คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 379

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 453 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, วงเงินค้ำประกัน, การลดเบี้ยปรับ, และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามสัญญา
สัญญาค้ำประกันซึ่งระบุว่า เป็นการค้ำประกันหนี้สินในวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันและอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้แม้สัญญาค้ำประกันอันเป็นสัญญาหรือหนี้อุปกรณ์จะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือหนี้ประธาน
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เริ่มจากวันทำสัญญานี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศ หากครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยังไม่สามารถชำระหนี้ให้ได้ก็ยินยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยินยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ ข้อความที่ระบุไว้แสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงขึ้นได้ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร จึงมีผลเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้เดิม จึงถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
การคิดคำนวณความรับผิดตามวงเงินค้ำประกันจะต้องถือตามหนี้ต้นเงินในสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น โดยไม่รวมดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องรับผิดต่างหากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทมีจำนวนต่ำกว่าจำนวนเงินค้ำประกัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยจากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ดังนั้น จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วจะเกินจำนวนวงเงินค้ำประกันหรือไม่อีก
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับหนี้จำนองนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างคำขอท้ายอุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า: เงินดาวน์ไม่ใช่เงินมัดจำ, เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดได้
แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7240/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในข้อบังคับอาคารชุด: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร แม้มีข้อบังคับ
ข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า ในกรณีที่ชำระค่าใช้จ่ายหลังจากที่กำหนดหรือนิติบุคคลอาคารชุดฯ ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ตามเช็คสั่งจ่าย เจ้าของห้องชุดจะต้องชำระค่าปรับในอัตราร้อยละ 10ต่อเดือนของเงินจำนวนที่ค้างชำระนั้น ค่าปรับตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งโจทก์กำหนดไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่เจ้าของห้องชุดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แม้โจทก์จะมีอำนาจออกข้อบังคับเพื่อจัดการและดูแลทรัพย์สินส่วนกลางและข้อบังคับของโจทก์ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามกฎหมายแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่เป็นเบี้ยปรับและที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเป็นต้องมีข้อบังคับให้เจ้าของห้องชุดปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดเพื่อให้โจทก์สามารถบริหารงานได้และเจ้าของห้องชุดได้อยู่ร่วมกันโดยปกติสุขก็หาได้ตัดอำนาจศาลที่จะลดเบี้ยปรับที่เรียกสูงเกินส่วนลงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ตามปกติโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงปรับอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากจำเลยที่ 1 ให้สูงขึ้นเป็นประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีเชื่อได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยกรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ ถือได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเพิ่มจากเดิมมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่งให้อำนาจไว้ โดยไม่จำต้องมีฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่ใช่เบี้ยปรับ, คิดดอกเบี้ยตามสัญญาก่อนบอกเลิก
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินบัญชีได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า จำเลยยอมเสีย ดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร และจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาอันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.6 และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 กำหนดอัตรา ดอกเบี้ยไว้ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ร้อยละ 19 และ 18 ตามลำดับ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดแจ้งว่ายอดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ณ วันถัดจากวันที่เลิกสัญญาถึงวันฟ้องที่ขอมานั้นแบ่งเป็นยอดดอกเบี้ยตามสัญญา เอกสารหมาย จ.6 เท่าใด และสัญญาเอกสารหมาย จ.8 เท่าใด จึงต้องคิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามที่โจทก์ประสงค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดดอกเบี้ยได้ตามควร
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ ฉะนั้นคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้โดยชอบแล้ว ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันพ้นกำหนดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญาดังกล่าว
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในสัญญาว่ามีข้อความระบุให้เจ้าหนี้เรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้เพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรหรือไม่ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารและถ้าต่อไปธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้แล้วจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ส่วนสัญญากู้เงินและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินก็ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้มีเนื้อความในทำนองเดียวกันอีกทั้งสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองก็ระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ จากข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 2 อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินถือเป็นการขาย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามราคาตลาด เงินเพิ่มตามกฎหมายมิใช่เบี้ยปรับ ลดไม่ได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับผู้อื่นก็มีผลเท่ากับโจทก์ขายที่ดินนั่นเอง จึงต้องถือราคาขายที่ดินเป็นเงินได้ของโจทก์ มิใช่ถือเอาเฉพาะเงินบริจาคบำรุงมูลนิธิโจทก์ที่โจทก์ได้รับมาเป็นรายได้ ที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายตามราคาตลาดในวันที่ดินโอนที่ดินโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว
เงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจากข้อสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ จึงมิใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและการปรับลดเบี้ยปรับ: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยและขอบเขตการลดเบี้ยปรับตามกฎหมาย
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยกู้เงินจากโจทก์ ตกลงชำระเงินกู้ภายใน 25 ปี ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 1 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี มีระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้ และมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 ว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปี นับแต่วันทำสัญญา ต้องถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตกลงกันว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดอกเบี้ยภายหลังวันผิดนัดที่เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดหรือไม่ก็ตามโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8891/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา และการผิดสัญญาหลังไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
โจทก์ไม่ได้จัดให้จำเลยทำสัญญาผูกมัดและกำหนดเวลาทำงานชดเชยไว้ กรณีเท่ากับเป็นการไม่มีสัญญาหรือข้อผูกมัดที่จะผูกพันหรือบังคับให้จำเลยต้องรับผิดชอบตามสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นสองเท่าของเวลาที่ไปศึกษาปริญญาโท
ส่วนที่จำเลยได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 6 ปีเศษ จำเลยจะต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นเวลา 12 ปีเศษ เมื่อคำนวณระยะเวลาที่จำเลยเข้ารับราชการหลังจากกลับจากสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปีเศษ เมื่อรวมเวลากับที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษ รวมเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ทุนไปศึกษาปริญญาเอก 13 ปีเศษ เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยยังรับราชการชดใช้ทุนเกินไป 1 ปีเศษ ส่วนกรณีที่จำเลยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ป่าไม้ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติณ ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษนั้นจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะรับราชการเป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้ปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับราชการชดเชย เมื่อจำเลยกลับจากประเทศบังคลาเทศเข้ามารับราชการให้แก่โจทก์เป็นเวลา 11 เดือนแล้วลาออกจากราชการ จึงเหลือเวลาที่จะต้องปฏิบัติราชการชดเชยให้โจทก์อีก 23 เดือน 1 วัน ซึ่งถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามการคำนวณจำนวนวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ, การเลิกสัญญาโดยปริยาย, การแก้ไขข้อผิดพลาดในคำพิพากษา
ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 แต่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาท แต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ 45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม
of 46