คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 653

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,099 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์-ผลบังคับใช้-จำนอง-อัตราดอกเบี้ย-ความรับผิดของผู้กู้
การขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้เงิน หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลฎีกาหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปแล้ว โดยศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยทำสัญญาจำนองเป็นประกันไว้ และจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ที่ดินที่จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาและจำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาก็ตาม คงมีผลเพียงว่าภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้อ้างเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยาน ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้เอกสารดังกล่าวสมบูรณ์ถูกต้องสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลรัษฎากร มิใช่หน้าที่ของจำเลย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน และปรากฏว่าสัญญากู้เงินที่ทำขึ้นไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานการกู้ยืมจากคำให้การในคดีอาญา: รับฟังได้หากลงลายมือชื่อสมัครใจ
จำเลยได้ให้การและเบิกความในคดีอาญาโดยสมัครใจว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมนี้ได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, การสืบพยานนอกฟ้อง, และการใช้คำให้การในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานหนี้
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องดังกล่าวทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ในคดีแพ่ง มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่อาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญากู้ยืม และความรับผิดของทายาทต่อหนี้
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเครื่องอุปโภคและบริโภค รวมทั้งให้ยืมเงินแก่ ผ. จำเลย และลูกค้าของโจทก์รายอื่น ๆ อีกหลายรายที่ประกอบอาชีพทำนาที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องอุปโภคบริโภคโดยโจทก์ให้เครดิตสินเชื่อสินค้าและเงินยืมของโจทก์ให้แก่ลูกค้ามีบัญชีบันทึกหนี้สินกันไว้เป็นหลักฐานโดยโจทก์หวังผลประโยชน์ตอบแทน ปรากฏว่าผ. ยังค้างชำระหนี้อยู่จึงยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยกับยอดหนี้ดังกล่าวเป็นต้นเงินในปีต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ตอบแทนในทางการค้าไม่ใช่การคิดดอกเบี้ย
ผ. ยอมทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้เดิมที่ค้างชำระกันอยู่มาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน หนี้เดิมย่อมระงับสิ้นไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้เงินกู้ยืม ผ. ไม่ยอมชำระเงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญากู้ยืมเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ผ. และจำเลยที่ 2ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ผ. จึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 ประกอบด้วยมาตรา 1629,1635(1) และมาตรา 1737

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา กู้ยืมเงินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ศาลแก้ไขคำพิพากษาดอกเบี้ย
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14ขณะจำเลยทั้งสองทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดให้สินเชื่อโจทก์จึงมีคำสั่งและประกาศอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยชั้นดีโดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีทั้งประเภทเบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้แบบมีระยะเวลาอัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้ารายย่อยชั้นดีในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราตามคำสั่งและประกาศของโจทก์เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี จึงตกเป็นโมฆะ แม้ตามความจริงโจทก์จะคิดดอกเบี้ยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจทำให้ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะกลายเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้ เมื่อข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นโมฆะแล้วเท่ากับสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีกแต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจของลูกหนี้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จึงไม่อาจนำมาหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินตามลำดับได้อีก ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่สิทธิยึดหน่วงตามกฎหมาย เพราะไม่ใช่หนี้ที่เกี่ยวกับที่ดินโดยตรง
ผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินเพราะจำเลยมอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ผู้ร้องจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืน แต่เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาไม่สามารถใช้ยันแก่บุคคลอื่นได้ กรณีมิใช่สิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เพราะหนี้ที่ผู้ร้องมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่ผู้ร้องจะได้รับชำระคืนเท่านั้นหาได้เป็นคุณแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยที่ดินโฉนดดังกล่าวไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยึดโฉนดที่ดินดังกล่าวได้
การที่ผู้ร้องอ้างว่า จำเลยนำโฉนดที่ดินมาจำนองเป็นประกันเงินกู้แต่ยังมิได้จดทะเบียนจำนอง โดยจำเลยมอบโฉนดที่ดินให้ผู้ร้องยึดถือไว้ก่อนเพื่อให้เห็นว่าตนมีสิทธิยึดหน่วงในโฉนดที่ดินนั้น ผู้ร้องต้องอ้างมาในคำร้องด้วย จะนำสืบในชั้นไต่สวนคำร้องหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นเพียงรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในคำร้องของผู้ร้อง และแม้จะเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแต่เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญากู้ยืมปลอม โจทก์ต้องพิสูจน์ความแท้จริงของเอกสาร
โจทก์อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 110,000 บาท แต่จำเลยอ้างว่ากู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารที่แท้จริง เมื่อพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยนำสืบรับฟังได้ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมโดยโจทก์กรอกข้อความภายหลังโจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าเสียหายจากสัญญากู้ยืมและอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน รวมถึงหน้าที่ชำระหนี้ในอนาคต
แม้จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญากู้เงินที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองไว้แก่ธนาคารโจทก์ โดยตกลงให้โจทก์ทำประกันภัยได้เองและจำเลยยอมชำระเบี้ยประกันคืนแก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อหน้าที่ที่จำเลยจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยภายหลังวันฟ้องเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคต จะถือว่าจำเลยละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนนั้นยังไม่ได้ กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้, การบังคับชำระหนี้, และสิทธิเรียกร้องค่าเบี้ยประกันภัย
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 1 มีใจความว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญาในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ได้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารฯ สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใดส่วนที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฯซึ่งมีข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่เรียกจากลูกค้าและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและจะเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศไม่ได้นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ เท่านั้น ไม่รวมถึงโจทก์ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ฯ การที่โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงินข้อ 1 โดยมิได้ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยนี้ก่อน จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้
โจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลังสิ้นสุดสัญญา ไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ แต่ต้องเป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ระบุว่า "ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราตามที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ ไป และผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนด โดยที่ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบแต่อย่างใด" แสดงว่าเป็นการคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยจะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยแบบไม่ทบต้นในอัตราที่ตกลงตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เพราะถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว และไม่ทำให้สภาพของดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีอยู่แต่เดิมต้องแปรเปลี่ยนไปเป็นเบี้ยปรับ แต่สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยย่อมมีอยู่ก่อนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดคำนวณดอกเบี้ยโดยอาศัยตามประกาศของโจทก์ดังกล่าว
of 110