คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถทิ้งไว้ในสถานที่ของผู้อื่น และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้เกิดความรับผิดในฐานะผู้ละเมิด
การที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมไปรับรถยนต์พิพาทคืนทั้งที่อยู่ในวิสัยที่คาดหมายได้ว่า โจทก์ไม่ดำเนินการซ่อมระบบเบรกรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองอย่างแน่นอน โดยยังคงจอดรถยนต์พิพาททิ้งไว้บริเวณศูนย์บริการของโจทก์มาเป็นเวลาหลายปี ย่อมถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการที่จะใช้ประโยชน์ในสถานที่ที่จำเลยทั้งสองจอดรถยนต์พิพาททิ้งไว้ การที่โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับรถยนต์พิพาทกลับคืนไปและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองไม่ยอมรับรถยนต์พิพาทคืนทั้งที่โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองไปรับรถยนต์พิพาทคืนแล้ว และยังฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการจอดรถยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลานานนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการทำละเมิดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์พิพาทไปจอดไว้ที่ศูนย์บริการของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เป็นรายวัน สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายส่วนที่เกิน 1 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนไปจึงย่อมขาดอายุความ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเสียหาย 1 ปี ย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่โจทก์ฟ้องคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาหลายแห่ง: ฟ้องจำเลยได้ตามภูมิลำเนาใดก็ได้ แม้ภูมิลำเนาตามทะเบียนไม่ตรง
แม้จำเลยที่ 2 มีบ้านพักอาศัยอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีและได้แจ้งย้ายออกจากบ้านหลังดังกล่าวแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้แจ้งย้ายเข้าที่ใด แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 41 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ธ. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ที่ทำการบริษัทดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานที่สำคัญอันเป็นถิ่นที่อยู่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาหลายแห่ง โจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ยังภูมิลำเนาแห่งใดก็ได้ และถึงแม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีภูมิลำเนาและมูลคดีไม่ได้เกิดในเขตอำนาจศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์และขณะยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ยังศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ประกอบมาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11216/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกกรณีเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาต่างกัน และมีทรัพย์สินร่วมกัน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกสามราย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย" แต่เจ้ามรดกทั้งสามรายมีภูมิลำเนาต่างท้องที่กัน ตามมาตรา 5 บัญญัติว่า "คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นได้" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่จะพิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องย่อมมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายต่อศาลชั้นต้นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11216/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีทรัพย์สินร่วมกันและภูมิลำเนาต่างกัน
ถ. และ บ. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นศาลชั้นต้นในขณะที่ถึงแก่ความตาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของบุคคลทั้งสองไว้แล้วทำการไต่สวนตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. และ บ. จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่งแล้ว ส่วนคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. เจ้ามรดกอีกคนหนึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะรับไว้พิจารณาเนื่องจาก ผ. มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่จังหวัดสมุทรสาครในขณะถึงแก่ความตายนั้น แม้ผู้ร้องอาจใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. เป็นอีกคดีหนึ่งได้ที่ศาลชั้นต้นแห่งอื่น อันเป็นศาลที่ ผ. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายก็ตาม แต่กรณีก็ต้องปรับด้วย มาตรา 5 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อเจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกันคือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่จะพิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องย่อมมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. ต่อศาลชั้นต้นได้โดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว: คดีลาภมิควรได้เกี่ยวข้องทรัพย์สินผู้เยาว์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะขายที่ดินคืนจากจำเลยทั้งสองฐานลาภมิควรได้โดยอ้างว่าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์มีคำพิพากษาว่า สัญญาจะขายที่ดินเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 ให้การว่าสัญญาจะขายที่ดินไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะ ส. ร. และจำเลยที่ 2 คบคิดหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ไปวางเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้แล้วทำสัญญาจะขายที่ดินกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินตามสัญญา โจทก์เข้าทำสัญญาทั้งที่รู้ว่าไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพราะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 1 คืนเงินฐานลาภมิควรได้ โดยอ้างผลสืบเนื่องจากคำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์ที่พิพากษาว่า สัญญาจะขายที่ดินเป็นโมฆะ จึงเป็นคำขอให้บังคับเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ขณะทำสัญญา อันเป็นการฟ้องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์ซึ่งจะต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 21 แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ว่าด้วยความสามารถ ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีครอบครัวที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)
จำเลยที่ 2 แม้มิได้เป็นผู้เยาว์ แต่โจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระเงินคืนโจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องในส่วนจำเลยที่ 2 ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8638/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ แม้หนังสือมอบอำนาจจะระบุศาลอื่น
