คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 653

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,099 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) และแนวทางการพิจารณาของศาล
ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงระเบียบบริหารงานของโจทก์ที่ประกาศให้ลูกค้าทราบเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและเป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคารเท่านั้น จึงไม่มีผลบังคับเหมือนเช่นธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด โดยต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าและจะเรียกเกินกว่าประกาศนั้นไม่ได้ ทั้งจะนำประกาศของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 และมีประกาศกระทรวงการคลังกำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังเช่นธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการเรียกดอกเบี้ยตามคุณภาพลูกค้าแต่ละรายของโจทก์ โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยรวม 14 ครั้ง แม้การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวในบางครั้งจะไม่ตรงตามประกาศของโจทก์ก็เป็นดุลพินิจในการพิจารณากับลูกค้าแต่ละรายโดยเฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยไม่เป็นไปตามประกาศของโจทก์ได้ แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่ามีหนี้สินเกิดขึ้น การอ้างหลักฐานที่ไม่นำสืบในชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ แต่เอกสารที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจะต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืมเงินได้ เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า "ได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)" ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารหมาย จ.1 จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
สำเนาสมุดบันทึกของโจทก์ซึ่งเขียนชื่อและนามสกุลจำเลยพร้อมเงินจำนวน 300,000 บาท ที่จำเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2532 นั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารการกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่ามีหนี้สินเกิดขึ้น จึงใช้ฟ้องร้องได้
แม้เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ แต่เอกสารที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจะต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืมเงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า "ได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)" ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653: หลักฐานการกู้ยืมและข้อจำกัดการนำสืบการใช้เงิน
หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้สมบูรณ์ย่อมระงับหนี้ แม้ไม่มีการแทงเพิกถอนเอกสาร
การชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมีผลทำให้หนี้เป็นอันระงับ ส่วนการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นเรื่องของการนำสืบการใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง เป็นคนละกรณีกัน การไม่มีการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินไม่อาจถือได้ว่ายังไม่มีการชำระหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำฟ้องต้องดูเนื้อหาทั้งหมด ไม่ใช่แค่บางส่วน แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ ยังต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืม
การพิจารณาถึงคำฟ้องของโจทก์ว่าประสงค์จะให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้อะไรจะต้องพิจารณาถึงเนื้อหาของคำฟ้องทั้งหมดประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องเป็นสำคัญ มิใช่พิจารณาแต่ถ้อยคำหรือข้อความเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของคำฟ้องซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและตามตั๋วสัญญาใช้เงินในเวลาเดียวกัน เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับมูลหนี้การกู้ยืมเงิน ดังนั้น แม้จะรับฟังได้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองว่าสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ จำเลยทั้งสองก็ยังคงต้องรับผิดตามมูลหนี้กู้ยืมเงินต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5275/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การปฏิเสธหนี้โดยอ้างเอกสารปลอม ต้องระบุรายละเอียดการปลอมชัดเจน หากไม่ชัดเจนถือเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ
แม้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจะอ้างเรื่องเอกสารปลอมขึ้นเป็นเหตุแห่งการปฏิเสธ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าเป็นการปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือในส่วนหนึ่งส่วนใด หรือเป็นการปลอมโดยการกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษซึ่งมีลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยทั้งสอง นอกจากนี้จำเลยทั้งสองอ้างว่าเอกสารเกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของโจทก์กับพวก โดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมให้กระทำได้ นิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ ก็เป็นการให้การทำนองยอมรับว่าจำเลยทั้งสองเข้าทำนิติกรรมกับโจทก์จริง แต่ทำไปเพราะถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉลซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกล่าวอ้างว่าเอกสารเป็นเอกสารปลอม คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง และไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และมาตรา 172 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองจะนำพยานเข้าสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางการกู้ยืม: สัญญาขายฝากที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ และมีลักษณะของการกู้ยืมเงิน
ค. กับจำเลยทั้งสามขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท มีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน โดยจำเลยทั้งสามยินยอมทำเป็นสัญญาขายฝากตามความประสงค์ของโจทก์มีการทำรายการคิดการชำระเงินกัน กำหนดค่าไถ่ถอน 3,500,000 บาท และมีการคิดดอกเบี้ยกับหักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าจำนวน 300,000 บาท ด้วย เมื่อตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมขายฝากมีการเรียกดอกเบี้ยกันได้ ประกอบกับโจทก์เองเบิกความรับว่า ค. ติดต่อเพื่อขอกู้ยืมเงินโจทก์ จึงฟังได้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จึงต้องนำกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมกู้ยืมมาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 เป็นผลให้ที่ดินและบ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน ต้องมีลายมือชื่อผู้กู้ แม้ไม่มีรายละเอียดอื่น ก็ฟ้องร้องได้
ป.พ.พ. มาตา 653 วรรคหนึ่ง บังคับให้ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ยืมจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่จำเป็นว่าหลักฐานเป็นหนังสือนั้นต้องระบุวันเดือนปีที่ทำสัญญา วันเดือนปีที่ครบกำหนดชำระและอัตราดอกเบี้ยไว้
ในวันทำสัญญากู้เงิน ย. ผู้เขียนสัญญาได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ตรงตามจำนวนที่โจทก์จำเลยตกลงกัน และจำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ โจทก์จึงนำสัญญากู้เงินมาฟ้องร้องบังคับคดีได้ ส่วนการกรอกข้อความอื่นๆ แม้จะกระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยหรือจะไม่ระบุไว้เลย ก็ไม่มีผลทำให้หลักฐานการฟ้องร้องที่สมบูรณ์อยู่แล้วและบังคับคับแก่จำเลยได้นั้นเสียไป สัญญากู้เงินจึงไม่ใช่เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน หนังสือรับสภาพหนี้มีผลสมบูรณ์แม้ลงชื่อผู้เดียว
แม้ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ร่วมกัน แต่ก็มิได้หมายความว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 ผู้จัดการมรดกจะต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน การที่โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ในฐานะเจ้าหนี้และผู้จัดการมรดกเพียงผู้เดียวโดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งรู้เห็นยินยอมก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว ประกอบกับการทำหนังสือรับสภาพหนี้ก็มิใช่การทำสัญญาหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง ส่วนเจ้าหนี้หาจำต้องเป็นคู่สัญญาด้วยไม่ เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้กู้ยืมเงิน ส. เจ้ามรดก แม้โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จะมิได้ลงชื่อด้วยหรือลงชื่อแต่เพียงผู้เดียว หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้ยอมรับสภาพหนี้ได้
of 110