พบผลลัพธ์ทั้งหมด 453 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับและหน้าที่ชำระราคาที่ดินเมื่อมีการบังคับสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมายจ.2ข้อ3มีข้อความว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญาผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อจำนวน30,000บาทเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดสัญญาแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสองแต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทนต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกันเมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ค้ำประกัน, และรับชำระหนี้: ข้อพิพาทเรื่องหนี้และภาระการพิสูจน์
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดภาระในการพิสูจน์ผิดพลาดโดยให้ตกอยู่แก่จำเลยทั้งสามทั้งที่ตามกฎหมายต้องตกแก่โจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยทั้งสามแพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิจารณาคดีนี้ใหม่ทั้งหมด เพราะไม่มีผลให้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีความแตกต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งตามมาตรา 378 กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืน เว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา 379 เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา และการริบเบี้ยปรับ มาตรา 383 ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควร จึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกัน มัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับการริบตามสัญญาซื้อขาย ศาลไม่มีอำนาจลดจำนวนมัดจำเหมือนเบี้ยปรับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาซึ่งตามมาตรา378กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืนเว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา379เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญาและการริบเบี้ยปรับมาตรา383ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรจึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกันมัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย/ผิดหลงเล็กน้อย และค่าธรรมเนียมผิดนัด
การที่จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำฟ้องจำเป็นต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์ซึ่งตามปกติการขอแก้ไขเพิ่มเติมสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172ถือว่าเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในข้อสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรสินเชื่อที่โจทก์ออกให้ไปใช้โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน20,620บาทจำเลยต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน20,620บาทพร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนคำนวณถึงวันฟ้องจำนวน4,646.37บาทรวมเป็นเงิน25,266.37บาทซึ่งปกติถ้าโจทก์ไม่บรรยายคำฟ้องต่อไปว่าไม่ประสงค์เรียกร้องให้ตรงจำนวนหนี้แล้วโจทก์ก็ต้องบรรยายคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดดังกล่าวแต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37บาทพร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนในต้นเงินจำนวน20,620บาทเห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนาต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180 โจทก์ได้บรรยายวิธีการใช้บัตรสินเชื่อไว้ว่าเมื่อสมาชิกผู้มีบัตรประสงค์จะซื้อสินค้าใช้บริการหรืออื่นๆสมาชิกสามารถนำบัตรดังกล่าวไปแสดงต่อบุคคลนิติบุคคลหรือร้านค้าต่างๆซึ่งตกลงรับบัตรที่โจทก์ออกให้โดยไม่ต้องชำระเงินสดซึ่งโจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกแล้วภายหลังจึงเรียกเก็บจากสมาชิกเป็นรายเดือนโดยแนบใบแจ้งยอดบัญชีกับหลักฐานซึ่งแสดงว่าสมาชิกได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการแต่ละครั้งไปด้วยฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาผิดสัญญาคำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172แล้วไม่เคลือบคลุม ตามวิธีการใช้บัตรสินเชื่อของโจทก์เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนดซึ่งกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดแต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนดโจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดโดยไม่เรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีกค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้อง, อุทธรณ์, ฎีกา, จำนวนทุนทรัพย์, ค่าธรรมเนียมผิดนัด: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การวินิจฉัยว่าการแก้ไขอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจำต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์โจทก์ขอแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในคำขอบังคับท้ายฟ้องให้สอดคล้องกับข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาซึ่งได้บรรยายในคำฟ้องของโจทก์แต่เดิมโดยคำขอท้ายฟ้องได้พิมพ์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180 คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุผลคนละเหตุและจำเลยฎีกาในข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบและศาลชั้นต้นรับฎีกามาก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249 ตามวิธีการใช้บัตรสินเชื่อ ไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยทำบัตรสินเชื่อของโจทก์ไปใช้โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนดซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดแต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดโจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนไม่ใช่ดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯแต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายหลังใช้สิทธิปรับ ค่าปรับรายวันและค่าเสียหายที่พอสมควร
โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายกัน แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว จำเลยมิได้ส่งมอบ โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบสิ่งของ กับจำเลยมีหนังสือตอบแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งมอบสิ่งของ แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกันต่อไป โดยจำเลยยอมปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องค่าปรับ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาในระหว่างที่มีการปรับตามที่สัญญาซื้อขายระบุไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลยตามสัญญาได้
ค่าปรับรายวันที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายเพื่อการไม่ชำระหนี้ของจำเลยได้อีก และโจทก์ได้ริบเงินประกันคิดเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดจากจำเลยไปแล้ว ถือเป็นค่าเสียหายพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับรายวันอีก
ค่าปรับรายวันที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายเพื่อการไม่ชำระหนี้ของจำเลยได้อีก และโจทก์ได้ริบเงินประกันคิดเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดจากจำเลยไปแล้ว ถือเป็นค่าเสียหายพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับรายวันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนค้าต่าง, ความรับผิดของตัวแทนและผู้ค้ำประกัน, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, การระงับหนี้
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย" เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจำเลยว่าตัวแทนข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า "ตัวแทนสัญญาว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้" สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 833 การชำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อข้อสัญญากำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนี้หรือราคาปุ๋ยต่อตัวการ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์ มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันภัยฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฏว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาทบวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหายข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 811 นั้น กฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปีเมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย, ความรับผิดของตัวแทน, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย" เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจำเลยว่าตัวแทน ข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า "ตัวแทนสัญญาว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้..." สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 การชำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีข้อสัญญากำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนี้หรือราคาปุ๋ยต่อตัวการ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์ มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น
เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฎว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น
สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 811 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฎว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น
สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 811 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายทรายกรอง: เหตุสุดวิสัย, การปรับ, การบอกเลิกสัญญา, ค่าขนส่ง, และการหักหนี้
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาอ้างเหตุว่าไม่สามารถส่งมอบทรายกรองได้เพราะมีเหตุสุดวิสัยเนื่องจากฝนตกชุก ไม่มีแดดที่จะตากทรายให้แห้งได้นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้กำหนดให้โจทก์ขายทรายกรองจากแหล่งใดหรือบริษัทใดโจทก์จึงสามารถจัดหาจากผู้ผลิตรายอื่นซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝนไม่ตกเพื่อจัดส่งแก่จำเลยได้กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่สามารถส่งทรายกรองได้ทันตามกำหนดในสัญญาเพราะเหตุสุดวิสัย
ตามสัญญาซื้อขายทรายกรองรายพิพาทข้อ 8 วรรคแรก กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบหรือส่งมอบทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาได้ ข้อ 9 วรรคแรก กำหนดว่าในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายนำสิ่งของมาส่งมอบให้จนครบถ้วน และวรรคสามกำหนดว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา...ก็ได้ การที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองบางส่วนที่โจทก์ส่งมอบหลังจากครบกำหนดในสัญญาแล้ว เป็นการใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9 มิใช่กรณีที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองไม่อิดเอื้อนหรือไม่ถือเอาระยะเวลาการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยยังได้มีหนังสือกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ส่งทรายกรองส่วนที่ส่งมอบไว้บกพร่อง และส่วนที่ยังไม่ส่งในระยะเวลานั้น โดยแจ้งไปด้วยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในสัญญาเท่ากับจำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่ส่งมอบทรายกรองให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับตามสัญญาข้อ 9
ตามสัญญาซื้อขายรายพิพาทในงวดที่ 4 กำหนดให้โจทก์ส่งมอบทรายกรอง ณ สำนักงานของจำเลยเขต 13 ชุมพร เขต 14 นครศรีธรรมราชแต่จำเลยย้ายที่ตั้งสำนักงานเขต 13 จากจังหวัดชุมพรไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้ให้โจทก์นำทรายกรองที่จะต้องส่งมอบให้สำนักงานเขต 14 ไปส่งที่อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว และอำเภอทุ่งสง จึงเป็นกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันจะพึงชำระหนี้ จำเลยผู้ซื้อจึงต้องออกใช้ค่าขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 464
