พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการปรับบทกฎหมาย แม้ไม่มีคำขอเพิกถอนโดยตรง ศาลสามารถพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของฟ้องแย้งได้
ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยมีคำขอให้โจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้แก่จำเลย กับห้ามโจทก์ใช้หรือขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้เกิดผลให้โจทก์สิ้นสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ตามวัตถุประสงค์ในคำขอของจำเลยดังกล่าวตามที่จำเลยมีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67จึงเป็นการพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของฟ้องแย้งไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอในฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคหนึ่งเพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่ชอบ
จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคหนึ่งเพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9020/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนชื่อบริษัทโดยใช้ชื่อทางการค้าที่ผู้อื่นมีสิทธิแล้ว เป็นการล่วงละเมิดหรือไม่ และการตัดสินคดีนอกเหนือคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าเครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายการค้าคำว่า "SONY" ได้รับการจดทะเบียนไว้ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย จำเลยนำคำว่า "SONY" ไปขอจดทะเบียนใช้ชื่อเป็นนิติบุคคลในการจัดตั้งบริษัทว่า "SONY IMPEX CO.LTD." การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต แสวงหาผลประโยชน์จากชื่อเสียงในทางการค้าและเครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายบริการดังกล่าว ดังนี้ คดีย่อมมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าการจดทะเบียนใช้ชื่อบริษัทของจำเลยเป็นการล่วงละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18, 421 และเป็นการ ล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายบริการตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 44, 47 หรือไม่ เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการจดทะเบียนชื่อบริษัทพ้องกับชื่อบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนอันจะมีผล ที่จะบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1115 เพราะโจทก์มิได้อ้างว่าโจทก์จดทะเบียนชื่อนิติบุคคลของโจทก์ดังกล่าวไว้ก่อน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและบังคับตามนัยบทบัญญัติมาตรา 1115 จึงเป็นการพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีนอกเหนือจาก คำฟ้องโจทก์
กรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย คำพิพากษา ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาใหม่เสียก่อน
กรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย คำพิพากษา ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาใหม่เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9020/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ วินิจฉัยผิดพลาด นำบทบัญญัติมาตรา 1115 มาใช้ ทั้งที่คดีเน้นเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้ ขอจดทะเบียนหรือเกี่ยวข้องกับชื่อทางการค้า SONY ของโจทก์ คดีย่อมมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าการจดทะเบียนใช้ชื่อบริษัทของจำเลยเป็นการล่วงละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18, 421 และเป็นการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายบริการตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 44, 47 หรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการจดทะเบียนชื่อบริษัทพ้องกับชื่อบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนอันจะมีผลที่จะบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1115 เพราะโจทก์มิได้อ้างว่าโจทก์จดทะเบียนชื่อนิติบุคคลของโจทก์ดังกล่าวไว้ก่อน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและบังคับตามนัยบทบัญญัติมาตรา 1115 จึงเป็นการพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีนอกเหนือจากคำฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6436/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า การละเมิด และการประเมินค่าเสียหายที่แท้จริง
บริษัทโจทก์ที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นเจ้าของเครื่องหมาย การค้าคำว่า REYNOLDS ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2520 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 รายการสินค้า เครื่องเขียน เครื่องมือวาดเขียน ปากกาลูกลื่น ปากกาปากอ่อน ปากกาหมึกซึม ไส้ปากกา หมึกบรรจุ ในหลอด ยาลบหมึก น้ำหมึก และที่เสียบปากกา โจทก์ที่ 1 ตกลงให้บริษัทโจทก์ที่ 2 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายไทยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปากกาลูกลื่นโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยโดยไม่มีค่าตอบแทนแต่มีเงื่อนไขว่า โจทก์ที่ 2 จะต้องซื้อปลายปากกาลูกลื่นและหมึกปากกาลูกลื่นจากโจทก์ที่ 1 ตามจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ การอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาผู้ใช้ (User Agreement) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2539 ไม่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 โจทก์ที่ 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในข้อหาละเมิดเพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายสินค้าปากกาลูกลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนคำว่า REYNOLDS ดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ได้ คงมีเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าว
ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองว่า โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือโจทก์ที่ 2 ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการตลาดของโจทก์ที่ 2 ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายก็ปรากฏว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จ่ายทั้งสิ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ตามคำฟ้องก็ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องอย่างชัดเจนว่าค่าโฆษณานั้น โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่ได้รับความเสียหายในการที่ต้องจ่ายค่าโฆษณาและส่งเสริมการขายอันเนื่องมาจากยอดขายสินค้าปากกา REYNOLDS ลดลงเพราะการละเมิดของจำเลยทั้งสอง
แม้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า REYNOLDS สำหรับสินค้าปากกาลูกลื่นที่ได้จดทะเบียนไว้และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายปากกาลูกลื่น REYNOLDS อันเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 จะเป็นการละเมิดต่อสิทธิ แต่ผู้เดียวของโจทก์ที่ 1 ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายว่า โจทก์ต้องจัดการทำการโฆษณาเพื่อแก้ไขภาพพจน์ต่อผู้เคยใช้ปากกาลูกลื่นยี่ห้อ REYNOLDS ปลอมที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งโจทก์ที่ 2 ต้องเสียค่าโฆษณาไปในช่วงเดือนกรกฎาคม 2540 ถึงปลายปี 2541 เป็นเงินจำนวน 3,916,881.92 บาท รวมความเสียหายที่โจทก์ประเมินไว้เนื่องจากการที่จำเลยทั้งสองนำ ปากกาลูกลื่นที่มีเครื่องหมายการค้า "REYNOLDS" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของ โจทก์ที่ 1 ออกจำหน่ายในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 9,000,000 บาท ทั้งนี้ ยังมิได้รวมถึงค่านิยมที่ผู้เคยใช้ปากกาลูกลื่น REYNOLDS ของโจทก์ที่เสื่อมไปเพราะการใช้ของปลอมที่มีคุณภาพต่ำ แต่โจทก์ทั้งสองขอเรียก ค่าเสียหายสำหรับการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นเงินจำนวน 3,300,000 บาท ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่หาได้เรียกค่าเสียหายสำหรับค่านิยมหรือความมีชื่อเสียง ของสินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ จากจำเลยทั้งสอง จึงไม่มีค่าเสียหายในส่วนนี้ที่ศาลจะพิพากษาให้ได้
ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองว่า โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือโจทก์ที่ 2 ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการตลาดของโจทก์ที่ 2 ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายก็ปรากฏว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จ่ายทั้งสิ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ตามคำฟ้องก็ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องอย่างชัดเจนว่าค่าโฆษณานั้น โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่ได้รับความเสียหายในการที่ต้องจ่ายค่าโฆษณาและส่งเสริมการขายอันเนื่องมาจากยอดขายสินค้าปากกา REYNOLDS ลดลงเพราะการละเมิดของจำเลยทั้งสอง
แม้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า REYNOLDS สำหรับสินค้าปากกาลูกลื่นที่ได้จดทะเบียนไว้และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายปากกาลูกลื่น REYNOLDS อันเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 จะเป็นการละเมิดต่อสิทธิ แต่ผู้เดียวของโจทก์ที่ 1 ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายว่า โจทก์ต้องจัดการทำการโฆษณาเพื่อแก้ไขภาพพจน์ต่อผู้เคยใช้ปากกาลูกลื่นยี่ห้อ REYNOLDS ปลอมที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งโจทก์ที่ 2 ต้องเสียค่าโฆษณาไปในช่วงเดือนกรกฎาคม 2540 ถึงปลายปี 2541 เป็นเงินจำนวน 3,916,881.92 บาท รวมความเสียหายที่โจทก์ประเมินไว้เนื่องจากการที่จำเลยทั้งสองนำ ปากกาลูกลื่นที่มีเครื่องหมายการค้า "REYNOLDS" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของ โจทก์ที่ 1 ออกจำหน่ายในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 9,000,000 บาท ทั้งนี้ ยังมิได้รวมถึงค่านิยมที่ผู้เคยใช้ปากกาลูกลื่น REYNOLDS ของโจทก์ที่เสื่อมไปเพราะการใช้ของปลอมที่มีคุณภาพต่ำ แต่โจทก์ทั้งสองขอเรียก ค่าเสียหายสำหรับการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นเงินจำนวน 3,300,000 บาท ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่หาได้เรียกค่าเสียหายสำหรับค่านิยมหรือความมีชื่อเสียง ของสินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ จากจำเลยทั้งสอง จึงไม่มีค่าเสียหายในส่วนนี้ที่ศาลจะพิพากษาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537-4540/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า ความผิดกรรมเดียว การริบของกลาง และการแก้ไขโทษ
คดีความผิดอันไม่อาจยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนหรือดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายมอบอำนาจช่วงโดยชอบหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานอัยการโจทก์มีคำสั่งและฟ้อง การสอบสวนตลอดจนอำนาจฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำคือ และเครื่องหมายการค้าเป็นคำว่า "SQUARE D" แยกต่างหากจากกัน ผู้เสียหายจึงมีสิทธิที่จะเลือกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเครื่องหมายใดเครื่องหมายหนึ่งเพียงเครื่องหมายเดียวกับสินค้าของตน หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งสองเครื่องหมายประกอบกันกับสินค้าของตนก็ได้ การเสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอม แม้จะเป็นการปลอมเพียงเครื่องหมายเดียวก็อาจเป็นความผิดตามฟ้องได้
มาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ใช้บังคับเมื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคล เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และลงโทษมาตรา 114 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง
สินค้าของกลางทั้งสี่สำนวนจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าวในคราวเดียวกัน เพียงแต่จำเลยแบ่งสินค้านำไปวางเสนอจำหน่ายเพื่อหากำไรหลายสถานที่ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสี่สำนวน เมื่อมีการรวมพิจารณาจึงต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว
การมีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร และเมื่อพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางตามมาตรา 115 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 อันเป็นบททั่วไปอีก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/43 )
ผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำคือ และเครื่องหมายการค้าเป็นคำว่า "SQUARE D" แยกต่างหากจากกัน ผู้เสียหายจึงมีสิทธิที่จะเลือกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเครื่องหมายใดเครื่องหมายหนึ่งเพียงเครื่องหมายเดียวกับสินค้าของตน หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งสองเครื่องหมายประกอบกันกับสินค้าของตนก็ได้ การเสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอม แม้จะเป็นการปลอมเพียงเครื่องหมายเดียวก็อาจเป็นความผิดตามฟ้องได้
มาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ใช้บังคับเมื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคล เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และลงโทษมาตรา 114 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง
สินค้าของกลางทั้งสี่สำนวนจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าวในคราวเดียวกัน เพียงแต่จำเลยแบ่งสินค้านำไปวางเสนอจำหน่ายเพื่อหากำไรหลายสถานที่ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสี่สำนวน เมื่อมีการรวมพิจารณาจึงต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว
การมีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร และเมื่อพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางตามมาตรา 115 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 อันเป็นบททั่วไปอีก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/43 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าหลังซื้อจากตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า หากผู้ผลิตได้ประโยชน์จากการขายแล้ว
เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยน ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5427/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าจนสับสน และการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้คำในภาษาต่างประเทศเป็นสาระสำคัญเหมือนกัน คือ โจทก์ใช้คำอักษรโรมันว่า "BRUSEL" ส่วนจำเลยใช้คำว่า "BUSHEL" เห็นได้ว่ามีอักษรจำนวน 6 ตัวเท่ากัน ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เหมือนกัน และเป็นอักษรตัวเดียวกันถึง 5 ตัว โดยเฉพาะอักษรตัวแรกที่สังเกตเห็นได้ก่อนก็ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร B และลงท้ายเป็นตัวอักษร L เหมือนกัน เมื่อพิจารณาประกอบกับการเรียกขานคำ เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างออกเสียง 2 พยางค์ โดยของโจทก์อ่านออกเสียงว่า "บรุสเซล" ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงว่า "บูเชล" อักษรหลักในการออกเสียงใช้เสียง "บ" เหมือนกัน ใช้สระ "อู" หรือ "อุ" ซึ่งออกเสียงใกล้เคียงกัน พยางค์ที่สองก็ใช้สระ "เอ" เหมือนกัน แม้จะมีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีการใช้ตัวอักษรประดิษฐ์รูปตัว S ที่ตัว S ของคำดังกล่าว เมื่อโจทก์และจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเช่นเดียวกันย่อมเป็นการยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นข้อแตกต่างที่มีเพียงเล็กน้อยนั้นได้ชัดเจน อีกทั้งผู้ซื้อสินค้าอาจไม่มีโอกาสเห็นเครื่องหมายการค้าทั้งสองเปรียบเทียบกันและผู้ซื้อบางส่วนอาจไม่สันทัดในภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้น เครื่องหมายการค้าทั้งสอง จึงคล้ายกันจนถึงขนาดที่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นกับสินค้าตามที่จดทะเบียนไว้ และจำเลยย่อมไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แม้นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้จำเลย โจทก์ก็ยังมีสิทธิดีกว่าจำเลย ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ และการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่คล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้วดังกล่าวก็ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
เมื่อเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว การยื่นขอจดทะเบียนใหม่และการอื่นที่เกี่ยวข้องในภายหน้าเป็นกรณีเกี่ยวกับการกระทำที่ยังไม่เกิดขึ้นและการกระทำเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นนั้น ไม่แน่ว่าเครื่องหมายการค้าอื่นที่หากจำเลยจะใช้นั้นจะเหมือนหรือคล้ายของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่หากเกิดขึ้นก็จะต้องว่ากล่าวกันใหม่ในภายหน้า การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาห้ามจำเลยใช้ ยื่นขอจดทะเบียนหรือเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าอื่นที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยนั้น จึงไม่ชอบและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เมื่อเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว การยื่นขอจดทะเบียนใหม่และการอื่นที่เกี่ยวข้องในภายหน้าเป็นกรณีเกี่ยวกับการกระทำที่ยังไม่เกิดขึ้นและการกระทำเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นนั้น