พบผลลัพธ์ทั้งหมด 453 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาดอกเบี้ยกู้เงิน: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาเว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับกรณีผิดนัด, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา เว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน โดยคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริง
สัญญากู้เงินระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลยระบุว่า ในระยะ 3 ปีแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงร้อยละ 7.86 ต่อปีเท่านั้น ต่อจาก 3 ปี นั้นแล้ว จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้แต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงตามกฎหมายแต่ถ้าจำเลยผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินและไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยก่อน ปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยกู้เงินโจทก์ได้เพียง 3 เดือนเศษก็ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ต่อมาอีก 5 เดือน โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ หาใช่เป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามปกติโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญากู้เงินไม่จึงเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อันเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งเมื่อศาลได้คำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์แล้วสามารถลดลงเป็นร้อยละ 15ต่อปีได้กรณีมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลแต่อย่างใด
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าวิทยุ: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดเบี้ยปรับตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมจากกรมไปรษณีย์โทรเลขโจทก์ โดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าเดือนละ 900 บาท และจำเลยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 กฎหมาย ระเบียบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดและต้องรับผิดในกรณีที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดนั้น ๆ ด้วย ดังนั้น ประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่อง กำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ จึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าด้วย เมื่อจำเลยไม่ชำระหรือชำระค่าตอบแทนเกินกำหนด จำเลยต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ของค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่ต้องชำระต่อวัน นับถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงคมนาคมฉบับดังกล่าว เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยสัญญาว่าจะใช้ให้แก่โจทก์เป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดให้จำเลยใช้ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม อันเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายศาลฎีกาแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยกำหนดให้จำเลยชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราวันละ 10 บาท นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
การที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดให้จำเลยใช้ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม อันเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายศาลฎีกาแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยกำหนดให้จำเลยชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราวันละ 10 บาท นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาบัตรเครดิตสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
เงินค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่มและค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงินตามสัญญาใช้บัตรเครดิตที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ล้วนแต่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยไม่ชำระหนี้เงินดังกล่าวตรงตามเวลาที่กำหนดไว้มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาบัตรเครดิตสูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เงินค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่ม และค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงินในหนี้บัตรเครดิต นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระเงินที่โจทก์เรียกเก็บทั้งหมดนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลย ไม่ชำระหนี้เงินดังกล่าวตรงตามเวลาที่กำหนดไว้มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อเบี้ยปรับดังกล่าวนั้นกำหนดไว้สูงเกินส่วน จึงเห็นควรให้ลดเบี้ยปรับลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าพื้นที่ติดตั้งอู่เรือล่าช้าถือผิดสัญญา ผู้เช่าต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาค้ำประกัน
เมื่อครบกำหนด 2 ปี นับแต่วันลงนามในสัญญาเช่าพื้นที่ในที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ยังมิได้ติดตั้งอู่ลอยในพื้นที่ที่กำหนดไว้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิริบเงินจากหลักประกันตามสัญญาได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่หลักประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ที่นำมามอบแก่โจทก์เป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เข้าลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับและดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน, ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ, สถานะลูกหนี้มีผลต่อการใช้เช็ค
การที่คู่สัญญาจะมีสิทธิคิดเบี้ยปรับจากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาได้นั้น ต้องมีการตกลงไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้งว่า มีเงื่อนไขในการกำหนดเบี้ยปรับกันอย่างไรผิดสัญญาข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 หาใช่เป็นการคิดเอาตามอำเภอใจแต่ฝ่ายเดียวไม่
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไป บวก 0.25%
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่กำหนดโดยธนาคารโจทก์ไม่ได้ระบุจำกัดว่าให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น จึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ และเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม มาตรา 383 และมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน โดยย่อมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดจากสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ศาลฎีกาแก้เบี้ยปรับให้เป็นอัตราที่สมเหตุสมผล
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยยินยอมชำระเงินเมื่อมีการยื่นตั๋วแลกเงินของผู้รับประโยชน์พร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารโจทก์นับแต่วันที่ออกตั๋วแลกเงินถึงวันชำระเงิน รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หากไม่ปฏิบัติตาม ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่กำหนดโดยธนาคารโจทก์นับจากวันที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน เมื่อสินค้าตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวเดินทางมาถึง จำเลยได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารการรับสินค้าไปก่อนโดยยังไม่ชำระเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าจะชำระตามตั๋วแลกเงินภายในเวลาที่กำหนดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตหมายความว่า ถ้าจำเลยปฏิบัติตามสัญญาทรัสต์รีซีทก็ย่อมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารโจทก์กำหนดไว้นับแต่เวลาที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน
เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ กรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไว้ให้ชัดเจน แต่ในคำฟ้องได้มีการคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดของหนี้แต่ละจำนวนถึงวันฟ้อง โดยแนบสำเนาประกาศธนาคารโจทก์ เรื่องอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดขั้นสูงสุดมาด้วยและในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบโดยอ้างส่งสำเนาประกาศดังกล่าวที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตรงกันกับช่วงเวลาที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องและพยานหลักฐานของโจทก์จึงชัดเจนเพียงพอที่จะกำหนดดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดได้
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้ระบุจำกัดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น กรณีจึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวจึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ แต่เนื่องจากเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 383 โดยกำหนดให้เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดของโจทก์บวก 0.25 และปรับเปลี่ยนขึ้นลงแปรผันตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่เรียกจากลูกค้าทั่วไปตามประกาศของโจทก์ที่ประกาศไว้แล้วและที่จะประกาศต่อไปหลังวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดและไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องด้วย
เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ กรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไว้ให้ชัดเจน แต่ในคำฟ้องได้มีการคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดของหนี้แต่ละจำนวนถึงวันฟ้อง โดยแนบสำเนาประกาศธนาคารโจทก์ เรื่องอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดขั้นสูงสุดมาด้วยและในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบโดยอ้างส่งสำเนาประกาศดังกล่าวที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตรงกันกับช่วงเวลาที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องและพยานหลักฐานของโจทก์จึงชัดเจนเพียงพอที่จะกำหนดดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดได้
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้ระบุจำกัดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น กรณีจึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวจึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ แต่เนื่องจากเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 383 โดยกำหนดให้เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดของโจทก์บวก 0.25 และปรับเปลี่ยนขึ้นลงแปรผันตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่เรียกจากลูกค้าทั่วไปตามประกาศของโจทก์ที่ประกาศไว้แล้วและที่จะประกาศต่อไปหลังวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดและไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องด้วย