โจทก์ส่งมอบทรายกรองบางส่วนแล้วโดยส่งมอบครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2530 แต่จำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาในระยะเวลาอันสมควรเพิ่งจะบอกเลิกสัญญาโดยให้มีผลในวันที่ 31 ตุลาคม 2530 และตามสัญญากำหนดให้ปรับเป็นรายวัน จำนวนเบี้ยปรับจึงสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยบอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ส่งมอบทรายกรองไปที่สำนักงานของจำเลยเขต 12 เป็นเงิน 216,642 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ส่งทรายกรองที่สำนักงานเขต 12 ครบถ้วนตามสัญญาโดยมิได้ปฏิเสธค่าทรายกรองตามฟ้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาทรายกรองซึ่งโจทก์ส่งมอบที่สำนักงานเขต 12 จึงฟังได้ยุติตามฟ้องแล้วไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยราคาทรายกรองรายนี้อีก และจำเลยคงต้องชำระค่าทรายกรองรายนี้เป็นเงิน 216,642 บาท ตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อจำเลยต้องชำระค่าทรายกรองและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,053,779.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าปรับและค่าทดสอบทรายกรองแก่จำเลย 512,950 บาท พร้อมดอกเบี้ย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยื่นฟ้องแย้งก่อนครบกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้โจทก์ชำระค่าปรับและค่าทดสอบ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งนั้น แม้โจทก์จะให้การต่อสู้ไว้ แต่ชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและคู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นดังกล่าวแล้วจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
และที่โจทก์ฎีกาว่าธนาคารกรุงเทพจำกัดยึดเงินค้ำประกันไว้แทนจำเลย จำเลยอาจอ้างเหตุเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วไปขอรับเงินจากธนาคารได้ทันทีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 เช่นเดียวกัน
ตามสัญญาซื้อขายทรายกรองรายพิพาทข้อ 8 วรรคแรก กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบหรือส่งมอบทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาได้ ข้อ 9 วรรคแรก กำหนดว่าในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายนำสิ่งของมาส่งมอบให้จนครบถ้วน และวรรคสามกำหนดว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา...ก็ได้ การที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองบางส่วนที่โจทก์ส่งมอบหลังจากครบกำหนดในสัญญาแล้ว เป็นการใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9 มิใช่กรณีที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองไม่อิดเอื้อนหรือไม่ถือเอาระยะเวลาการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยยังได้มีหนังสือกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ส่งทรายกรองส่วนที่ส่งมอบไว้บกพร่อง และส่วนที่ยังไม่ส่งในระยะเวลานั้น โดยแจ้งไปด้วยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในสัญญาเท่ากับจำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่ส่งมอบทรายกรองให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับตามสัญญาข้อ 9
ตามสัญญาซื้อขายรายพิพาทในงวดที่ 4 กำหนดให้โจทก์ส่งมอบทรายกรอง ณ สำนักงานของจำเลยเขต 13 ชุมพร เขต 14 นครศรีธรรมราชแต่จำเลยย้ายที่ตั้งสำนักงานเขต 13 จากจังหวัดชุมพรไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้ให้โจทก์นำทรายกรองที่จะต้องส่งมอบให้สำนักงานเขต 14 ไปส่งที่อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว และอำเภอทุ่งสง จึงเป็นกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันจะพึงชำระหนี้ จำเลยผู้ซื้อจึงต้องออกใช้ค่าขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 464
โจทก์ส่งมอบทรายกรองบางส่วนแล้วโดยส่งมอบครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2530 แต่จำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาในระยะเวลาอันสมควรเพิ่งจะบอกเลิกสัญญาโดยให้มีผลในวันที่ 31 ตุลาคม 2530 และตามสัญญากำหนดให้ปรับเป็นรายวัน จำนวนเบี้ยปรับจึงสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยบอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ส่งมอบทรายกรองไปที่สำนักงานของจำเลยเขต 12 เป็นเงิน 216,642 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ส่งทรายกรองที่สำนักงานเขต 12 ครบถ้วนตามสัญญาโดยมิได้ปฏิเสธค่าทรายกรองตามฟ้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาทรายกรองซึ่งโจทก์ส่งมอบที่สำนักงานเขต 12 จึงฟังได้ยุติตามฟ้องแล้วไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยราคาทรายกรองรายนี้อีก และจำเลยคงต้องชำระค่าทรายกรองรายนี้เป็นเงิน 216,642 บาท ตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อจำเลยต้องชำระค่าทรายกรองและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,053,779.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าปรับและค่าทดสอบทรายกรองแก่จำเลย 512,950 บาท พร้อมดอกเบี้ย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยื่นฟ้องแย้งก่อนครบกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้โจทก์ชำระค่าปรับและค่าทดสอบ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งนั้น แม้โจทก์จะให้การต่อสู้ไว้ แต่ชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและคู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นดังกล่าวแล้วจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
และที่โจทก์ฎีกาว่าธนาคารกรุงเทพจำกัดยึดเงินค้ำประกันไว้แทนจำเลย จำเลยอาจอ้างเหตุเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วไปขอรับเงินจากธนาคารได้ทันทีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 เช่นเดียวกัน