ไม่แน่ว่าเครื่องหมายการค้าอื่นที่หากจำเลยจะใช้นั้นจะเหมือนหรือคล้ายของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่หากเกิดขึ้นก็จะต้องว่ากล่าวกันใหม่ในภายหน้า การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาห้ามจำเลยใช้ ยื่นขอจดทะเบียนหรือเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าอื่นที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยนั้น จึงไม่ชอบและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในนามทางการค้า: การใช้ชื่อซ้ำโดยธุรกิจต่างประเภท ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย จึงไม่อาจสั่งห้ามได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'S SECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นใน รวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบกิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าวใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'S SECRET" และ "วิคตอเรีย ซีเครท" โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในนามของบุคคลซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้าสำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับ และสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี อันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของจำเลยทั้งสองได้
??
??
??
??
1/1
??
??
??
??
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีรูปหัวไก่ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมให้จดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมาย กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมาย
ต่างใช้รูปหัวไก่เป็นส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าซึ่งมีส่วนคล้ายกันมาก แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือต่างจำพวกสินค้าในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้จดทะเบียนไว้กับสินค้าภาชนะและเครื่องใช้ในครัวเรือนซึ่งทำจากโลหะอะลูมิเนียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้จดทะเบียนไว้กับสินค้ากระบอกฉีดและหัวสูบที่ทำด้วยโลหะสำหรับในการฉีดหรือพ่นกับอุปกรณ์ที่ใช้กับยานยนต์ และโจทก์กับจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนสำหรับสินค้า คนละประเภทกันดังกล่าวผลิตออกจำหน่ายแก่สาธารณชนโดยสุจริตมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนสาธารณชนทราบดีว่าสินค้าชนิดใดเป็นของโจทก์ ชนิดใดเป็นของจำเลย มิได้ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่เข้าลักษณะต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (3) และ 13 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาโดยสุจริต การที่โจทก์มิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียนได้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้น มีผลทำให้โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะได้รับความคุ้มครองในฐานะดังกล่าวตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น หาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไปไม่ และโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใหม่ได้
----------------------------------------
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยให้ศาลมีคำส่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แต่มิให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอข้างต้นในรายการสินค้าประเภทกระป๋อง ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยคำพิพากษานี้ คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิเคราะห์แล้วมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ต่างใช้รูปหัวไก่เป็นส่วนสำคัญของ เครื่องหมายการค้า ซึ่งมีส่วนคล้ายกันมากแต่เครื่อหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าประเภทภาชนะและเครื่องใช้ ในครัวเรือน ซึ่งทำจากโลหะอะลูมิเนียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าประเภทกระบอกฉีดหัวสูบที่ทำด้วยโลหะสำหรับใช้ในการฉีดหรือพ่นกับอุปกรณ์ที่ใช้กับยานยนต์ จึงเห็นได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็น สินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือต่างจำพวกสินค้ากันในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้และ จากการที่โจทก์กับจำเลยต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนสำหรับสินค้าคนละประเภทกันดังกล่าวที่โจทก์และจำเลยได้ผลิตออกจำหน่ายแก่สาธารณชนโดยสุจริตมาเป็นเวลานานหลายสิบปีจนสาธารณชนทราบดีว่าสินค้าชนิดใดเป็นของโจทก์ ชนิดใดเป็นของจำเลย ไม่ได้ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าของจำเลยหรือสับสนความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่เข้าลักษณะต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (3) และ 13 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์ขาดต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียน เครื่องหมายการค้าได้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปนั้น เห็นว่า เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาโดยสุจริต การที่โจทก์มิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียนได้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้น มีผลทำให้โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะได้รับความคุ้มครองในฐานะดังกล่าวตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น หาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไปไม่ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไป เพียงแต่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งได้รับความคุ้มครองบางประการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใหม่ได้
พิพากษายืน .
