พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ศาลมีอำนาจพิจารณายกฟ้องได้แม้โจทก์เสนอคำฟ้องโดยเข้าใจผิดเรื่องภูมิลำเนาของจำเลย
โจทก์เสนอคำฟ้องโดยระบุว่าจำเลยที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจว่าโจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ประกอบมาตรา 5 แม้ต่อมาโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 โดยภูมิลำเนาที่ขอแก้ไขใหม่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าขณะโจทก์เสนอคำฟ้องนั้นจำเลยที่ 3 มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3 อาจเปลี่ยนภูมิลำเนาภายหลังที่โจทก์เสนอคำฟ้องแล้วก็เป็นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นคดีก็ยังคงอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ปรากฏแน่ชัด จะอ้างว่าเป็นความบกพร่องของศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและไม่จำหน่ายคดีหาได้ไม่ นอกจากนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การก็ได้ยกเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องเขตอำนาจศาลที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยโดยรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นขณะโจทก์เสนอคำฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องคำนึ่งว่าโจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยสุจริตหรือไม่ เนื่องจาก ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) และมาตรา 5 มิได้บัญญัติเปิดช่องให้ศาลที่รับคำฟ้องพิจารณาถึงความสุจริตของผู้เสนอคำฟ้อง หากเป็นกรณีที่โจทก์เสนอคำฟ้องผิดเขตอำนาจศาล การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องจึงหาเป็นการไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5702/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การอนุมัติและส่งมอบเงินกู้ในเขตศาลชั้นต้น ถือเป็นมูลคดีที่เกิดในเขตอำนาจศาล
การกู้เงินตามฟ้องจำเลยได้ดำเนินการโดยยื่นคำขอใช้วงเงินสินเชื่อต่อเจ้าหน้าที่การตลาดสินเชื่อรายย่อย ซึ่งในคำขอดังกล่าวระบุให้โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร ท. สาขาสุขาภิบาล 1 โดยให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินกู้ถูกต้องนับตั้งแต่วันที่โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลย หลังจากเจ้าหน้าที่รับคำขอใช้วงเงินสินเชื่อของจำเลยแล้วก็ได้ส่งไปให้โจทก์พิจารณาที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โจทก์พิจารณาแล้วอนุมัติวงเงินกู้ให้แก่จำเลยและนำเงินกู้ไปฝากหรือโอนเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ระบุไว้โดยดำเนินการฝากหรือโอนที่ธนาคาร ท. สาขาสยามสแควร์ เห็นได้ว่า การอนุมัติวงเงินกู้ซึ่งถือว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้รายนี้ของโจทก์ได้กระทำในท้องที่เขตปทุมวันซึ่งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นคือศาลแขวงปทุมวัน ถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดในเขตศาลชั้นต้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1), 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5702/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การอนุมัติและส่งมอบเงินกู้ในเขตศาล ทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี
ในการขอกู้เงินจากบริษัทเงินทุนโจทก์ จำเลยได้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่การตลาดสินเชื่อรายย่อยของโจทก์ ซึ่งระบุให้โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร โดยให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินกู้ถูกต้องนับแต่วันที่โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลย หลังจากเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้วได้ส่งไปให้โจทก์พิจารณาที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยและนำเงินกู้ไปฝากหรือโอนเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ระบุไว้ การอนุมัติวงเงินกู้และโอนเงินกู้ซึ่งถือว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้ได้กระทำในท้องที่เขตปทุมวันซึ่งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นหรือศาลแขวงปทุมวัน ถือได้ว่ามูลคดีเกิดในเขตศาลชั้นต้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1),5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8647/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีทรัพย์สินร่วมกันและเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาต่างกัน
ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อ อ. และ ก. เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมหาสารคามอันเป็นศาลชั้นต้นในขณะที่ถึงแก่ความตายการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของบุคคลทั้งสองไว้เพื่อทำการไต่สวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ผู้ร้องอาจใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. เป็นอีกคดีหนึ่งได้ที่ศาลจังหวัดหนองคาย อันเป็นศาลที่ ป. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเบื้องต้นปรากฏจากคำร้องขอว่า เจ้ามรดกทั้งสามราย คือ อ. ก. และ ป. มีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือ ที่ดิน น.ส. 3. ซึ่งตั้งอยู่จังหวัดมหาสารคามโดยเจ้ามรดก 2 ราย คือ อ. และ ก. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดมหาสารคาม ในขณะที่ถึงแก่ความตายย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ผู้ตายต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม โดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 5 ได้
