาย
ทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยที่ 1แบ่งแยกที่ดินส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของทางพิพาทออกเป็น10 แปลง เนื้อที่แปลงละ 50 ตารางวา โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 1 แปลง และผ่อนชำระเงินจนครบถ้วนแล้วโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะการที่ต่อมาจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นเป็นเงินรายละ 20,000 บาท โดยบางครั้งจำเลยที่ 2เป็นผู้รับชำระค่าที่ดินนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เก็บเงินค่าผ่อนชำระราคาที่ดินจากผู้ซื้อและรับชำระเงินค่าผ่อนที่ดินแทน และฝ่ายจำเลยที่ 1 เพิ่งจะไม่ยอมตกลงยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะหลังจากจำเลยที่ 2ตกลงทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วถึง20 กว่าวัน เป็นการแสดงออกของจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2ออกเป็นตัวแทน หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินของจำเลยที่ 1ตลอดมาได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์พิพาท สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการฟ้องแย้งเรียกคืนทรัพย์
การซื้อขายรถยนต์พิพาทเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456วรรคท้าย การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการดังกล่าว หากไม่มีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ผ่านตัวแทนเชิด การพิสูจน์ความเป็นตัวแทน และผลกระทบต่อการระงับหนี้
การเป็นตัวแทนเชิดหาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการเป็นตัวแทนไม่แม้ส. ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่าส. เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยก็อาจอ้างได้ว่าส.เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยวินิจฉัยว่าส. ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่าส. เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าส. เป็นตัวแทนรับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้ออื่นอีกจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาและต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงแต่เมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานกันมาแล้วศาลฎีกาจึงชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นตัวแทนเชิดต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยไม่อาจอ้างการชำระหนี้แทนได้
การเป็นตัวแทนเชิดหาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการเป็นตัวแทนไม่ แม้ ส.ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่า ส.เป็นตัวแทนของโจทก์ จำเลยก็อาจอ้างได้ว่า ส.เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยวินิจฉัยว่า ส.ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่า ส.เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่า ส.เป็นตัวแทนรับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้ออื่นอีก จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกา และต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานกันมาแล้ว ศาลฎีกาจึงชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8191/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการเมื่อตัวแทนทำสัญญาเช่าพื้นที่แสดงสินค้า โดยมีการเชิดให้เป็นตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2534จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการในฐานะส่วนตัวได้ทำหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ โดยแจ้งความประสงค์ว่าต้องการใช้พื้นที่ในการจัดแสดงสินค้าเกี่ยวกับเครื่องสัญญาณป้องกันขโมยประมาณ 9 ตารางเมตรตกลงราคาค่าเข้าร่วมแสดง 26,000 บาท กำหนดชำระเงินภายในวันที่ 12 เมษายน 2535 โจทก์ได้ดำเนินการตกแต่งอาคารแสดงสินค้าติดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และป้ายชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินค่าเข้าร่วมแสดงสินค้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองเพิกเฉยขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 34,665บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงิน26,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์นั้นก็ไม่ขัดกันแต่อย่างใดเป็นการบรรยายตามข้อเท็จจริงซึ่งปรากฎตามหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้าตามที่โจทก์ได้แนบมาท้ายคำฟ้องแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีว่า ไม่เคยทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 2 เอง ขอให้ยกฟ้อง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้หลงข้อต่อสู้ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง การตั้งตัวแทนต้องทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้นหาได้หมายความรวมถึงการเป็นตัวแทนโดยการเชิดบุคคลใดว่าเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลใดแสดงตนเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8191/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโดยการเชิดและการรับผิดในหนี้สัญญา: ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้แม้ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2534 จำเลยที่ 2ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการในฐานะส่วนตัวได้ทำหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ โดยแจ้งความประสงค์ว่าต้องการใช้พื้นที่ในการจัดแสดงสินค้าเกี่ยวกับเครื่องสัญญาณป้องกันขโมยประมาณ 9 ตารางเมตร ตกลงราคาค่าเข้าร่วมแสดง 26,000 บาท กำหนดชำระเงินภายในวันที่ 12 เมษายน 2535โจทก์ได้ดำเนินการตกแต่งอาคารแสดงสินค้าติดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และป้ายชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินค่าเข้าร่วมแสดงสินค้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 34,665 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี ในต้นเงิน 26,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1หรือในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์นั้นก็ไม่ขัดกันแต่อย่างใดเป็นการบรรยายตามข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏตามหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้าตามที่โจทก์ได้แนบมาท้ายคำฟ้องแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีว่า ไม่เคยทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 2 เอง ขอให้ยกฟ้อง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้หลงข้อต่อสู้ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การตั้งตัวแทนต้องทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น หาได้หมายความรวมถึงการเป็นตัวแทนโดยการเชิดบุคคลใดว่าเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลใดแสดงตนเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายให้ผู้อื่นทำข้อตกลง ทางภารจำยอม ตัวแทนเชิด และผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยมอบหมายให้สามีจำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์เกี่ยวกับทางพิพาทการที่จำเลยยอมให้สามีจำเลยแสดงออกว่าเป็นตัวแทนของจำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์เป็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821ไม่อยู่ในบังคับมาตรา798ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือฉะนั้นแม้จำเลยจะมิได้มีหนังสือตั้งให้สามีจำเลยไปทำข้อตกลงกับโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวการก็ต้องผูกพันตามบันทึกข้อตกลงที่สามีจำเลยทำกับโจทก์ให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินได้
of 32