คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีมิใช่อายุความ การผ่อนชำระหนี้หลังหมดอายุบังคับคดีไม่ถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กำหนดเวลาบังคับคดีเป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ ไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 มาใช้บังคับกับหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยที่ทำถึงโจทก์ภายหลังที่ล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีแล้วนั้นได้หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ จำเลยไม่ต้องรับผิดตามหนังสือดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างช่างฝีมือ: การสะดุดหยุด และการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะเวลาเริ่มนับใหม่
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ตกแต่ง จัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบแล้ว แต่มีงานที่ต้องซ่อมแซมอีกเล็กน้อย ส่วนจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างเกือบครบแล้ว โดยตกลงกันให้ชำระเงินที่ค้าง เมื่อโจทก์ซ่อมแซมงานดังกล่าวเสร็จ กรณีจึงเข้าลักษณะโจทก์ผู้เป็นช่างฝีมือเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจากจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ฉะนั้น ต้องเริ่มนับอายุความ ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วน อายุความย่อม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) การนับระยะเวลาจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2534 และครบ 2 ปี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 23 กันยายน 2537 คดีจึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2536 อันเป็นระยะเวลาก่อนโจทก์ฟ้องซึ่งคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือทักท้วงโจทก์ว่า ยอดหนี้รายพิพาทที่โจทก์ทวงถามมานั้นไม่ถูกต้อง อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2537 จำเลยที่ 1 ยังมีหนังสือแจ้งขอให้โจทก์ลดเงินที่ค้างลงอีก 30,000 บาท และขอให้โจทก์ไปซ่อมแซมงานในส่วนที่ค้างอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังเป็นหนี้โจทก์อยู่ อันเป็นการรับสภาพความรับผิดซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ดั้งนั้น เมื่อนับจากวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวถึงวันฟ้อง ไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยัง ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 5 ปี ก็ตาม
หนังสือสัญญารับสภาพหนี้มีข้อความระบุว่า"ถ้าหากนายพิลาไชยพร (จำเลยที่ 1) นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่นายวิจิตร (โจทก์) เสร็จสิ้นภายในวันที่25 มีนาคม 2536 นายวิจิตรจะไม่ขอคิดดอกเบี้ยแม้แต่บาทเดียวแต่ถ้าผิดนัด นายพิลาไชยพร จะต้องรับผิดตามสัญญาเดิมคือดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อถูกฟ้องศาลบังคับคดีตามฟ้องข้าพเจ้า นายพิลาไชยพร พอใจตามข้อตกลงนี้ จึงได้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยาน" ดังนี้ แม้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 แต่กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้สละประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 193/24 จำเลยที่ 1ไม่อาจอ้างอายุความมาเป็นข้อตัดฟ้องเพื่อปฏิเสธความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี2534ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่3กันยายนปีเดียวกันการที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14วรรคหนึ่งอนุมาตรา1เท่านั้นหาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา193/24อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้วแม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่3กันยายน2534นั้นเองจึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา193/15วรรคสองเมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่29มิถุนายน2537ซึ่งเป็นวันฟ้องพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา448วรรคหนึ่งและเนื่องจากจำเลยที่2ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ตามมาตรา193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่1จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่2ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการนับอายุความใหม่
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี 2534 ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว ก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา 1 เท่านั้นหาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24 อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว แม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่ 3 กันยายน 2534 นั้นเอง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2537 ซึ่งเป็นวันฟ้อง พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามมาตรา 193/29
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี 2534 ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว ก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งอนุมาตรา 1 เท่านั้น หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24 อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว แม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่ 3 กันยายน2534 นั้นเอง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2537 ซึ่งเป็นวันฟ้อง พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามมาตรา 193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ, การร่วมกันจัดสรรที่ดิน, หน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่7808และ8282ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/9จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30 