คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 71

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ย้ายที่อยู่ แต่ยังใช้ที่อยู่เดิมในฟ้องและชั้นพิจารณา
ศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้เงินแก่จำเลยและออกคำบังคับส่งให้โจทก์ทราบ ในการส่งคำบังคับจำเลยได้นำเจ้าพนักงานเดินหมายส่งคำบังคับให้โจทก์ที่บ้านเลขที่773/12 อันเป็นที่อยู่ที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องของโจทก์และโจทก์ได้ใช้ที่อยู่ดังกล่าวตลอดมา โดยมี พ. อายุเกิน 20 ปี อยู่ที่บ้านดังกล่าวเต็มใจรับคำบังคับไว้แทนและไม่ปรากฏว่า พ. รับคำบังคับไว้แทนโจทก์โดยหลงผิดดังนี้นับว่าได้มีการส่งคำบังคับแก่โจทก์โดยชอบแล้วแม้โจทก์จะได้ย้ายไปอยู่บ้านเลขที่ 733/7 นานแล้วแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เคยอยู่ที่บ้านเลขที่ 773/12 อันเป็นที่อยู่ของโจทก์ตามฟ้องก่อนโจทก์ฟ้องคดี และเมื่อฟ้องคดีและตลอดมาในชั้นพิจารณา โจทก์ก็ใช้ที่อยู่ที่บ้านเลขที่ 773/12 ไม่เคยแถลงต่อศาลว่าได้ย้ายไปอยู่บ้านเลขที่ 733/7 แต่อย่างใด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้บ้านเลขที่ 773/12 เป็นที่อยู่ของโจทก์อีกแห่งหนึ่งด้วย การส่งคำบังคับให้โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของตัวแทนมิใช่ภูมิลำเนาของตัวการ โจทก์ฟ้องบริษัทต่างชาติในไทยไม่ได้
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนั้นไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จะมอบให้บริษัทจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในประเทศไทย ก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยอันจะทำให้โจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ เพราะภูมิลำเนาของตัวแทนไม่เป็นภูมิลำเนาของตัวการด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาบริษัทต่างชาติ: การฟ้องร้องในไทยต้องมีสำนักงานสาขา หรือภูมิลำเนาในประเทศ
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนั้นไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยแม้บริษัทจำเลยที่ 1 จะมอบให้บริษัทจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในประเทศไทยก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยอันจะทำให้โจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ เพราะภูมิลำเนาของตัวแทนไม่เป็นภูมิลำเนาของตัวการด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นซองประกวดราคาถือเป็นการยอมรับเงื่อนไข การถอนซองหลังยื่นถือเป็นการผิดสัญญา
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์ (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นของประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการ ต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้ โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด...ฯลฯ... "หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนของประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า "เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด" เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯ จะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึกก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด นั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเสนอราคาหลังยื่นซองประกวดราคา ถือเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา และการฟ้องธนาคารต้องฟ้องบริษัทแม่
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า 'เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ.... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด....ฯลฯ.....' หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนซองประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า'เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด' เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นไว้ต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯจะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึก ก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัดนั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้วจะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยในการฟ้องบริษัทต่างประเทศที่มีสาขาในไทย และสิทธิของผู้รับตราส่งตามสัญญาขนส่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบริษัทอยู่ต่างประเทศแต่มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ดังนี้ ถือว่าโจทก์ฟ้องบริษัทใหญ่เป็นจำเลย มิใช่ฟ้องบริษัทสาขาให้รับผิด และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 71 ถือว่าบริษัทจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทยด้วย โจทก์จึงฟ้องบริษัทจำเลยในศาลไทยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
สัญญาขนส่งทำระหว่างบริษัทในต่างประเทศกับบริษัทจำเลย แต่โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง เมื่อโจทก์ได้เรียกให้ส่งมอบของแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทจำเลยให้รับผิดเกี่ยวกับสัญญาขนส่งในฐานะที่จำเลยเป็นผู้รับขนส่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยฟ้องบริษัทต่างประเทศมีสาขาในไทย และสิทธิผู้รับตราส่งตามสัญญารับขน
