คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 653

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,099 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเบิกถอนเงินเกินวงเงิน สัญญาเลิกแล้ว ถือเป็นการทำงานต่าง ๆ
โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เกินกว่าเงินฝากในบัญชีโดยอาศัยข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 และไม่ปรากฏว่าในเดือนถัดไปโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีเพียงรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่มีการคำนวณดอกเบี้ยของรอบเดือนดังกล่าว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความเดิม ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 23 มิถุนายน 2548 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้ยืมที่ไม่ติดอากรแสตมป์รับฟังได้เป็นพยานหลักฐาน แต่ยังต้องวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงอื่นอีก
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาพอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
ใบตอบรับการสมัครสินเชื่อเงินสดควิกแคชพร้อมสัญญาให้สินเชื่อเงินสดระบุข้อความว่า จำเลยขอรับบริการสินเชื่อเงินสดควิกแคชในวงเงิน 500,000 บาท ในอัตราค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ 1.15 ต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนเฉพาะเดือนแรกเท่านั้น ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ร้อยละ 0.5 ของยอดเงินกู้และจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ โดยไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน แม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่าเป็นสัญญาให้สินเชื่อเงินสดระหว่างโจทก์กับจำเลย เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 ดังนั้น เอกสารดังกล่าวที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้
ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดตามเอกสารดังกล่าวต่อโจทก์หรือไม่ และเป็นปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมายที่ขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จึงจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6096/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินและการเรียกร้องค่าเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารของผู้ให้กู้ เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่องการกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) ฯ ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใด ส่วนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งมีข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่เรียกจากลูกค้า และอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและจะเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศไม่ได้นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ ฯ เท่านั้น ไม่รวมถึงโจทก์ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฯ ประกาศเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จึงเป็นเพียงระเบียบบริหารงานของโจทก์ที่ประกาศให้ลูกค้าทราบเพื่อประโยชน์ในการติดต่อกับธนาคารเท่านั้น ไม่มีผลบังคับเหมือนเช่นกรณีธนาคารพาณิชย์ที่เมื่อประกาศแล้วมีผลเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายและตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยจะปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในระยะเริ่มแรกเพียงอัตราร้อยละ 14 ต่อปี และปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งโดยคิดอัตราต่ำกว่าที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงินก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา และเมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ได้กลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป การที่โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงิน โดยมิได้ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยนี้ก่อน จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้
สัญญากู้เงินกำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดการเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองโดยผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ และในกรณีที่ผู้กู้มิได้จัดทำประกันภัย แต่ผู้ให้กู้เป็นผู้จัดทำประกันภัยแทนผู้กู้ ผู้กู้ยินยอมชำระเงินค่าธรรมเนียมและเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนการชำระหนี้ตามสัญญากู้นั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่หนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้องนั้นเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคตและจะถือว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ของตนยังไม่ได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระชากสร้อยคอเพื่อชดใช้หนี้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มีเจตนาทุจริตฐานวิ่งราวทรัพย์
จำเลยไปหาผู้เสียหายโดยมีเจตนาเพื่อทวงหนี้ที่ผู้เสียหายค้างชำระ โดยก่อนเกิดเหตุจำเลยพยายามยกถังแก๊สที่ผู้เสียหายใช้หุงต้มในการขายก๋วยเตี๋ยวไปเพื่อการชำระหนี้ แต่จำเลยเอาไปไม่ได้เพราะสามีผู้เสียหายไม่ยอมให้เอาไป ต่อมาจำเลยกับผู้เสียหายก็โต้เถียงกันอีกเรื่องที่ผู้เสียหายไม่ชำระหนี้ให้จำเลย ทำให้จำเลยโกรธแค้นจึงเข้ากระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายและเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปครึ่งเส้น แม้เพื่อชดเชยที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ แต่การบังคับชำระหนี้ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มิใช่กระชากสร้อยคอทองคำครึ่งเส้นของผู้เสียหายไปโดยพลการ ทั้งมูลหนี้ที่จำเลยมาทวงผู้เสียหายนั้น ผู้เสียหายเบิกความว่าเกิดจากหนี้การพนันหวยใต้ดิน ซึ่งจำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงเป็นมูลหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่ผู้เสียหายพึงชำระและแม้จำเลยเบิกความว่าเป็นหนี้เงินยืม จำเลยก็รับว่าที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ก็เพราะไม่มีลายมือชื่อของผู้เสียหาย หนี้กู้ยืมเงิน 2,000 บาท ของผู้เสียหายจึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ยืม จำเลยย่อมฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ กรณีจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะฟ้องร้องบังคับคดีต่อผู้เสียหายได้ด้วย ดังนั้น การกระชากสร้อยคอครึ่งเส้นของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการเอาไปโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 336
ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยขับรถยนต์ไปพบผู้เสียหายเพื่อทวงหนี้ แต่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ได้เกิดโต้เถียงกัน จำเลยจึงกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายไปได้ครึ่งเส้น เพื่อบังคับชำระหนี้แล้วขับรถยนต์ออกไปจากบริเวณที่เกิดเหตุนั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ทวิ
การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจไม่เคารพต่อกฎหมายของบ้านเมืองส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลซึ่งอยู่ร่วมกันในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง กรณีจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจากการใช้เงิน และการรับฟังพยานบุคคลในการพิสูจน์การชำระหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ใช้บังคับกับกรณีชำระหนี้ด้วยการใช้เงินเท่านั้น การนำสืบว่ามีการชำระเงินโดยยอมให้โจทก์ตักหน้าดินไปขายและนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นตาม ป.พ.พ. 321 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าว และการนำสืบพยานบุคคลในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำเลยจึงนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญากู้ยืม และความผูกพันตามสัญญา
ป. กับโจทก์เป็นหุ้นส่วนในการขายที่ดินให้แก่จำเลย จำเลยไม่มีเงินชำระค่าที่ดินในส่วนของที่ดินที่เพิ่มขึ้น แต่จำเลยตกลงรับโอนกรรมสิทธิ์โดยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินให้ผู้จะขายไว้ โดยระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เท่ากับเป็นการกู้เงินจากผู้จะขายมาชำระราคาที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เกินไปจากสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อในสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้ได้และผูกพันจำเลย
หนี้เดิมเป็นการตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายในส่วนของเนื้อที่ดินที่เกิน จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินส่วนที่เกิน ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาเป็นสัญญากู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้อยู่ในฐานะผู้จะขายเช่นกัน การแปลงหนี้ใหม่ในครั้งนี้จึงมิได้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนจำนองที่ดิน & ผลผูกพันสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง: การกู้ยืมเงินร่วมกับจำเลยอื่น
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระ ให้บังคับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ในการบังคับจำนองหากได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีปัญหาข้อใดที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้
จำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจจัดการจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์ เพื่อประกันหนี้เงินกู้จำเลยที่ 1 และทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย สอดคล้องกับสัญญาจำนองที่ดินข้อ 1 ซึ่งมีข้อความระบุว่า คู่สัญญาให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กู้ยืมเงินโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สามารถใช้ฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ได้สิ้นเชิงอย่างหนี้สามัญ การทำข้อตกลงตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5 อันเป็นการตกลงกันเป็นพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ เพื่อให้มีผลบังคับกันว่าจำเลยที่ 3 ต้องชำระหนี้แก่โจทก์โดยสิ้นเชิง จึงเป็นการที่จำเลยที่ 2 ได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน สัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาซื้อขายเงินกู้, การผิดสัญญา, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
หนังสือสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 1 มีข้อความว่า "ผู้จะขายยอมตกลงขายที่นาฝากไว้... เป็นราคาเงิน 200,000 บาท มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาถึงวันที่ 1 เมษายน 2543 หากไม่มีเงิน 200,000 บาท มาคืนให้ผู้ซื้อ ผู้ขายยอมให้ที่นาจำนวน 15 ไร่ ตามสัญญาให้แก่ผู้จะซื้อ ณ วันที่ 1 เมษายน 2543" มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 จะยอมให้กรรมสิทธิ์ในที่นาตกไปยังโจทก์ทั้งสองก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงิน 200,000 บาท คืนแก่โจทก์ทั้งสองเมื่อถึงเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้กรรมสิทธิ์ในที่นาตกไปยังโจทก์ทั้งสองทันทีโดยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 อาจไถ่ที่นานั้นคืนได้ในภายหลัง อันจะต้องด้วยลักษณะของสัญญาขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวนหนึ่งไปจากโจทก์ทั้งสองและตกลงว่าจะชำระคืนให้ อันเข้าลักษณะเป็นการกู้เงิน และหนังสือสัญญาดังกล่าวย่อมใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวมาในคำฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินแก่โจทก์ทั้งสอง ก็เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเท้าความถึงข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญา ซึ่งโจทก์แนบสำเนามาท้ายคำฟ้องเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าต้องด้วยบทกฎหมายใด โดยเฉพาะโจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องขอให้บังคับคดีเกี่ยวกับที่ดิน คงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินคืนท่านั้น
โจทก์อุทธรณ์ว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนหากวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาเอกสารหมาย จ.1 เป็นสัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะ ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 บังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่โจทก์ในฐานะที่เป็นลาภมิควรได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาว่า ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์มิใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น เพราะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยตรง มิใช่เป็นฎีกาที่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การชำระหนี้และการใช้สิทธิในการนำสืบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินไว้ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินต้นเงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่สำเนาสัญญากู้ยืมที่โจทก์ส่งคืนจำเลยไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เวนคืนหลักฐานแห่งการกู้ยืมแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงไม่สามารถนำสืบการใช้ต้นเงินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ ส่วนการนำสืบการชำระดอกเบี้ยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สัญญากู้ยืมเงินเป็นหลักฐานในคดีแพ่ง จำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนมาแต่ต้น โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งหรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาคดีแล้ว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินไปปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน แล้วส่งคืนเข้าสำนวนในชั้นฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวยังคงเป็นตราสารที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน โจทก์จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมมาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้.
of 110