เขตอำนาจศาลที่จะรับคำฟ้องย่อมเป็นไปตามสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาลด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 2 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันระบุว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญากันที่สำนักงานของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ทั้งตามสัญญาเช่าซื้อยังระบุว่า คู่สัญญาตกลงกันว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญานี้ก็ให้เสนอคดีต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลชั้นต้นคดีนี้ อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลจังหวัดนนทบุรีต่างมีเขตอำนาจในคดีนี้ แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นศาลที่จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจ แต่เมื่อศาลชั้นต้นเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในคดีนี้ด้วย ย่อมไม่จำกัดสิทธิของผู้รับมอบอำนาจที่จะฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลชั้นต้นที่คดีอยู่ในเขตอำนาจอีกศาลหนึ่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15208/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกภาพสิ้นสุดเพราะเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกม. ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ
การเสนอคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ คำว่า "มูลคดีเกิด" หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์อนุมัติจ่ายเงินให้แก่จำเลย เนื่องจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ณ ที่ทำการของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่ในเขตการเลือกตั้งจังหวัดระนองแทนจำเลยเนื่องจากจำเลยได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 โจทก์ฟ้องจำเลยคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนั้น เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องซึ่งถือว่าเป็นมูลคดีได้เกิดขึ้น ณ ที่ทำการของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ประกอบมาตรา 5
วันที่ 13 มีนาคม 2544 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยว่า ก่อนจำเลยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 เนื่องจากการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมมีผลให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงนับแต่วันมีคำสั่ง ตามมาตรา 96 กรณีของจำเลยจึงเป็นการออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่จำเลยได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ที่มีผลบังคับใช้ในขณะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 97 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืนได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มิใช่อายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน: อำนาจศาลขึ้นอยู่กับสถานที่ทำสัญญาและรับมอบเงิน ไม่ใช่สถานที่ถอนเงิน
คำฟ้องของโจทก์ระบุว่า จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์ จึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 653 ว่าจะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ และอยู่ในบังคับของบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) กล่าวคือโจทก์จะนำสืบพยานบุคคลหรือกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่นนอกเหนือไปจากสัญญากู้ยืมเงินหาได้ไม่ ดังนั้น ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ระบุว่าทำที่เขตกรุงเทพมหานครเป็นความเท็จ ความจริงแล้วทำที่สำนักงานของโจทก์ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่อาจนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามสัญญากู้ยืมเงินในส่วนที่ระบุถึงมูลคดีที่เกิดขึ้นตามความประสงค์ของคู่สัญญา จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
สาระสำคัญในการกู้ยืมเงินคือการส่งมอบและการทำสัญญาหรือหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่โจทก์จะเบิกหรือถอนเงินจากธนาคารใดไปให้จำเลยกู้ยืมเงิน มิใช่สาระสำคัญในการกู้ยืมเงินแต่อย่างใด และตามคำฟ้อง โจทก์ร่วมกับจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ในธนาคารที่อยู่ในท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะทำสัญญา เงินที่โจทก์โอนไปยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยเพราะโจทก์ยังมีสิทธิเบิกถอนได้ การที่จำเลยจะรับเงินที่โจทก์ให้กู้ยืมได้จะต้องไปเบิกถอนเงินจากธนาคารดังกล่าว ธนาคารดังกล่าวจึงถือว่าเป็นที่รับมอบเงินที่กู้ยืม จึงเป็นกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่เดียวกับที่จำเลยมีภูมิลำเนาในขณะทำสัญญาและที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงินว่าเป็นที่จัดทำสัญญากู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8818/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, สัญญาเช่าซื้อที่ไม่เป็นธรรม, และดุลพินิจการเรียกบุคคลภายนอกเข้าสู่คดี
แม้โจทก์จะลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อที่สำนักงานโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครก่อนแล้วจึงส่งสัญญาเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าซื้อที่จังหวัดสงขลา ก็ย่อมถือได้ว่าสำนักงานโจทก์เป็นสถานที่ที่ทำสัญญาเช่าซื้ออันเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดอีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อสำนักงานโจทก์ตั้งอยู่เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
ปัญหาว่าข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่มีใจความเพื่อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายอันเป็นการให้ประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว ย่อมตกเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ถือเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยที่ 1 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลจะต้องอนุญาตตามคำร้องขอของคู่ความในทุกกรณี ศาลย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าสมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หรือไม่เรียกเข้ามาในคดีหากจะไม่เป็นการสะดวกแก่การพิจารณา ทั้งนี้หากศาลไม่อนุญาตคู่ความที่ยื่นคำร้องก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องบุคคลภายนอกดังกล่าวต่างหากจากคดีนี้ได้ เมื่อปรากฏว่าประเด็นพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมีเฉพาะในเรื่องเช่าซื้อและค้ำประกัน การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้หมายเรียกบริษัท ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อให้ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัย จึงเป็นดุลพินิจในการสั่งคดีของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการตัวแทน ความรับผิดในสัญญาประกันภัย การรับชำระเงินล่วงหน้า และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดอันเนื่องมาจากการเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5
การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลยที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
of 5