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบริษัทอยู่ต่างประเทศ แต่มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ดังนี้ ถือว่าโจทก์ฟ้องบริษัทใหญ่เป็นจำเลย มิใช่ฟ้องบริษัทสาขาให้รับผิดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 ถือว่าบริษัทจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทยด้วย โจทก์จึงฟ้องบริษัทจำเลยในศาลไทยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
สัญญาขนส่งทำระหว่างบริษัทในต่างประเทศกับบริษัทจำเลยแต่โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง เมื่อโจทก์ได้เรียกให้ส่งมอบของแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทจำเลยให้รับผิดเกี่ยวกับสัญญาขนส่งในฐานะที่จำเลยเป็นผู้รับขนส่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร การผิดสัญญา และการคำนวณค่าเสียหาย
ในอนุญาตร่อนแร่นั้น กฎหมายห้ามมิให้ผู้ถือเอาให้ผู้อื่นนำไปใช้ อาชญาบัตรตรวจแร่ผู้ถือให้ผู้อื่นใช้ก็ได้ โดยจำกัดให้คุ้มถึงเฉพาะลูกจ้างของผู้ถืออาชญาบัตร แต่ประทานบัตรนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังใบอนุญาตร่อนแร่หรืออาชญาบัตรตรวจแร่ไม่
การที่จำเลยผู้ถือประทานบัตรมอบอำนาจให้โจทก์ทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร มิได้โอนประทานบัตรให้โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย จำเลยก็ยังคงเป็นผู้ถือประทานบัตร หากจะมีความรับผิดเกิดขึ้นตามประทานบัตรอย่างใด จำเลยก็ยังคงรับผิดอยู่อย่างนั้น การมอบอำนาจและชักเอาประโยชน์ในกรณีเช่นนี้ หาทำให้มีผลให้ผู้ใดต้องขายผลิตผลของตนแก่ผู้รับมอบอำนาจถูกลงไม่ และก็ไม่มีผลทำให้ผู้ใดต้องซื้อแร่จากผู้รับมอบอำนาจแพงขึ้นกว่าราคาตลาดแต่ประการใด สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 - 8/2509)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 827 ตัวการจะถอนตัวแทนเสียเวลาใดก็ได้ทุกเมื่อ เหตุนี้ แม้การถอนอำนาจจะเป็นการผิดสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจก็ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยมอบอำนาจให้ตนได้ทำเหมืองแร่ต่อไปจนครบกำหนดเวลาตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์ย่อมต้องรับรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยกะประมาณจากรายได้ของโจทก์ชั่วระยะเวลาที่โจทก์ควรจะระงับความเสียหายของโจทก์ที่จะมีต่อไป เพราะไม่สามารถทำเหมืองแร่ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ให้โจทก์ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล จำเลยเป็นนิติบุคคล แม้จะจดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรค 2 ถิ่นที่นิติบุคคลมีสาขาสำนักงานจะจัดเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้นก็ได้ เมื่อจำเลยมีสำนักงานสาขาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องคดีนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร การมอบอำนาจ และความรับผิดของผู้ถือประทานบัตร รวมถึงการคำนวณค่าเสียหาย
ใบอนุญาตร่อนแร่นั้น กฎหมายห้ามมิให้ผู้ถือเอาให้ผู้อื่นนำไปใช้ อาชญาบัตรตรวจแร่ผู้ถือให้ผู้อื่นใช้ก็ได้ โดยจำกัดให้คุ้มถึงเฉพาะลูกจ้างของผู้ถืออาชญาบัตร แต่ประทานบัตรนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังใบอนุญาตร่อนแร่หรืออาชญาบัตรตรวจแร่ไม่
การที่จำเลยผู้ถือประทานบัตรมอบอำนาจให้โจทก์ทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร มิได้โอนประทานบัตรให้โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย จำเลยก็ยังคงเป็นผู้ถือประทานบัตร หากจะมีความรับผิดเกิดขึ้นตามประทานบัตรอย่างใด จำเลยก็ยังคงรับผิดอยู่อย่างนั้น การมอบอำนาจและชักเอาประโยชน์ในกรณีเช่นนี้ หาทำให้มีผลให้ผู้ใดต้องขายผลิตผลของตนแก่ผู้รับมอบอำนาจถูกลงไม่ และก็ไม่มีผลทำให้ผู้ใดต้องซื้อแร่จากผู้รับมอบอำนาจแพงขึ้นกว่าราคาตลาดแต่ประการใด สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7-8/2509)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 ตัวการจะถอนตัวแทนเสียเวลาใดก็ได้ทุกเมื่อ เหตุนี้ แม้การถอนอำนาจจะเป็นการผิดสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจก็ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยมอบอำนาจให้ตนได้ทำเหมืองแร่ต่อไปจนครบกำหนดเวลาตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์ย่อมต้องรับรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยกะประมาณจากรายได้ของโจทก์ชั่วระยะเวลาที่โจทก์ควรจะระงับความเสียหายของโจทก์ที่จะมีต่อไป เพราะไม่สามารถทำเหมืองแร่ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ให้โจทก์ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจำเลยเป็นนิติบุคคล แม้จะจดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง ถิ่นที่นิติบุคคลมีสาขาสำนักงานจะจัดเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณที่นั้นก็ได้ เมื่อจำเลยมีสำนักงานสาขาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องคดีนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาขาบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทใหญ่ ไม่ต้องจดทะเบียนแยกต่างหาก การฟ้องดำเนินคดีกับสาขาถือเป็นการฟ้องบริษัทใหญ่
อันบริษัทจำกัดนั้น นอกจากสำนักงานใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเองไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก
of 6