คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1705

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบเอกสารลับและธรรมดา การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ลายมือชื่อของผู้ร้องอยู่เหนือลายมือชื่อของว. และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า"ผู้พิมพ์"ส่วนลายมือชื่อของว.มีข้อความต่อท้ายว่า"ผู้พิมพ์"และว.เบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียวกรณีจึงมีข้อสงสัยว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหายในการนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1653วรรคแรกอันจะทำให้พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา1705เมื่อพินัยกรรมได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตกเป็นโมฆะแต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656ทุกประการพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่าถ้าเดิมทีผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรมที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดากรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา136เดิมพินัยกรรมจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมทั้งได้ความว่าการจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขพินัยกรรมไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วน ไม่กระทบพินัยกรรมทั้งฉบับ
ตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1658 วรรคสอง ที่ว่าการขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไข เปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้นั้น หมายความถึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วน การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นเท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงพินัยกรรมทั้งฉบับ เมื่อพินัยกรรมทำขึ้นโดยชอบแล้ว แม้การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจะไม่สมบูรณ์เพราะกรมการอำเภอไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ก็ไม่กระทบถึงพินัยกรรมทั้งฉบับข้อความเดิมในพินัยกรรมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ และเจตนาในการยกทรัพย์สินให้ผู้รับพินัยกรรม
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า"ลเมียด"แล้วตกเติมว่า"ละเมียด"ส่วนนามสกุลคงไว้เช่นเดิมมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า"ลเมียด"ในพินัยกรรมพินัยกรรมคงมีข้อความตามเดิมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบหามีผลทำให้ พินัยกรรมที่ สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็น โมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่า"ข้อ1ข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้(1)เรือนทรงมลิลามุงกระเบื้องวิบูลศรีพร้อมกระดานพื้น19แผ่นกระดานระเบียงด้านยาว7แผ่น1หลังข้อ2ข้าพเจ้าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียดช้างแก้วมณี และขอตั้งให้นาย มานพสุขสวัสดิ์เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมนี้"ถ้อยคำในพินัยกรรมดังกล่าวแสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่นาง ละเมียดโจทก์ที่2และตั้งนาย มานพโจทก์ที่1เป็นผู้จัดการมรดกหาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบเอกสารพินัยกรรมให้โจทก์ที่2เก็บรักษาไว้เฉยๆเท่านั้นไม่โจทก์ที่2จึงเป็น ผู้รับพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมต้องกระทำต่อหน้าพยาน
ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานทั้งสองคนแม้ขณะพยานทั้งสองลงลายมือชื่อเป็นพยาน ผู้ตายและพยานทั้งสองจะอยู่พร้อมหน้ากันก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ผู้คัดค้านในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีสิทธิขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมร่วม เงื่อนไขการโอนมรดก และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องร่วมกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกันแสดงเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง หากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีจึงถือได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวนั้นเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1707 มิใช่กรณีตามมาตรา 1706(3) ดังนี้ ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้หาเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ดังนั้นแม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใด และก็มิใช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 เมื่อผู้ร้องลงชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรม มิได้ลงชื่อในฐานะพยานทั้งมิได้มีข้อความระบุว่าเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นพยานในพินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรมหาได้ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 1705 ไม่ แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากแล้ว และเคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมีสติสัมปชัญญะดี มีความรู้สึกผิดชอบ มีความสามารถที่จะดำเนินการทำนิติกรรมใด ๆ ได้ และผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ทั้งผู้ร้องก็เป็นทายาทโดยพินัยกรรมตาม มาตรา 1603 วรรคสาม ได้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตาย เท่ากับผู้ตายตัดมิให้ผู้คัดค้านได้รับมรดกของตนแม้ผู้คัดค้านจะมีสิทธิในสินสมรสร่วมกับผู้ตายและเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ผู้คัดค้านไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับชายอื่นขณะที่ยังไม่ขาดจากการสมรสกับผู้ตาย ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6161/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองโมฆะ หากไม่แจ้งความประสงค์ต่อพยานตามกฎหมาย
การทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง หากผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานอื่นอีกสองคนพร้อมกันแล้ว พินัยกรรมนั้นขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658(1) และตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานทำพินัยกรรม: การมีอยู่จริงกับการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย
พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653วรรคหนึ่ง หมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม แต่มิได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม หาเป็นพยานในพินัยกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานในพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ การมีอยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรมไม่ถือเป็นพยาน
พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653วรรคหนึ่ง หมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม แต่มิได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม หาเป็นพยานในพินัยกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานพินัยกรรมต้องรู้เห็นการลงลายมือชื่อ/พิมพ์นิ้วมือ มิฉะนั้นพินัยกรรมเป็นโมฆะ
การที่ผู้เป็นพยานในพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่ได้อยู่รู้เห็นในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมพินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ ข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้ง แต่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อข้อกฎหมายนั้นเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบธรรมดาต้องทำตามรูปแบบกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะเป็นโมฆะ
พินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน หากมิได้ทำขึ้นตามแบบที่บทกฎหมายบังคับไว้ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาในข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และแม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงเรื่องดังกล่าวไว้ชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง.
of 8