แม้ผู้ร้องอาจใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. เป็นอีกคดีหนึ่งได้ที่ศาลจังหวัดหนองคาย อันเป็นศาลที่ ป. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเบื้องต้นปรากฏจากคำร้องขอว่า เจ้ามรดกทั้งสามราย คือ อ. ก. และ ป. มีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือ ที่ดิน น.ส. 3. ซึ่งตั้งอยู่จังหวัดมหาสารคามโดยเจ้ามรดก 2 ราย คือ อ. และ ก. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดมหาสารคาม ในขณะที่ถึงแก่ความตายย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ผู้ตายต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม โดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 5 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8647/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อทรัพย์มรดกเกี่ยวข้องกับหลายศาล
อ. ก. และ ป. เจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือที่ดินน.ส. 3 ที่จังหวัดมหาสารคาม ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ อ. และ ก. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมหาสารคามในขณะที่ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 4 จัตวา และขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ซึ่งไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามมาในคำร้องเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลสัญญา 3 ฝ่าย: การติดต่อเปิดเครดิตทางโทรศัพท์/โทรสาร และการชำระหนี้แทน
จำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนร่วมกันก่อสร้างบ้านพักรับรอง จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงกับโจทก์ ณ ที่ทำการบริษัทโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง ให้โจทก์ติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างจากบริษัท ล. ในนามของโจทก์เพื่อนำไปก่อสร้างบ้านพักรับรองแล้วจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้บริษัท ล. ในนามของโจทก์หากบริษัท ล. เรียกเก็บเงินค่าสินค้าและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2สั่งซื้อไปในนามโจทก์และโจทก์ชำระเงินให้แก่บริษัท ล. ไป จำเลยที่ 2 จะชดใช้คืน จึงได้มีการติดต่อเปิดเครดิตกับบริษัท ล. โดยทางโทรศัพท์และโทรสาร ซึ่งบริษัท ล. ตกลงด้วย แม้บริษัท ล. มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ข้อตกลงในการเจรจาติดต่อเปิดเครดิตในการซื้อสินค้าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งมีคู่สัญญาสามฝ่ายคือ ฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และฝ่ายบริษัทล. โดยการทำข้อตกลงเพื่อเปิดเครดิตได้ติดต่อกันทางโทรศัพท์และโทรสารระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดลำปาง ดังนั้น มูลคดีในการก่อให้เกิดสัญญาสามฝ่ายเกี่ยวกับการทำข้อตกลงในการเปิดเครดิต จึงเกี่ยวเนื่องกันทั้งในเขตอำนาจทั้งศาลจังหวัดลำปาง และศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องจำเลยหลายคนที่มีภูมิลำเนาต่างกัน และมูลหนี้เกี่ยวข้องกัน
ในขณะที่ยื่นคำฟ้อง แม้จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร จำเลยที่ 6 และที่ 7 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งทำให้โจทก์ต้องยื่นฟ้องจำเลยที่ 3 ต่อศาลจังหวัดสมุทรสาคร และจำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 แต่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งแปดคดีนี้ เป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งแปดต้องรับผิดต่อโจทก์จึงไม่อาจแบ่งแยกกันได้ หรือมีความผิดเกี่ยวข้องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตลอดจนจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรี และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ยอมให้โจทก์เสนอ ค่าฟ้องจำเลยทั้งแปดต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวก็ได้ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ร่วมกับ จำเลยอื่นต่อศาลแพ่งธนบุรีก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาการศึกษา, การชดใช้ทุน, อายุความเงินกู้: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการบังคับสัญญาและอายุความ
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครส่วนจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการการเสนอคำฟ้องจึงต้องเสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แต่คดีนี้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างเขตอำนาจศาล โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้ตามมาตรา 5ส่วนที่สัญญาได้ระบุให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งนั้น ในขณะทำสัญญาอยู่ระหว่างการใช้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 เดิม ที่บัญญัติยอมให้คู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาลที่คู่ความระบุไว้ในสัญญาได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงชอบแล้ว ข้อกำหนดในสัญญาการรับทุนไปศึกษาและกลับมาทำงานสำหรับผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศข้อ 12 ที่ห้ามไม่ให้จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนสมรสตลอดระยะเวลาการศึกษาชั้นปริญญาเอก เมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดในสัญญาข้ออื่นเพียงแต่เป็นข้อกำหนดข้อหนึ่งในสัญญาซึ่งหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกเงินประเภทต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนไปเพื่อการศึกษาคืนเป็นจำนวน4 เท่าในทันที แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิตามสัญญาข้อดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาแยกข้อกำหนดในสัญญาข้อนี้ออกจากข้อสัญญาอื่น ๆ เป็นการแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ออกจากส่วนสมบูรณ์ ดังนั้น หนังสือสัญญาการรับทุนไปศึกษาข้ออื่น ๆ นอกจากข้อห้ามในข้อ 12จึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ต้องลงทุนเพื่อสนับสนุนบุคลากรผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศ โจทก์ย่อมมีความมั่นใจในชั้นต้นว่าผู้รับทุนจะกลับมาทำงานด้วยส่วนที่ตามสัญญาระบุระยะเวลาชดใช้ทุนต่างกันไป โดยให้ชดใช้ทุนชั้นปริญญาโท 3 เท่าแต่ชดใช้ทุนชั้นปริญญาเอก 4 เท่า ก็เนื่องจากโอกาสในการได้รับงานสถานที่อื่นหรือในต่างประเทศนั้น ผู้สำเร็จปริญญาเอกจะมีโอกาสมากกว่าผู้สำเร็จชั้นปริญญาโท ทำให้โอกาสในการผิดสัญญาของผู้รับทุนไปศึกษาชั้นปริญญาเอกมีมากขึ้นด้วยคู่สัญญาจะกำหนดระยะเวลาชดใช้ทุนมากขึ้นจากระยะเวลาชดใช้ทุนในชั้นปริญญาโทจึงมีเหตุผล การที่คู่สัญญาจะกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าดังกล่าวจึงกระทำได้ แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับลง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาโทเพียง 1 เท่าและร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาเอกเพียง 2 เท่า จึงเหมาะสมแล้ว ตามสัญญาการกลับมาทำงานได้ระบุชัดเจนว่า ระยะเวลาการชดใช้ทุน คือเวลากลับเข้าปฏิบัติงานในวิทยาลัยของโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่า กรณีจึงไม่อาจแปลไปได้ว่าระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกเป็นการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของโจทก์ด้วย ส่วนการที่สัญญาการรับทุนไปศึกษาระบุว่า ให้นับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเป็นอายุการทำงานของผู้รับทุนก็เป็นเรื่องการนับอายุงานซึ่งเป็นเรื่องอื่น ไม่อาจหมายความได้ว่าให้หมายถึงเป็นการชดใช้ทุนการศึกษาในระดับชั้นปริญญาโทไปได้ ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ได้แบ่งยอดชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนออกเป็นงวด ๆ รวม 60 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 เป็นต้นไป จึงเป็นการผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเดือน โจทก์จึงผ่อนผันไม่หักเงินเดือนชำระหนี้ในระหว่างนั้นให้ จึงถือได้ว่าพฤติการณ์ของคู่ความต่างไม่ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาเรื่องระยะเวลาชำระหนี้เป็นงวด ๆ ในขณะนั้น เป็นสาระสำคัญของสัญญาแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ชำระหนี้ในช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือกลับมาทำงานกับโจทก์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับอายุความแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษามาแล้ว และไม่ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องภายใน 5 ปีได้ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ฟ้องบังคับจำนองและหนี้สัญญาที่เกิดในเขตอำนาจศาลอื่น
คำฟ้องโจทก์นอกจากขอให้บังคับจำนองเอากับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและในเขตอำนาจศาลจังหวัดราชบุรีแล้วโจทก์ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้เงินและหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับให้จำเลยที่ 3ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับสัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานของโจทก์สาขาท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นต้องถือว่าคำฟ้องส่วนที่ให้บังคับตามสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และหนังสือรับสภาพหนี้มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดกาญจนบุรี แม้ว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำนองด้วย กรณีเป็นเรื่องโจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลได้สองศาล โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้เพราะเป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5
ป.รัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้องปิดอากรแสตมป์
ป.รัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลฟ้องคดีจำนองและสัญญาอื่นที่ทำที่สาขาต่างจังหวัด การฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดมีชอบ
คำฟ้องโจทก์นอกจากขอให้บังคับจำนองเอากับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและในเขตอำนาจศาลจังหวัดราชบุรีแล้วโจทก์ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้เงินและหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับสัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1และที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานของโจทก์สาขาท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นต้องถือว่าคำฟ้องส่วนที่ให้บังคับตามสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และหนังสือรับสภาพหนี้มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดกาญจนบุรีแม้ว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำนองด้วย กรณีเป็นเรื่องโจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลได้สองศาล โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้เพราะเป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 5 ประมวลรัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้อง ปิดอากรแสตมป์