พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดฐานออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 4แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คแลกเงินสด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อไป ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค พ.ศ. 2534 หากไม่มีหนี้สินเดิม
ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497การออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จะต้องปรากฏว่าผู้ออกเช็คกับผู้รับเช็คมีหนี้ต่อกันแล้วผู้ออกเช็คได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้ผู้รับเช็ค แต่ขณะที่จำเลยออกเช็คและนำไปแลกรับเงินสดจากโจทก์นั้นเป็นเพียงนำเช็คไปก่อหนี้ด้วยการแลกรับเอาเงินสดจากโจทก์ ไม่ใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่แล้วให้แก่โจทก์ การออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังจำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และผลต่อความผิดฐานออกเช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 แต่ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 3 ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ" ดังนั้น การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินยืมที่มีอยู่จริง แต่ไม่ปรากฏว่าการยืมเงินของจำเลยทั้งสองตามเช็คพิพาทแต่ละฉบับซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ยืม หนี้เงินยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเดิมเป็นความผิดจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิมเกิดขึ้นก่อน
จำเลยออกเช็คพิพาทแลกเงินสดจาก ว.ต่อมาว. นำเช็คดังกล่าวไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วม การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คจำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีหนี้สินระหว่างกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดแต่ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ" ดังนั้นการออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องปรากฏในเบื้องแรกว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระก่อน แล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจาก ว. ก่อนออกเช็คจำเลยและว. หาได้มีหนี้ต่อกันไม่ การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.ราคาสินค้าฯ การออกประกาศแก้ไขหลักเกณฑ์ความผิดไม่ยกเลิกความผิดที่กระทำสำเร็จแล้ว
การกระทำที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 43 คือการฝ่าฝืนประกาศที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดใช้อำนาจประกาศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ประกาศดังกล่าวเป็นการกำหนดรายละเอียดของการกระทำที่ถือว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการฝ่าฝืน อันเป็นการกำหนดรายละเอียดในส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ของความผิด มิใช่กำหนดหลักเกณฑ์แห่งความผิดตามมาตรา 43 เมื่อคณะกรรมการฯ ออกประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528แล้ว จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนความในข้อ 5 ของประกาศนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 43 แม้ต่อมามีประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528ก็เป็นเพียงการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดมิใช่เป็นการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำที่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยที่ 2จึงมิใช่ผู้ที่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าฯ การยกเลิกรายละเอียดหลักเกณฑ์ความผิด ไม่ทำให้ความผิดสำเร็จก่อนหน้านั้นพ้นผิด
การกระทำที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 43คือ การฝ่าฝืนประกาศที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดใช้อำนาจประกาศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 เมื่อคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดอาศัยอำนาจตามมาตรา 24(3)(4)(5) ออกประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528แล้ว จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนประกาศดังกล่าว ย่อมมีความผิดตามมาตรา 43 ส่วนประกาศดังกล่าวข้อ 5 เป็นการกำหนดรายละเอียดของการกระทำที่จะถือว่าอย่างไรเป็นการฝ่าฝืน ซึ่งเป็นการกำหนดรายละเอียดในส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ของความผิด ไม่ใช่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์แห่งความผิดตามมาตรา 43 การที่ต่อมาได้มีประกาศฉบับที่ 101 พ.ศ. 2529 ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศดังกล่าวจึงเป็นการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิด ไม่ใช่เป็นการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าประกาศฉบับที่ 101 เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำที่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกาศควบคุมราคาสินค้า ไม่กระทบความผิดที่เกิดขึ้นก่อนการยกเลิก
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฉบับที่ 86 พ.ศ. 2528 ซึ่งให้ ยกเลิก ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่76 พ.ศ. 2527 เรื่อง กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิตการจำหน่ายและการป้องกันการกักตุนสินค้าควบคุม มีผลเพียงว่านับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2528 อันเป็นวันที่ประกาศฉบับที่86 พ.ศ. 2528 มีผลใช้บังคับ บุคคลซึ่งมีหน้าที่แจ้งปริมาณการจำหน่าย ปริมาณสินค้าคงเหลือและสถานที่เก็บสินค้าตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527 ก็เป็นอันไม่ต้องยื่นแบบแจ้งรายละเอียดดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกเท่านั้น จึงไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติว่า การกระทำของผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527 ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใดจึงไม่มีผลลบล้างการกระทำของ จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527ที่ออกตามความใน พ.ร.บ. กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฯซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น กรณีไม่ต้องตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีกล้องสูบฝิ่นเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลง: จำเลยพ้นผิดเนื่องจากกฎหมายใหม่ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยมีกล้องสูบฝิ่นไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น ดังกล่าวแล้วใช้ความใหม่แทน และไม่ได้บัญญัติให้การมีกล้องสูบฝิ่นเป็นความผิด การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิดจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ดังนี้ จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษอาญาจากคำสั่ง คปถ. กรณีครอบครองอาวุธสงคราม และการมอบอาวุธตามคำสั่ง
จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในความครอบครองแต่ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2519 สั่งให้ผู้ที่มีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในความครอบครองนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2519 โดยผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ไม่ต้องรับโทษจึงต้องถือว่าในระหว่างระยะเวลานี้กฎหมายได้ยกเว้นโทษให้แก่ผู้มีอาวุธปืน และกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในความครอบครองแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