พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนซื้อที่ดิน: สิทธิในการขอคืนกรรมสิทธิ์เมื่อตัวการต้องการเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วให้จำเลยลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแทนต่อมาโจทก์ตกลงขายที่ดินพิพาทให้ผู้มีชื่อและได้แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนให้ผู้มีชื่อแต่จำเลยเพิกเฉยและอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโจทก์จึงไม่ประสงค์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไปขอบังคับให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกและใส่ชื่อโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม แม้คดีนี้กับคดีก่อนคู่ความจะเป็นคู่ความเดียวกันแต่คดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีว่าจำเลยเป็นตัวแทนโจทก์หรือไม่ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สามีโจทก์เป็นคนต่างด้าวขณะซื้อที่ดินพิพาทแม้จะหย่ากับสามีแล้วยังอยู่ด้วยกันแต่โจทก์เป็นคนไทยจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา86แห่งประมวลกฎหมายที่ดินสัญญาซื้อขายที่ดินไม่เป็นโมฆะ กิจการใดที่ตัวแทนจะไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการตั้งตัวแทนไปทำกิจการนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยมิฉะนั้นกิจการที่ตัวแทนกระทำไปกับบุคคลภายนอกจะไม่สมบูรณ์แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกันตัวแทนจะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา798มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะตัวแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการเรียกร้องเอาคืนจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาตัวแทน: ทุนทรัพย์, ข้อเท็จจริง, และขอบเขตบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 798
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง200,000 บาท หาใช่จำนวน 238,568.49 บาท ดังที่จำเลยระบุจำนวนทุนทรัพย์มาหน้าคำฟ้องฎีกาจำเลยไม่ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (อ้างฎีกาที่ 1926/2537 ประชุมใหญ่)
จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพิพาทเพื่อตนเองไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยได้กระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ ฎีกาจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนกระทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนด้วยกัน เมื่อมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ระหว่างโจทก์จำเลยไม่จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพิพาทเพื่อตนเองไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยได้กระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ ฎีกาจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนกระทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนด้วยกัน เมื่อมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ระหว่างโจทก์จำเลยไม่จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพัน และจำกัดสิทธิในการฎีกาเรื่องข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดขอให้ยกฟ้อง ทุกทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง200,000 บาท หาใช่จำนวน 238,568.49 บาท ดังที่จำเลยระบุจำนวนทุนทรัพย์มาหน้าคำฟ้องฎีกาจำเลยไม่ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง (อ้างฎีกาที่ 1926/2527 ประชุมใหญ่) จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพิพาทเพื่อตนเองไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยได้กระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ ฎีกาจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนกระทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนด้วยกัน เมื่อมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ระหว่างโจทก์จำเลยไม่จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมขายที่ดินไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ กรณีสัญญาจะซื้อจะขายมีเงินมัดจำ
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3และที่ 4 คนละ 187,500 บาท จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3 และที่ 4หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่เช่นกัน กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการยินยอมในสัญญาซื้อขาย
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 187,500 บาทจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยายในสัญญาประกันภัยต่อ ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการต่างประเทศ
ถึงจำเลยจะเป็นเพียงบริษัทนายหน้าในการประกันภัย และที่ปรึกษาประกันภัย แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยแสดงออกในการติดต่อให้โจทก์นำเอาความเสี่ยงภัยที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปประกันภัยต่อแก่ผู้รับประกันภัยซึ่งอยู่ต่างประเทศนั้นเกินเลยกว่าการเป็นนายหน้า แม้ผู้รับประกันภัยต่อมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนให้กระทำในกิจการดังกล่าว แต่การปฏิบัติของผู้รับประกันภัยต่อได้ยินยอมให้จำเลยปฏิบัติงานแทนตนตลอดมา จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ตัวการไม่จำต้องแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 798 เมื่อตัวการซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต่ออยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยต่อแทนตัวการ จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อตามลำพังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 จำเลยฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกตามความหมายในหมวดที่ว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก จำเลยไม่มีสิทธิรับประกันภัยตามกฎหมายเพราะไม่มีใบอนุญาตและไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยายในสัญญาประกันภัยต่อ: ความรับผิดของตัวแทนเมื่อตัวการต่างประเทศ
ถึงจำเลยจะเป็นเพียงบริษัทนายหน้าในการประกันภัย และที่ปรึกษาประกันภัย แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยแสดงออกในการติดต่อให้โจทก์นำเอาความเสี่ยงภัยที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปประกันภัยต่อแก่ผู้รับประกันภัยซึ่งอยู่ต่าง-ประเทศนั้นเกินเลยกว่าการเป็นนายหน้า แม้ผู้รับประกันภัยต่อมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนให้กระทำในกิจการดังกล่าว แต่การปฏิบัติของผู้รับประกันภัยต่อได้ยินยอมให้จำเลยปฏิบัติงานแทนตนตลอดมา จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสองในกรณีเช่นนี้ตัวการไม่จำต้องแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา798 เมื่อตัวการซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต่ออยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่าง-ประเทศ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยต่อแทนตัวการ จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อตามลำพังตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกตามความหมายในหมวดที่ว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกจำเลยไม่มีสิทธิรับประกันภัยตามกฎหมายเพราะไม่มีใบอนุญาตและไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกตามความหมายในหมวดที่ว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกจำเลยไม่มีสิทธิรับประกันภัยตามกฎหมายเพราะไม่มีใบอนุญาตและไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิจำนองและการบังคับคดี: สิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับโอน vs เจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส. ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส. ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่า ส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว ส. เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ เมื่อ ส. กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส. มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1 ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์ แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส. ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 305สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ และผลของการโอนสิทธิไปยังผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส.ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส.ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่าส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว
ส.เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเมื่อ ส.กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส.มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์
แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส.ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 305 สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหา-ริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย
ส.เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเมื่อ ส.กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส.มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์
แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส.ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 305 สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหา-ริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาเช่าซื้อ, การเลิกสัญญา, ค่าเสียหายจากรถยนต์ชำรุด, สิทธิฟ้อง
บริษัทโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ จ. และอ.ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้ให้เช่าซื้อแทนโจทก์จ. และ อ.กระทำการแทนโจทก์ได้โดยไม่ต้องระบุในสัญญาเช่าซื้ออีกว่าโจทก์มอบอำนาจให้ จ. และ อ. กระทำการแทน เมื่อรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อม มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าซ่อมรถยนต์จากจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีการซ่อมรถยนต์ดังกล่าวเสียก่อน