พบผลลัพธ์ทั้งหมด 453 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับกับดอกเบี้ย: สัญญาเงินกู้และจำนอง การลดอัตราดอกเบี้ยโดยอ้างเบี้ยปรับสูงเกินไปไม่ชอบ
เบี้ยปรับคือสัญญาซึ่งลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร แต่สัญญากู้เงินหรือสัญญาจำนองกำหนดให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยทั้งสอง ผู้เป็นลูกหนี้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ การที่ศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ลงเหลืออัตราร้อยละ 15 ต่อปีโดยอ้างว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและจัดหาที่ดิน ศาลลดเบี้ยปรับเกินส่วนและหักกลบกับค่าที่ดินค้างชำระ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันตกลงทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์และตกลงรับเป็นผู้จัดหาที่ดิน หรือจะกระทำโดยวิธีการใดก็ตามให้โจทก์ได้ซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินของบุคคลอี่นอีกด้วย โดยจำเลยทั้งสองจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท จำเลย-ทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินจำนวน 38 แปลง ตามฟ้องจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงส่วนนั้นตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองคงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์เป็นฝ่ายประพฤติผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว โดยอ้างเหตุต่าง ๆ มาในคำให้การ และว่าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิปรับเอาแก่จำเลยทั้งสอง คดีตามคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทจึงคงมีประเด็นแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินอีก 47 แปลง ที่เหลือหรือไม่เท่านั้น และคดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกันหรือแยกออกเป็นสองสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาทั้งหมดอันเป็นผลให้โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่เป็นประเด็นข้อพิพาท และขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้ว ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน30 แปลง ตามสัญญา และเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลง แต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน..." เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จากการประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไรจากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดินทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจากการผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอนหรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจากเงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน30 แปลง ตามสัญญา และเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลง แต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน..." เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จากการประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไรจากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดินทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจากการผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอนหรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจากเงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขายที่ดิน: การลดเบี้ยปรับให้เหมาะสมกับความเสียหายจริงและพิจารณาจากราคาที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันตกลงทำหนังสือสัญญา จะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์และตกลง รับเป็นผู้จัดหาที่ดิน หรือจะกระทำโดยวิธีการใดก็ตามให้โจทก์ ได้ซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในที่ดินของบุคคลอื่นอีกด้วย โดยจำเลยทั้งสองจะขายที่ดิน และจัดหาที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินจำนวน 38 แปลง ตามฟ้องจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงส่วนนั้นตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองคงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์เป็นฝ่ายประพฤติผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียวโดยอ้างเหตุต่าง ๆ มาในคำให้การ และว่าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิปรับเอาแก่จำเลยทั้งสองคดีตามคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทจึงคงมีประเด็นแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินอีก 47 แปลงที่เหลือหรือไม่เท่านั้น และคดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกันหรือแยกออกเป็นสองสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และการบอกเลิกสัญญา ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาทั้งหมดอันเป็นผล ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่เป็นประเด็นข้อพิพาท และขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้วไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามสัญญาและเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน 47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะ บังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิ เกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงิน ค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลงแต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวน พอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่าง อันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน" เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จาก การประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไร จากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดิน ทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการ ที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจาก การผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ย ให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดิน ให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้น จากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหาย ที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับ ที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอน หรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้ จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสอง มิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับ ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจาก เงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 ที่ไม่ใช่ นิติบุคคล และเบี้ยปรับจากสัญญาประกันภัย