ตามมาตรา193/12บัญญัติว่าอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปการเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี2516และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23มิถุนายน2535คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้วโจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใดตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่1เมื่อวันที่20มีนาคม2535จำเลยที่1ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่2และที่3มีใจความว่าจำเลยที่1ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน2แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่1จึงขอให้จำเลยที่2และที่3ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไปซึ่งจำเลยที่2และที่3ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่1ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใดตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/24แล้วจำเลยที่2และที่3จึงไม่อายยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยที่1ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่2และที่3และมีข้อตกลงให้จำเลยที่2และที่3เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรรแล้วจำเลยที่1จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่1ครบถ้วนแล้วจำเลยที่1จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่2และที่3แล้วจำเลยที่2และที่3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อพฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ได้ร่วมกับจำเลยที่2และที่3จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกโดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่1กล่าวอ้างแต่อย่างใดจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2และที่3ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่1มีจำเลยที่2และที่3ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่1ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจำเลยที่1ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่2และที่3ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อแต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่1ว่ามีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริงจึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา118 ที่จำเลยที่2และที่3แก้ฎีกาว่าจำเลยที่1มิใช่เจ้าของที่ดินไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดีโจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดีเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งอายุความ, ความรับผิดร่วมในการจัดสรรที่ดิน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 7804 และ 8282 ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว การฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป การเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2516 และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23 มิถุนายน 2535 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใด ตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน 2 แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่ 1 ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใด ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา193/24 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรร แล้วจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อ พฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก โดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ แต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว แม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่ 1 ว่า มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริง จึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดี โจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดี เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช่าซื้อ, การรับสภาพหนี้, และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
มูลหนี้เดิมเป็นหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) เดิมนับตั้งแต่วันครบกำหนดแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้ออันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ คืออย่างช้าวันที่ 1 ธันวาคม 2529 และเมื่อนับจนถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2533อันเป็นวันทำสัญญารับสภาพหนี้เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้วหนี้ค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อจึงขาดอายุความลูกหนี้ไม่อาจทำสัญญารับสภาพหนี้ได้ เพราะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ลูกหนี้ จะทำหนังสือรับสภาพหนี้ได้ก่อนอายุความครบบริบูรณ์เท่านั้น แต่การที่ลูกหนี้จะทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้พอถือได้ว่า เป็นเรื่องที่ลูกหนี้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความและรับสภาพ ความรับผิดโดยสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 วรรคสามและมาตรา 192 วรรคหนึ่ง เดิม เนื่องจากขณะทำสัญญาดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ซึ่งบัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือมีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดยังไม่ใช้บังคับ สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ และแม้หากต้องถืออายุความตามสัญญาเช่าซื้ออันเป็นมูลหนี้เดิมคือ 2 ปี เมื่อนับจากวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังที่ระบุไว้ในสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสัญญาดังกล่าวในวันที่ 16 ตุลาคม 2535 แล้ว ไม่เกินกำหนด2 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละอายุความด้วยการผ่อนผันหนี้และแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ ทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญาใหม่
หลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความแล้วจำเลยทำหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ถึงโจทก์แจ้งว่าตามที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยยินยอมชำระหนี้ให้โจทก์โดยการผ่อนชำระและจำเลยยอมสละประโยชน์แห่งอายุความของสิทธิเรียกร้องดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 แม้หนังสือดังกล่าวจะมีข้อความว่าจำเลยขอแปลงหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหนี้เงินกู้โดยขอให้งดคิดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ใหม่ไว้1ปีด้วยก็ตามแต่ก็มิได้มีข้อกำหนดว่าหากโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอดังกล่าวแล้วจะมีผลอย่างไรการที่โจทก์ไม่ตกลงด้วยในการงดคิดดอกเบี้ยจึงไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนาสละประโยชน์แห่งอายุความของจำเลย จำเลยทำหนังสือสัญญาแปลงหนี้จากหนี้เดิมตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหนี้เงินกู้แม้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจะขาดอายุความแล้วแต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมีหนี้เดิมต่อกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญากู้ที่แปลงหนี้มาก็ย่อมมีมูลหนี้โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันกันตามหนังสือสัญญาแปลงหนี้ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยตกลงกับโจทก์แปลงมาจากหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือแปลงหนี้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นเมื่อโจทก์เรียกร้องจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน
of 7