พบผลลัพธ์ทั้งหมด 453 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาดูแลนักเรียนต่างประเทศ, ค่าเล่าเรียน, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, อัตราแลกเปลี่ยน, การคิดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาตกลงยินยอมเป็นนักเรียนในความดูแลของโจทก์ตามสัญญาเป็นนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. มีจำเลยที่ 2 บิดาและ ก. มารดาทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 อยู่ในความดูแลของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาให้จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสถานศึกษาและยินยอมที่จะจัดส่งค่าใช้จ่ายตามที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายแทนไปก่อน จำเลยที่ 1 ได้เข้าเรียนในประเทศอังกฤษ เมื่อปิดการศึกษา จำเลยที่ 1 เดินทางกลับประเทศไทย และรายงานตัวต่อโจทก์ ที่สำนักงานประเทศไทยว่าจะกลับไปเรียนต่อ ต่อมา ก. ได้ทำบันทึกถึงโจทก์ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายโรงเรียน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองทำหนังสือแจ้งยกเลิกการไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษถึงโจทก์ โจทก์ได้ชำระค่าเล่าเรียนแทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว และระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยทั้งสองได้เบิกค่าใช้จ่ายให้โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อนด้วย ดังนั้น เมื่อสัญญาเป็นนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. และสัญญาฝากและออกค่าใช้จ่ายที่จำเลยทั้งสองทำไว้กับโจทก์ระบุว่า กรณีผิดนัดชำระหนี้ให้โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาดังกล่าว กรณีนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน: การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ใช่เบี้ยปรับ
ตามสัญญากู้เงินข้อ 1 นะบุว่า ในระยะ 3 ปีแรกนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน โจทก์มึสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราคงที่หลังจากนั้นโจทก์จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด ตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ให้สิทธิโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น 3 ปี ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดแล้ว โจทก์จึงปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นร้อยละ 13.50 ต่อปี อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ซึ่งหากจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ยังไม่มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในขณะนั้นได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นจึงมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลนิตินัยตามปกติ แต่มีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงจึงชอบด้วยมาตรา 383
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานแล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับ เป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานแล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับ เป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดเป็นเบี้ยปรับได้ ศาลลดเบี้ยปรับได้ตามความเหมาะสม และการฟ้องหนี้อนาคตทำไม่ได้
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ 3 ปี หลังจากนั้นโจทก์จึงจะมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าจำเลยผิดนัดเมื่อใดให้สิทธิโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น 3 ปี โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 13.50 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดนัดซึ่งเป็นเวลา 1 ปีเศษ นับแต่วันทำสัญญากู้เงินอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงิน ซึ่งหากจำเลยไม่ผิดนัด โจทก์ยังไม่มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในขณะนั้นได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น จึงมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลนิตินัยตามปกติ แต่มีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์ส่งเป็นพยาน แล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้องหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์ส่งเป็นพยาน แล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้องหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญา L/C และการมอบอำนาจบอกกล่าวบังคับจำนอง
จำเลยที่ 1 ทำคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อโจทก์เพื่อสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท น. ผู้ขายในประเทศญี่ปุ่น โดยให้ผู้ขายเรียกเก็บค่าสินค้าจากสาขาหรือตัวแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ตกลงใช้เงินคืนให้แก่โจทก์โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บ เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลย ในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัด ซึ่งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าฐานผิดสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อเบี้ยปรับในรูปดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 นั้นเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน โดยเมื่อคำนึงถึงทางได้เสียของธนาคารโจทก์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรให้ลดลงตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 โดยให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ลดลงจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่เก็บจากลูกค้าทั่วไป ตามประกาศธนาคารโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 โดยปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามประกาศธนาคารโจทก์
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้" บทบัญญัติมาตรา 728 ดังกล่าวหาได้มีลักษณะให้การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการที่ผู้รับจำนองต้องทำเองเฉพาะตัวไม่ เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ลูกหนี้แทนโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวไว้ตามใบไปรษณีย์ตอบรับแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบด้วยบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้" บทบัญญัติมาตรา 728 ดังกล่าวหาได้มีลักษณะให้การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการที่ผู้รับจำนองต้องทำเองเฉพาะตัวไม่ เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ลูกหนี้แทนโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวไว้ตามใบไปรษณีย์ตอบรับแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบด้วยบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญาแล้ว โจทก์เรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระไม่ได้ แต่เรียกค่าเสียหายตามกฎหมายได้ ข้อตกลงพิเศษไม่ขัดกฎหมาย
โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องจากการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม วรรคสี่ และในกรณีนี้ มาตรา 574 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่า แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นข้อตกลงที่แตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ก็มิใช่บทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลใช้บังคับแก่กันได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 151 และเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว โจทก์เรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระไม่ได้ คงเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มิสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ โจทก์คงเรียกได้แต่เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องจากการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม วรรคสี่ และในกรณีนี้มาตรา 574 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าซื้อเท่านั้น
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยมีข้อความระบุว่า "แม้สัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ" ข้อสัญญาเช่นว่านี้ จึงเป็นข้อตกลงที่แตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องเช่าซื้อ แต่ก็มิใช่เป็นกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลใช้บังคับแก่กันได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 และเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 379
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยมีข้อความระบุว่า "แม้สัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ" ข้อสัญญาเช่นว่านี้ จึงเป็นข้อตกลงที่แตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องเช่าซื้อ แต่ก็มิใช่เป็นกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลใช้บังคับแก่กันได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 และเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแต่งตั้งผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน: ความรับผิดทางสัญญาและค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาแต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตกลงว่าจำเลยทั้งสองต้องผูกพันการขายน้ำมันเชื้อเพลิงต่อโจทก์ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 ลิตร ถ้าขายต่ำกว่านั้นต้องเสียค่าปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 25 สตางค์ต่อลิตร หลังทำสัญญาจำเลยทั้งสองประพฤติผิดสัญญาคือสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึงยอดรับรองที่ตกลงกันไว้ และปลายปี 2541 จำเลยทั้งสองไม่ได้สั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ยังเปิดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรื่อยมาโดยสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้ค้ารายอื่นมาจำหน่ายแทน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดว่าจำเลยทั้งสองยังประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็มี ธ. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดมาเบิกความยืนยันว่า การสำรองน้ำมันของโจทก์จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละราย โดยโจทก์ต้องสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งจากในและต่างประเทศมาสำรองไว้ ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึงยอดที่ตกลงไว้โจทก์จะได้รับความเสียหาย ฝ่ายจำเลยทั้งสองไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมทำสัญญาว่าถ้าสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ต่ำกว่า 70,000 ลิตรต่อเดือน ยอมเสียค่าปรับ 25 สตางค์ต่อลิตร แสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้อยู่ว่าถ้าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าฐานผิดสัญญาส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงิน ไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลแก้ไขดอกเบี้ยตามสัญญา
สัญญากู้เงินระบุข้อตกลงว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคารฯ โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ครบถ้วน ไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม และมิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าหากไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ทางปฏิบัติโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และได้ปรับอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้ง ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราที่กำหนดไว้ตามสัญญากลายเป็นเบี้ยปรับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังผิดนัดชำระหนี้ และหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัยหลังฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้โดยละเอียดชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นภายหลังจากจำเลยทั้งสามผิดนัดชำระหนี้ ข้อตกลงที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้แม้จะอยู่ในระยะเวลาที่ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราคงที่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าทำนองเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงคำพิพากษาศาลชั้นต้นตรงต่อศาลฎีกาไม่อาจหักล้างเหตุแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นได้และไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมายเห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อที่เป็นสาระแก่คดีที่ไม่ควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญาไม่เป็นเบี้ยปรับ แม้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินระบุไว้ชัดเจนว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าหากไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรจึงไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ทางปฏิบัติโจทก์จะยอมผ่อนผันให้โดยคิดดอกเบี้ยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ตกลงกันไว้ และต่อมาโจทก์ได้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งจนครั้งสุดท้ายจากอัตราร้อยละ 6 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญญากลายเป็นเบี้ยปรับไป