(ธรรมนูญ โชคชัยพิทักษ์ - สุเมธ อุปนิสากร - จรัญ หัตถกรรม)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายวิชัย อริยะนันทกะ
ศาลอุทธรณ์ -
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ ย่อ
นายกรัณย์ กาญจนรินทร์ ย่อยาว
นายไพโรจน์ โรจน์อภิรักษ์กุล ตรวจย่อยาว
นายปริญญา ดีผดุง ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
นายไมตรี ศรีอรุณ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
ต่างใช้รูปหัวไก่เป็นส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าซึ่งมีส่วนคล้ายกันมาก แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือต่างจำพวกสินค้าในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้จดทะเบียนไว้กับสินค้าภาชนะและเครื่องใช้ในครัวเรือนซึ่งทำจากโลหะอะลูมิเนียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้จดทะเบียนไว้กับสินค้ากระบอกฉีดและหัวสูบที่ทำด้วยโลหะสำหรับในการฉีดหรือพ่นกับอุปกรณ์ที่ใช้กับยานยนต์ และโจทก์กับจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนสำหรับสินค้า คนละประเภทกันดังกล่าวผลิตออกจำหน่ายแก่สาธารณชนโดยสุจริตมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนสาธารณชนทราบดีว่าสินค้าชนิดใดเป็นของโจทก์ ชนิดใดเป็นของจำเลย มิได้ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่เข้าลักษณะต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (3) และ 13 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาโดยสุจริต การที่โจทก์มิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียนได้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้น มีผลทำให้โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะได้รับความคุ้มครองในฐานะดังกล่าวตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น หาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไปไม่ และโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใหม่ได้
----------------------------------------
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยให้ศาลมีคำส่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แต่มิให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอข้างต้นในรายการสินค้าประเภทกระป๋อง ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยคำพิพากษานี้ คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิเคราะห์แล้วมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ต่างใช้รูปหัวไก่เป็นส่วนสำคัญของ เครื่องหมายการค้า ซึ่งมีส่วนคล้ายกันมากแต่เครื่อหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าประเภทภาชนะและเครื่องใช้ ในครัวเรือน ซึ่งทำจากโลหะอะลูมิเนียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าประเภทกระบอกฉีดหัวสูบที่ทำด้วยโลหะสำหรับใช้ในการฉีดหรือพ่นกับอุปกรณ์ที่ใช้กับยานยนต์ จึงเห็นได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็น สินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือต่างจำพวกสินค้ากันในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้และ จากการที่โจทก์กับจำเลยต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนสำหรับสินค้าคนละประเภทกันดังกล่าวที่โจทก์และจำเลยได้ผลิตออกจำหน่ายแก่สาธารณชนโดยสุจริตมาเป็นเวลานานหลายสิบปีจนสาธารณชนทราบดีว่าสินค้าชนิดใดเป็นของโจทก์ ชนิดใดเป็นของจำเลย ไม่ได้ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าของจำเลยหรือสับสนความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่เข้าลักษณะต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (3) และ 13 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์ขาดต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียน เครื่องหมายการค้าได้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปนั้น เห็นว่า เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาโดยสุจริต การที่โจทก์มิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียนได้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้น มีผลทำให้โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะได้รับความคุ้มครองในฐานะดังกล่าวตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น หาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไปไม่ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไป เพียงแต่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งได้รับความคุ้มครองบางประการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใหม่ได้
พิพากษายืน .
(ธรรมนูญ โชคชัยพิทักษ์ - สุเมธ อุปนิสากร - จรัญ หัตถกรรม)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายวิชัย อริยะนันทกะ
ศาลอุทธรณ์ -
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ ย่อ
นายกรัณย์ กาญจนรินทร์ ย่อยาว
นายไพโรจน์ โรจน์อภิรักษ์กุล ตรวจย่อยาว
นายปริญญา ดีผดุง ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
นายไมตรี ศรีอรุณ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