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามที่กล่าวไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และคำว่าบุคคลนั้นได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับนิติบุคคลนั้นได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65 แล้วว่าจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่น โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2 เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าวเป็นการตกลงจะชำระเงิน 280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหน่วยงานราชการ และเบี้ยปรับตามสัญญาที่สูงเกินส่วน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามที่กล่าวไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้นได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามป.พ.พ. สำหรับนิติบุคคลนั้นได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 65 แล้วว่าจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่น
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้ โจทก์ที่ 2ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าว เป็นการตกลงจะชำระเงิน280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้ โจทก์ที่ 2ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าว เป็นการตกลงจะชำระเงิน280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการสืบพยาน, สัญญาซื้อขายอาคารชุด, และผลของการบอกเลิกสัญญาที่มีต่อเช็คพิพาท
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยมาแล้ว 8 นัด แต่จำเลยนำพยานมาสืบเพียง 2 นัด และสืบพยานจำเลยได้เพียง 1 ปาก นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายขอเลื่อนคดี 3 นัด และคู่ความทั้งสองฝ่ายขอเลื่อนคดีเพื่อเจรจาตกลงกันอีก 3 นัดครั้นถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่ 9 จำเลยขอเลื่อนคดีอีก ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยนัดต่อไป และกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จภายใน 2 นัดต่อมาเมื่อสืบพยานจำเลยนัดแรกแล้ว ครั้นถึงนัดที่สองเลื่อนไป ทนายโจทก์อ้างเหตุเจ็บป่วยขอเลื่อน ทนายจำเลยไม่ค้านและแถลงว่าจะนำพยานมาสืบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก 2 นัด และกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จตามที่นัดไว้โดยจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก ครั้นสืบพยานจำเลยครบ 2 นัดแล้ว จำเลยแถลงจะขอสืบพยานอีก 4 ปาก โดยเฉพาะพยานบางปากจำเลยยังมิได้ระบุบัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติม อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามรายงานกระบวนพิจารณาและไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ การที่จำเลยเป็นผู้ซื้ออาคารชุดต่อจาก ศ. ซึ่งข้อตกลงโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายร้านค้าอาคารชุดระหว่างจำเลยและ ศ.ไลต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ เมื่อปรากฎว่า ศ.และจำเลยได้ทำหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดและโจทก์ได้บันทึกในหนังสือฉบับนี้อนุมัติให้เปลี่ยนสัญญาได้ จำเลยย่อมถือหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดฉบับนี้ต่อเนื่องกับสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมได้โดยถือว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์แทนที่ ศ. โจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่มอบให้จำเลยอีกการที่โจทก์ไม่ยอมทำและมอบหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการฉบับใหม่ให้แก่จำเลย กรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและนำอาคารชุดไปขายให้แก่ผู้อื่นได้
สำหรับเช็คพิพาทที่จำเลยได้ชำระเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการก่อนมีการบอกเลิกสัญญานั้น เช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะริบเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระไว้แล้วเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์
จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ การที่จำเลยเป็นผู้ซื้ออาคารชุดต่อจาก ศ. ซึ่งข้อตกลงโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายร้านค้าอาคารชุดระหว่างจำเลยและ ศ.ไลต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ เมื่อปรากฎว่า ศ.และจำเลยได้ทำหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดและโจทก์ได้บันทึกในหนังสือฉบับนี้อนุมัติให้เปลี่ยนสัญญาได้ จำเลยย่อมถือหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดฉบับนี้ต่อเนื่องกับสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมได้โดยถือว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์แทนที่ ศ. โจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่มอบให้จำเลยอีกการที่โจทก์ไม่ยอมทำและมอบหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการฉบับใหม่ให้แก่จำเลย กรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและนำอาคารชุดไปขายให้แก่ผู้อื่นได้
สำหรับเช็คพิพาทที่จำเลยได้ชำระเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการก่อนมีการบอกเลิกสัญญานั้น เช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะริบเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระไว้แล้วเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการและการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยมาแล้ว 8 นัด แต่จำเลยนำพยานมาสืบเพียง 2 นัด และสืบพยานจำเลยได้เพียง 1 ปากนอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายขอเลื่อนคดี 3 นัด และคู่ความทั้งสองฝ่ายขอเลื่อนคดีเพื่อเจรจาตกลงกันอีก 3 นัดครั้นถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่ 9 จำเลยขอเลื่อนคดีอีก ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยนัดต่อไป และกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จภายใน 2 นัดต่อมาเมื่อสืบพยานจำเลยนัดแรกแล้ว ครั้นถึงนัดที่สองเปลี่ยนไป ทนายโจทก์อ้างเหตุเจ็บป่วยขอเลื่อน ทนายจำเลยไม่ค้านและแถลงว่าจะนำพยานมาสืบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก 2 นัด และกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จตามที่นัดไว้โดยจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก ครั้นสืบพยานจำเลยครบ 2 นัดแล้ว จำเลยแถลงจะขอสืบพยานอีก 4 ปาก โดยเฉพาะพยานบางปากจำเลยยังมิได้ระบุบัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติม อันเป็นการไม่ปฎิบัติตามรายงานกระบวนพิจารณาและไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาและไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการ ให้แก่โจทก์ ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ การที่จำเลยเป็นผู้ซื้ออาคารชุดต่อจากศ. ซึ่งข้อตกลงโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายร้านค้าอาคารชุดระหว่างจำเลยและ ศ. ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ เมื่อปรากฎว่า ศ. และจำเลยได้ทำหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดและโจทก์ได้บันทึกในหนังสือฉบับนี้อนุมัติให้เปลี่ยนสัญญาได้ จำเลยย่อมถือหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดฉบับนี้ต่อเนื่องกับสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมได้โดยถือว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์แทนที่ ศ.โจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่มอบให้จำเลยอีกการที่โจทก์ไม่ยอมทำและมอบหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการฉบับใหม่ให้แก่จำเลย กรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและนำอาคารชุดไปขายให้แก่ผู้อื่นได้ สำหรับเช็คพิพาทที่จำเลยได้ชำระเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการก่อนมีการบอกเลิกสัญญานั้น เช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้วแม้ต่อมาโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะริบเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระไว้แล้วเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อธนาคารตามเช็คปฎิเสธการใช้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ดิน: กรรมสิทธิ์ในอาคารเมื่อผิดสัญญา
ตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า หากผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าได้ แต่ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้นำเงินค่าเช่ามาชำระ ถ้าผู้เช่าไม่นำเงินค่าเช่ามาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว ให้อาคารที่ปลูกสร้างทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า ดังนี้เมื่อจำเลยผู้เช่าตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า และโจทก์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่ชำระค่าเช่าตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ อาคารที่ปลูกสร้างลงบนที่ดินของโจทก์จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว กรณีมิใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับ
ด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336เมื่ออาคารที่ปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ชอบที่จะใช้สอยหรือได้ซึ่งดอกผล การที่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพิพาทย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336เมื่ออาคารที่ปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ชอบที่จะใช้สอยหรือได้ซึ่งดอกผล การที่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพิพาทย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและกรรมสิทธิ์ในอาคาร: การบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการครอบครอง
ตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า หากผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าได้ แต่ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้นำเงินค่าเช่ามาชำระ ถ้าผู้เช่าไม่นำเงิน ค่าเช่ามาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว ให้อาคารที่ปลูกสร้างทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า ดังนี้ เมื่อจำเลยผู้เช่าตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า และโจทก์ได้ บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่ชำระค่าเช่าตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ อาคารที่ปลูกสร้างลงบนที่ดินของโจทก์จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว กรณีมิใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับ ด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เมื่ออาคารที่ปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ชอบที่จะใช้สอยหรือได้ซึ่งดอกผล การที่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพิพาทย่อมทำให้ โจทก์ได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาซื้อขาย - ไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหายจริง - ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน
จำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจาก บ. แล้วทำสัญญาจะขายสิทธิการเช่าตึกนั้นให้แก่โจทก์ ในวันโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทนั้น โจทก์เตรียมแคชเชียร์เช็ค จำนวนเงิน530,000 บาท พร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ณ เวลาที่กำหนดกล่าวคือ แคชเชียร์เช็คได้ระบุวันสั่งจ่ายก่อนถึงกำหนดการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาท 2 วัน แสดงให้เห็นว่าโจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาต่อจำเลยครบถ้วนแล้วแต่เหตุที่ไม่ได้โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทต่อกันเนื่องจากจำเลยขอให้เพิ่มเติมข้อความลงในสัญญาเช่าเดิมระหว่างจำเลยกับ บ. ว่า เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิการเช่าแล้วหากสัญญาเช่าสิ้นสุดผู้เช่าต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ถ้าไม่ออกจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มภาระและความรับผิดแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่ตกลงกำหนดกันไว้ในสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ด้วยการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ตามเวลาที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้น เนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ. แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่า โจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ. แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่า ถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และมาตรา 380 และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้น เนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ. แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่า โจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ. แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่า ถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และมาตรา 380 และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง