พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14086/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในคดีล้มละลาย
แม้ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ บัญญัติไว้ว่า ถ้าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันไม่ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ บสท. สั่ง โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดปังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน ให้ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันแล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวน และให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็วก็ตาม แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องได้รับโอนหนี้สินของลูกหนี้ทั้งสองซึ่งเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาจากธนาคาร ท. เจ้าหนี้เดิมในมูลหนี้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ซึ่งผู้ร้องไม่มีหลักฐานแห่งหนี้มาแสดง โดยขอนำเสนอในชั้นไต่สวนคำร้อง ประกอบกับคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสองเด็ดขาดย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่และเสรีภาพของลูกหนี้ทั้งสองโดยตรง อีกทั้งบทบัญญัติของมาตรา 58 วรรคสี่ ดังกล่าว มิได้บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด โดยห้ามมิให้ศาลไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง จึงสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่แน่ชัดตามคำร้องก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยทันที ดังนั้น การที่ศาลล้มละลายกลางทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "คดีล้มละลาย" หมายความว่า คดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย..." ซึ่งนอกจากคดีที่ฟ้องหรือร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้วยังหมายความรวมถึงการร้องขอให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันล้มละลายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 14 บัญญัติให้ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายโดยกระบวนพิจารณาในศาลล้มละลายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายตามมาตรา 19 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง...มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ที่กำหนดให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำสืบและการรับฟังพยานเอกสารไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 90 และมาตรา 93 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และการอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น แต่ผู้ร้องนำสืบอ้างส่งเอกสารแห่งหนี้เป็นสำเนาเอกสารโดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่ลูกหนี้ทั้งสองก่อนวันสืบพยานและส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล ทั้งการที่ผู้ร้องแถลงต่อศาลว่าต้นฉบับเอกสารอยู่ที่เจ้าหนี้เดิม ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 93 (1) ถึง (3) ที่จะให้รับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับเอกสารได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "คดีล้มละลาย" หมายความว่า คดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย..." ซึ่งนอกจากคดีที่ฟ้องหรือร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้วยังหมายความรวมถึงการร้องขอให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันล้มละลายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 14 บัญญัติให้ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายโดยกระบวนพิจารณาในศาลล้มละลายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายตามมาตรา 19 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง...มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ที่กำหนดให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำสืบและการรับฟังพยานเอกสารไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 90 และมาตรา 93 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และการอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น แต่ผู้ร้องนำสืบอ้างส่งเอกสารแห่งหนี้เป็นสำเนาเอกสารโดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่ลูกหนี้ทั้งสองก่อนวันสืบพยานและส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล ทั้งการที่ผู้ร้องแถลงต่อศาลว่าต้นฉบับเอกสารอยู่ที่เจ้าหนี้เดิม ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 93 (1) ถึง (3) ที่จะให้รับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับเอกสารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13947/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง: การออกข้อกำหนดห้ามเสพยาเสพติดให้โทษต้องครอบคลุมเฮโรอีนหรือไม่
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มิใช่ครอบคลุมเฉพาะกรณีวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพเฮโรอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13908/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่า โดยพิจารณาเจตนาและขอบเขตการใช้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ก่อให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันฆ่า ส. ผู้เสียหายและ อ. ผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต่อมา จำเลยที่ 1 กับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายและผู้ตายหลายนัดโดยเจตนาฆ่าและโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเนื่องจากถูกใช้ จ้าง วาน ยุยงส่งเสริมจากจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายและผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ขัดแย้งกับผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 มอบอาวุธปืนและบอกให้จำเลยที่ 1 สั่งสอนผู้เสียหาย การมอบอาวุธปืนมีกระสุนปืนหลายนัดให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าให้จำเลยที่ 1 สั่งสอนผู้เสียหายโดยใช้ปืนยิงและย่อมเล็งเห็นได้ว่าหากผู้เสียหายไม่ตายก็ย่อมได้รับบาดเจ็บจากบาดแผลกระสุนปืน จึงเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำตามที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้และรับโทษเสมือนตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 289 (4), 80 ประกอบมาตรา 84 วรรคสอง และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 2 ไม่เคยรู้จัก ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 ไปสั่งสอนผู้เสียหายให้เข็ดหลาบ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ทราบเหตุการณ์ที่ผู้เสียหายนัดหมายผู้ตายมารับเพื่อเดินทางกลับบ้าน ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดตามผู้เสียหายและผู้ตายไป ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 2 ไม่อาจคาดหมายว่าจำเลยที่ 1 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายด้วย การที่จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นการกระทำเกินขอบเขตที่ใช้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาก่อให้จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตาย เมื่อตามฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ทางพิจารณาโจทก์สืบไม่สมฟ้องในความผิดฐานดังกล่าว จึงต้องยกฟ้องในข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13702/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด ต้องพิจารณาคดีถึงที่สุดก่อน หากคดีก่อนยกฟ้อง การเพิ่มโทษจึงไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมีกำหนด 3 ปี 6 เดือน และปรับ 200,000 บาท ฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1800/2551 ของศาลจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จำเลยได้กระทำความผิดในคดีก่อนนั้นในขณะที่มีอายุเกินกว่าสิบแปดปี จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้วภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ จำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีก และจำเลยให้การรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษตามฟ้องจริง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2557 และสำเนาคำพิพากษาของศาลจังหวัดปทุมธานีท้ายรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวว่า คดีที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าร่วมกับ อ. จำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1800/2551 ของศาลจังหวัดปทุมธานี มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น จำเลยถูกฟ้องแยกเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1322/2552 ของศาลจังหวัดปทุมธานี ซึ่งศาลจังหวัดปทุมธานีพิพากษายกฟ้อง และปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดท้ายฎีกา ซึ่งโจทก์ไม่ได้แก้ฎีกาให้ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลจังหวัดปทุมธานีและคดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ จำเลยจึงมิใช่ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและกระทำความผิดคดีนี้ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ จึงเพิ่มโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13650/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือในการบรรจุแต่งตั้ง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
แม้ก่อนบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าทำงานในเทศบาลตำบลหนองปล่อง จำเลยจะมิได้เกี่ยวข้องหรือมีอำนาจหน้าที่ในการสอบคัดเลือก ควบคุมการสอบ การตรวจข้อสอบ และการให้คะแนนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีอำนาจออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลหรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 23 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 15 การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยเรียกเงินและรับเงินจำนวน 330,000 บาท จาก ป. เพื่อช่วยเหลือให้ น. บุตร ป. เข้าทำงานเป็นพนักงานเทศบาลตำบลหนองปล่อง จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลตำบลหนองปล่องเรียกและรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบแล้วกระทำการในตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือ น. ให้เข้าทำงานเป็นพนักงานเทศบาลตำบลหนองปล่อง อันเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ครบองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13648/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ามนุษย์โดยการบังคับใช้แรงงาน: การกระทำต้องครบองค์ประกอบความผิด - ข่มขืนใจ, ใช้กำลัง, หรือทำให้ไม่อาจขัดขืนได้
แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยจัดให้ผู้เสียหายอยู่อาศัยและไม่ให้ผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า นับแต่วันแรกที่ผู้เสียหายทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่ผู้เสียหายทำงานกับจำเลยครบ 7 เดือน จำเลยได้กระทำการใดอันเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทำงานโดยทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหาย โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้แต่อย่างใด คงได้ความแต่เพียงว่า จำเลยให้ผู้เสียหายทำงานตั้งแต่เวลา 4 นาฬิกา จนถึง 24 นาฬิกา ให้รับประทานอาหาร 2 มื้อ และไม่จ่ายเงินเดือนให้ผู้เสียหายเท่านั้น ส่วนการทำงานเดือนที่ 8 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เหตุที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายมาจากผู้เสียหายทำงานไม่เรียบร้อยและพูดขอเงินค่าจ้างจากจำเลย อันเป็นการลงโทษผู้เสียหายเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายทำงานให้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12851/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขายสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย การโอนสิทธิเรียกร้องมีผลผูกพันคู่สัญญา
เมื่อบริษัท ธ. ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของบริษัท ธ. ที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้จึงเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้หาใช่เป็นการซื้อขายความไม่ การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12851/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายได้ตามกฎหมาย
เมื่อบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของบริษัท ธ. ที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้จึงเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้หาใช่เป็นการซื้อขายความไม่ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องได้จากการขายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และฝ่ายจำเลยผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12379/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ ต้องบอกกล่าวการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 หากไม่มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทน
แม้โจทก์จะรับโอนสิทธิเรียกร้องในคดีนี้ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และโจทก์ไม่จำต้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งก่อนฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม แต่ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ หากบริษัทบริหารสินทรัพย์มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งเมื่อพิจารณาสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้วไม่ปรากฏว่า ในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างธนาคาร ท. กับโจทก์ในคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ธนาคารเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้แต่อย่างใด การโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงว่าได้มีการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12379/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 ที่มีผลต่ออำนาจฟ้องคดีล้มละลาย
แม้โจทก์จะรับโอนสิทธิเรียกร้องนี้ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และโจทก์ไม่จำต้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งก่อนฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม แต่ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ หากบริษัทบริหารสินทรัพย์มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นอันชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ." ซึ่งสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ไม่ปรากฏว่า ในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างธนาคาร ท. กับโจทก์ในคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ธนาคาร ท. เป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้แต่อย่างใด ดังนี้ การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงว่าได้มีการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง