คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 653

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,099 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดทรัพย์สินชำระหนี้จากการจำนองเรือ แม้ขายทอดตลาดแล้วยังขาด หนี้เป็นหนี้สามัญผู้จำนองต้องรับผิด
เมื่อนำข้อตกลงในสัญญากู้ยืมที่ระบุว่า "ถ้าข้าพเจ้าล้มตายหรือหลบหายไปเสียข้าพเจ้ายอมให้เอาทรัพย์สมบัติของข้าพเจ้าขายทอดตลาดเงินต้นและดอกเบี้ยให้ท่านจนครบ" มาพิจารณาประกอบพระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเลฯที่กำหนดว่า "ถ้าเอาเรือที่จำนองออกขายหรือขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าเงินที่ค้างชำระแก่ผู้รับจำนอง... เงินยังขาดอยู่เท่าใดให้ถือว่าเป็นหนี้สามัญซึ่งผู้รับจำนองอาจเรียกร้องจากลูกหนี้ได้ แต่ถ้าผู้จำนองไม่ได้เป็นลูกหนี้จะเรียกร้องจากผู้จำนองไม่ได้" แล้ว เห็นชัดเจนได้ว่า เมื่อโจทก์ผู้รับจำนองนำเรือที่จำนองออกขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้ ส่วนที่ขาดอยู่จำเลยผู้จำนองยังคงต้องรับผิดเพียงแต่กฎหมายกำหนดให้เป็นหนี้สามัญไม่ใช่หนี้บุริมสิทธิ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้ผู้แพ้หรือผู้ชนะเป็นฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมหรือให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับก็ได้การที่โจทก์และจำเลยต่างอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็มิได้หมายความว่าจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดส่วนตัวของกรรมการกองทุนสวัสดิการที่ลงนามกู้เงิน แม้กองทุนไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล
แม้จำเลยทั้งสามจะเป็นคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการให้ส่วนราชการ และระเบียบการจัดสวัสดิการในส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และจำเลยทั้งสามกู้ยืมเงินในฐานะคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดังกล่าวมีสภาพเป็น นิติบุคคล หน่วยงานที่จำเลยอ้างว่าทำแทนไม่มีตัวตนอยู่ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมและได้รับเงินกู้ไปจากผู้ให้กู้ จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้ยืมปลอม การกรอกข้อมูลเกินจริง ทำให้สัญญากู้ยืมและค้ำประกันเป็นโมฆะ
การที่โจทก์กรอกข้อความลงในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยลงลายมือชื่อ แต่ยังไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดว่าได้มีการกู้ยืมเงินและค้ำประกันในจำนวนเงินถึง 100,000 บาท เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันจึงไม่สมบูรณ์ ทำให้เอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงอ้างเอกสารนั้นมาเป็นพยานหลักฐานในคดีอย่างใดไม่ได้ ฉะนั้น การกู้เงินและการค้ำประกันที่ฟ้องจึงถือว่าไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 และมาตรา 680

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แปลงหนี้จากค่าแชร์เป็นกู้ยืม การหักกลบลบหนี้ และการนำสืบการชำระหนี้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เล่นแชร์กันโดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ เมื่อจำเลยที่ 1ประมูลแชร์ได้รับเงินไปแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ส่งค่าแชร์และดอกเบี้ยแก่โจทก์โจทก์ต้องชำระค่าแชร์ให้ผู้ประมูลได้แทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 128,500 บาทโจทก์จึงระบุยอดเงินจำนวนดังกล่าวในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อค้ำประกันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จากหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ หนี้ค่าแชร์ระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับโดยสมบูรณ์
ส่วนที่จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าโจทก์หักเงินค่าแชร์ของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการหักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการนำสืบการใช้เงินของจำเลยทั้งสองโดยเห็นว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แปลงหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ การชำระหนี้โดยหักกลบ และการนำสืบการชำระหนี้
เมื่อจำเลยมีมูลหนี้ที่จะต้องชำระค่าแชร์แก่โจทก์ และโจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนจากมูลหนี้ค่าแชร์มาเป็นหนี้เงินกู้ จึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้ค่าแชร์จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้แล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมาย มีผลบังคับโดยสมบูรณ์ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในลักษณะหนี้กู้ยืม การที่จำเลยให้การและนำสืบว่าโจทก์ ได้หักเงินค่าแชร์ของจำเลยชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยแล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการ หักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในคดีได้ แม้จำเลยขาดนัด
ในคดีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งขาดนัดนั้น คู่ความฝ่ายที่ไม่ขาดนัดจะชนะคดีได้ต่อเมื่อได้นำสืบพยานหลักฐานต่อศาลจนเป็นที่พอใจว่าข้ออ้างของตนมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันโดยอ้างเอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานเอกสารสนับสนุนข้ออ้าง การจะรับฟังพยานเอกสารทั้งสองฉบับได้ โจทก์ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 คือต้องปิดแสตมป์บนเอกสารให้บริบูรณ์เสียก่อน มิเช่นนั้นจะใช้เอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ เมื่อสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ (ปิดแสตมป์ไม่ถูกต้อง) ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้
การที่โจทก์ปิดแสตมป์บนสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไม่บริบูรณ์ จะใช้เอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และมาตรา 680 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ แม้ข้อความจะถูกกรอกภายหลัง ก็ยังเป็นหลักฐานการกู้ยืมที่ผูกพันได้
จำเลยให้การรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้องโดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริงอัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องการกรอกข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยืมยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาท ไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลยจำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการแก้ไขข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาทไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยจึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
of 110