คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 653

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,099 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญากู้และค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นเอกสารปลอม สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้และหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ไว้ การที่ต่อมาโจทก์มากรอกข้อความลงในหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันให้เกินกว่าความเป็นจริงว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป300,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสองสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันรายนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาทโดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญากู้เงินและค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปจากความเป็นจริงตามที่ตกลงทำสัญญากันไว้ในภายหลัง เกินกว่าความเป็นจริง โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาท และได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้เงินและค้ำประกันปลอม การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และสิทธิในการนำสืบพยานบุคคล
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 30,000 บาท มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อใน หนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปเกินกว่าความเป็นจริงว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไป 300,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาทและสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วนหรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ความไม่สมบูรณ์ของสัญญากู้เงิน ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
สัญญากู้มีข้อความชัดเจนว่า จำเลยทั้งสามกู้เงินไปจาก โจทก์รวม 100,000 บาท และรับเงินไปครบถ้วนแล้วในวันที่ 7 พฤษภาคม 2536 จำเลยทั้งสามนำพยานบุคคลเข้าสืบว่าความจริงทำสัญญากู้กันวันที่ 8 พฤษภาคม 2536 โดยจำเลยที่ 1เป็นคนกู้เงินโจทก์คนเดียวจำนวน 40,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นเพียงผู้ค้ำประกันมิใช่ผู้กู้เป็นการนำสืบถึงความ ไม่บริบูรณ์ของสัญญากู้ว่าจำเลยไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน ตามที่ระบุในสัญญากู้ เพราะสัญญากู้เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง จะบริบูรณ์ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสองจึงหาใช่การนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้เงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ไม่ แต่เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์ แห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน ไม่กระทบผลผูกพันเดิมของการกู้ยืม
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์ 30,000 บาทต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น 60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริงแล้วโจทก์นำสัญญานั้นมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไป ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้สัญญาถูกแก้ไขเป็นเท็จ หลักฐานการกู้ยืมเดิมยังใช้ได้ ผู้กู้ต้องรับผิดตามจำนวนที่กู้จริง
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์30,000 บาท ต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริง จึงเป็นเอกสารปลอมสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิดให้โจทก์ไว้ แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไป จึงชอบที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ปลอมไม่กระทบสิทธิการเรียกร้องตามจำนวนเงินที่กู้จริง
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์30,000 บาท ต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริงแล้วโจทก์นำสัญญานั้นมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไป ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7156/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินที่เป็นโมฆะเนื่องจากขาดพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดว่า พยานที่จะรับรองลายพิมพ์นิ้วมือต้องมี 2 คน ปรากฏว่าตามสัญญากู้ยืมเงินมี ผ. เป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยเพียงคนเดียว ส่วนโจทก์ลงลายมือชื่อแต่ในช่องผู้ให้กู้เท่านั้น ไม่ได้ลงลายมือชื่อในช่องพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือแม้โจทก์จะเป็นผู้เขียนข้อความตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยเฉพาะจะได้เขียนข้อความว่า"รอยพิมพ์นิ้วมือ ง." ไว้ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยด้วย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยจึงมีไม่ถึง 2 คน สัญญากู้ยืมเงินย่อมจะถือเสมอกับจำเลยลงลายมือชื่อยังไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบการชำระหนี้เงินกู้และการคืนหลักประกัน แม้หลักฐานสูญหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ แม้จำเลยให้การรับว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องไป 3 ครั้ง แต่จำเลยก็ให้การว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วและโจทก์ได้คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ของจำเลยที่มอบให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้แก่จำเลย ดังนี้จำเลยย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ และโจทก์ได้คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่โจทก์ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ให้จำเลยกับโจทก์ได้ทำหลักฐานการรับชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้จำเลยไว้ แต่หลักฐานดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาของหลักฐานการชำระหนี้เป็นอย่างไร และเมื่อหลักฐานการชำระหนี้ดังกล่าวสูญหายจำเลยย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้และการนำสืบหลักฐานการชำระหนี้ที่สูญหาย ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ แม้จำเลยให้การรับว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องไป 3 ครั้งแต่จำเลยก็ให้การว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วและโจทก์ได้คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของจำเลยที่มอบให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกัน เงินกู้แก่จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ และโจทก์ ได้คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่โจทก์ยึด ไว้เป็นประกันเงินกู้ให้จำเลยกับโจทก์ได้ทำหลักฐาน การรับชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้จำเลยไว้ แต่หลักฐานดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งเป็นการนำสืบถึงรายละเอียด เกี่ยวกับที่มาของหลักฐานการชำระหนี้เป็นอย่างไร และเมื่อหลักฐานการชำระหนี้ดังกล่าวสูญหายจำเลยย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
of 110