คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปิยกุล บุญเพิ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินชดใช้ค่าเสียหายเพื่อสมานฉันท์แล้วไม่ตกลงกัน โจทก์ไม่มารับเงิน จำเลยมีสิทธิขอคืนได้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 56 เดือน การที่ระหว่างฎีกาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลนำคดีเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี และต่อมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าคดีมีทางตกลงกันได้โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 วางเงินต่อศาลชั้นต้น 883,357 บาท ซึ่งคิดเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดพิสูจน์ต่อศาล ชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดเพื่อบรรเทาผลร้ายแก่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด แสดงว่าจำเลยที่ 1 วางเงินจำนวนดังกล่าวโดยมีเจตนาที่จะให้โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดยอมความกับจำเลยที่ 1 ตามที่ศาลชั้นต้นได้นำคดีเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี มิใช่เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นเหตุบรรเทาโทษจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง มิได้ขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อถึงวันนัดสมานฉันท์ครั้งที่ 2 ทนายโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดแถลงว่า ไม่ประสงค์จะเจรจากับฝ่ายจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 นำมูลเหตุในคดีนี้ไปฟ้องโจทก์บางคนเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 6 คดี และหลังจากนั้นโจทก์บางคนซึ่งได้รับหมายนัดของศาลชั้นต้นที่แจ้งให้ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดและได้นำเงินวางศาลจำนวน 883,357 บาทแล้ว ก็ไม่ได้มารับเงินที่จำเลยที่ 1 วางไว้ไปจากศาลชั้นต้น จนกระทั่งศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดไม่ประสงค์ที่จะยอมความกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ เมื่อคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยไม่มีการดำเนินการตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ฉบับลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 แล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้ เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ขอถอนเงินที่วางศาลคืน ย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้เป็นไปตามเจตนาของจำเลยที่ 1 แล้วศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดมารับเงินก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อจำหน่ายเข้าข่ายความผิดฐานผลิตยาเสพติด แม้จะเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดหลายบท
การที่จำเลยแบ่งบรรจุฝิ่นเป็นห่อเพื่อความสะดวกแก่การจำหน่าย ทำให้ยาเสพติดให้โทษนั้นแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นการกระทำที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานผลิตฝิ่นตามความหมายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 แต่เมื่อฝิ่นที่จำเลยผลิตเป็นจำนวนเดียวกับฝิ่นที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการที่จำเลยแบ่งบรรจุฝิ่นเป็นห่อก็เพื่อสะดวกในการจำหน่ายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันคดีถึงที่สุด: การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยแต่ละคนฟังแยกกันไม่กระทบผลถึงที่สุด
ขณะศาลฎีกาส่งคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำเขาบิน จังหวัดราชบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 อยู่ที่เรือนจำกลางคลองเปรม การที่ศาลชั้นต้นส่งคำพิพากษาศาลฎีกาให้ศาลจังหวัดราชบุรีอ่านให้จำเลยที่ 1 ฟังก่อน แล้วจึงอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยที่ 2 ฟัง จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยที่ 2 ฟังโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 จำเลยที่ 2 จะกล่าวอ้างว่า การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ฟัง ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้ เมื่อตาม ป.วิ.อ. มาตรา 188 บัญญัติเพียงว่า คำพิพากษามีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป โดยมิได้บัญญัติว่า คดีถึงที่สุดเมื่อใด จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 147 มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยที่ 2 ฟังเมื่อ 18 กันยายน 2555 คดีของจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยที่ 2 โดยระบุว่าคดีถึงที่สุดวันที่ 18 กันยายน 2555 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241-243/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ของประธานคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาในฐานะผู้แทนของนิติบุคคล และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน
พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 มาตรา 4 บัญญัติให้คุรุสภาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงศึกษาธิการโดย มาตรา 7 บัญญัติให้มีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธานฯลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ใช้อำนาจและปฏิบัติหน้าที่ของคุรุสภาตามมาตรา 6 เมื่อมาตรา 7 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาโดยตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่ากฎหมายประสงค์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภามีส่วนในการกำกับควบคุมและสอดส่องดูแลคุรุสภารวมทั้งองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของคุรุสภาให้ปฏิบัติการเป็นไปตามกฎหมาย และในฐานะประธานคณะกรรมการย่อมเป็นผู้แทนกระทำการใด ๆ ต่อบุคคลภายนอกรวมทั้งการแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ทุจริต เบียดบังทรัพย์สินขององค์การค้าของคุรุสภาได้ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติทั่วไปของนิติบุคคลจะพึงกระทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องประธานคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาปฏิบัติหน้าที่ของคุรุสภาตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงมีฐานะเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของคุรุสภา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ มาตรา 5 (3) จึงมีอำนาจร้องทุกข์รวมทั้งมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดตามกฎหมาย: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขความผิดพลาดแม้ไม่มีการฎีกา, ผู้รับประกันภัยรับผิดเฉพาะวงเงินตามกรมธรรม์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจรับประกันภัยวินาศภัยทุกประเภทและเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน วค 5927 กรุงเทพมหานคร เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิด จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย โดยขอให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 รับผิดไม่เกินวงเงิน 100,000 บาท ของส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 เท่ากับโต้แย้งแล้วว่ามีข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าไม่ได้เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ก็คงถือได้เพียงว่าจำเลยที่ 2 รับแล้วว่าเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งความรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
กรมธรรม์ภาคสมัครใจที่จำเลยที่ 2 ส่งมาตามคำสั่งเรียกและโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานระบุความรับผิดในเรื่องความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. 100,000 บาทต่อคน อันเป็นการกำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ในความเสียหายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย ซึ่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน 2546 ข้อ 3 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อคนดังต่อไปนี้ (1) ห้าหมื่นบาทต่อคน สำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยนอกจากกรณีตาม (2) และ (2) หนึ่งแสนบาทต่อคน สำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ...... (ช) ทุพพลภาพอย่างถาวร โจทก์เบิกความเพียงว่าสภาพร่างกายของโจทก์ไม่สามารถกลับไปประกอบอาชีพเสริมสวยได้เหมือนเดิม โดยไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็นว่าอาการบาดเจ็บที่โจทก์ได้รับนั้นรุนแรงหรือส่งผลถึงขนาดไม่สามารถประกอบอาชีพเสริมสวยที่ทำประจำอยู่ได้โดยสิ้นเชิงอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพอย่างถาวร ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงมีเพียง 50,000 บาท เมื่อรวมกับความรับผิดในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย 100,000 บาท และความรับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งมีวงเงิน 1,000,000 บาทต่อครั้ง ตามกรมธรรม์ภาคสมัครใจที่โจทก์ต้องเสียค่าซ่อมรถจักรยานยนต์โดยศาลชั้นต้นกำหนดให้ 2,385 บาทแล้ว รวมเป็นเงิน 152,385 บาท ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 รับผิดเต็มตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา และโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันทำละเมิด แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุนมีความผูกพันต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่ต้องรับผิด ไม่ได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด เมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เมื่อใด จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปัญหาเรื่องการกำหนดความรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกง – การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและเบิกความแยกการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาเป็น 3 วัน แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและเบิกความว่าจำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ขอให้ช่วยเหลือทางการเงินแก่จำเลยที่ 2 ในการนำเงินที่จำเลยที่ 2 ร่วมลงทุนค้าทองคำและอัญมณีกับสมาคมพ่อค้าจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามายังประเทศไทย เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่มีค่าดำเนินการ แล้วจำเลยที่ 2 จะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นจำนวนเงินที่สูงกว่า โจทก์หลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับไปเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 และวันที่ 27 มิถุนายน 2555 จำนวน 2,500,000 บาท 1,300,000 บาท และ 152,000 บาท ตามลำดับ การที่โจทก์โอนเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในแต่ละครั้งเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 หลอกลวงให้โจทก์ช่วยเหลือทางการเงินแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำต่อเนื่องกันด้วยเจตนาอย่างเดียวเพื่อที่จะฉ้อโกงโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาเนื่องจากกรรมเดียวกัน และการพิจารณาโทษจำเลยที่กระทำผิดซ้ำ
ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จะระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง แต่ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ฐานช่วยเหลือซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม โดยมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่า ฟ้องโจทก์เป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับคดีก่อน ศาลอุทธรณ์จะหยิบปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับตามมาตรา 39 (4) จึงไม่อาจรับฟังได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: คณะอนุกรรมการมีหน้าที่รายงานความเห็นเพื่อดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ส่งตัวจำเลยไปเพื่อตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด โดยคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยมีคำสั่งให้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูแบบควบคุมตัวเข้มงวดและอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติโดยกำหนดเงื่อนไข หากสถานที่ฟื้นฟูไม่ว่างให้เข้ารับการฟื้นฟูแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวดหรือแบบไม่ควบคุมตัวในหลักสูตรสำนักงานคุมประพฤติเป็นเวลา 120 วัน โดยให้มารายงานตัวไม่น้อยกว่าเดือนละ 4 ครั้ง ฟื้นฟูตามโปรแกรมปรับตัวกลับสู่สังคมเป็นเวลา 60 วัน ให้ทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อฝึกความรับผิดชอบและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และยินยอม ให้ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดตามดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยมีคำสั่งว่าภายหลังคณะอนุกรรมการมีคำวินิจฉัยให้ขยายระยะเวลาฟื้นฟูเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 แล้วนั้น ผู้เข้ารับการฟื้นฟูมารายงานตัว 2 ครั้ง จากนั้นไม่มารายงานตัว พนักงานคุมประพฤติได้ออกหนังสือเตือน 1 ครั้ง ผู้เข้ารับการฟื้นฟูจึงมารายงานตัวอีก 2 ครั้ง จากนั้นก็ไม่มารายงานตัวอีก พนักงานคุมประพฤติจึงได้ออกหนังสือเตือนอีก 1 ครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดนัดก็ไม่มาพบ โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงมีคำวินิจฉัยว่า ผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจ ให้รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่อไปตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง จากข้อเท็จจริงดังกล่าว แสดงว่าจำเลยได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง โดยได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผน การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยครบถ้วนแล้ว ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย ได้มีคำวินิจฉัยให้ขยายระยะเวลาการฟื้นฟูจำเลยออกไปอีก แต่ภายในเวลาที่ขยายระยะเวลาการฟื้นฟู จำเลยมารายงานตัวไม่ครบแล้วไม่มารายงานตัวอีก คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย จึงมีความเห็นว่าผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจและให้รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่อไป ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้ว
เมื่อผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยจึงมีหน้าที่รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีต่อไปตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15643/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องคดีล้มละลาย: ผลต่อการสะดุดหยุดอายุความ
หนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 และ 193/32 เมื่อปรากฏว่าก่อนครบระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ เจ้าหนี้นำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไปรวมกับหนี้อื่นฟ้องลูกหนี้และลูกหนี้ร่วมรายอื่นเป็นคดีล้มละลาย จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) มีผลทำให้อายุความตามสิทธิเรียกร้องสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้คดีดังกล่าวไว้เด็ดขาด ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลว่าลูกหนี้เคยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้คดีดังกล่าวไว้เด็ดขาด จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ วันที่ 30 สิงหาคม 2553 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีลูกหนี้ออกจากสารบบความ กรณีมิใช่คดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง ที่จะให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ดังนั้น การที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งดังกล่าวมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ในวันที่ 6 มีนาคม 2552 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาหลังหักราคาขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15152/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้หลังล้มละลายผูกพันเจ้าหนี้ แม้มีการยกเลิกการล้มละลาย ย่อมต้องชำระหนี้ตามข้อตกลง
แม้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หลังล้มละลายของลูกหนี้ที่ 2 และให้ยกเลิกการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 63 แต่การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 56 ลูกหนี้ที่ 2 จึงยังคงต้องผูกพันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ตามข้อความในคำขอประนอมหนี้ ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาอุทธรณ์ของลูกหนี้ที่ 2 ในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ต่อไป
of 20