พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม แม้โจทก์ประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ
ก. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์เก็บรักษาสมุดเช็คไว้ในตู้เซฟภายในห้องทำงาน บางครั้งจะให้ ศ. พนักงานการเงินและบัญชีกรอกรายละเอียดในเช็คที่จะสั่งจ่าย ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ลักเช็คพิพาททั้งสิบเจ็ดฉบับไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หาก ก. ตรวจสอบก็จะทราบว่าลายมือที่ต้นขั้วเช็คเป็นของ ส. ไม่ใช่ลายมือของ ศ. โจทก์จึงมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ การจ่ายเงินตามเช็คเป็นงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำ พนักงานจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คกับตัวอย่างลายมือชื่อที่จำเลยมีอยู่ว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายจริงหรือไม่ เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมในเช็คแตกต่างกับลายมือชื่อที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลย การที่พนักงานของจำเลยจ่ายเงินตามเช็คถึงสิบเจ็ดฉบับจึงเป็นการขาดความระมัดระวังเท่าที่สมควรจะต้องใช้ในกิจการเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเช็คทั้งสิบเจ็ดฉบับ รวมเป็นเงิน 1,707,975.05 บาท พร้อมดอกเบี้ย เท่ากับเป็นการขอให้บังคับจำเลยคืนเงินตามเช็ค รวมจำนวน 1,707,975.05 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์มากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเช็คทั้งสิบเจ็ดฉบับ รวมเป็นเงิน 1,707,975.05 บาท พร้อมดอกเบี้ย เท่ากับเป็นการขอให้บังคับจำเลยคืนเงินตามเช็ค รวมจำนวน 1,707,975.05 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์มากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากเช็คปลอมและการละเลยดูแลทรัพย์สิน การแบ่งแยกหนี้ความรับผิด
การเบิกความของ ธ. ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับลายมือชื่อของ อ. เป็นการเบิกความไปตามความเห็นหรือความรู้สึกของ ธ. ในลายมือชื่อของ อ. ตามที่เห็นเท่านั้น กรณีไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่ ธ. เห็นตามเอกสารที่ทนายจำเลยที่ 3 นำมาถามค้านนั้น เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของ อ. หรือเป็นลายมือชื่อปลอม และความเห็นของ ธ. เป็นความเห็นในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งมิใช่เช็คพิพาทในคดีนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์รับรู้ถึงการใช้ลายมือชื่อปลอมของ อ. ในเช็คพิพาท อันจะถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามฟ้องได้
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากพนักงานประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือปลอม จำเลยจึงไม่อาจอ้างเช็คพิพาทเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่โจทก์ได้ เว้นแต่โจทก์จะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008
การที่ อ. พนักงานจำเลยรับรองให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือว่าจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทและหักบัญชีกระแสรายวันเอาแก่โจทก์โดยละเมิด แม้จะมีข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในการจ่ายเงินตามเช็คในกรณีที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็คเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปและมีผู้ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายมาเบิกเงินจากจำเลยก็ตาม จำเลยก็จะยกข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอ้างเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่งตอนท้าย เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในหนี้ที่เกิดจากการละเมิดแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223, 438 และ 442 การที่ ธ. พนักงานโจทก์ ทราบว่ามีคนร้ายงัดลิ้นชักโต๊ะทำงานที่มีสมุดเช็คอยู่ในลิ้นชักแต่มิได้ตรวจสอบสมุดเช็คที่ตนมีหน้าที่เก็บรักษา นับว่า ธ. มิได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาเช็คเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถระงับความเสียหายได้ทันที เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้เช็คพิพาทที่ถูกลักไปสามารถนำเช็คพิพาทซึ่งมีการปลอมลายมือชื่อและประทับตราปลอมไปเบิกเงินจากจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลย เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท (ต้นเงินตามเช็ค 200,000 บาท)
การที่ อ. พนักงานจำเลยรับรองให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือว่าจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทและหักบัญชีกระแสรายวันเอาแก่โจทก์โดยละเมิด แม้จะมีข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในการจ่ายเงินตามเช็คในกรณีที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็คเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปและมีผู้ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายมาเบิกเงินจากจำเลยก็ตาม จำเลยก็จะยกข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอ้างเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่งตอนท้าย เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในหนี้ที่เกิดจากการละเมิดแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223, 438 และ 442 การที่ ธ. พนักงานโจทก์ ทราบว่ามีคนร้ายงัดลิ้นชักโต๊ะทำงานที่มีสมุดเช็คอยู่ในลิ้นชักแต่มิได้ตรวจสอบสมุดเช็คที่ตนมีหน้าที่เก็บรักษา นับว่า ธ. มิได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาเช็คเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถระงับความเสียหายได้ทันที เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้เช็คพิพาทที่ถูกลักไปสามารถนำเช็คพิพาทซึ่งมีการปลอมลายมือชื่อและประทับตราปลอมไปเบิกเงินจากจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลย เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท (ต้นเงินตามเช็ค 200,000 บาท)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารจ่ายเช็คปลอมเกินบัญชี ผู้เสียหายไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากธนาคาร
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะในห้องทำงานซึ่งเป็นห้องส่วนตัว มีกระจกโดยรอบ ปกติไม่มีผู้ใดเข้าไป ผู้ที่ลักเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปคือ ศ. และ พ. ซึ่งเป็นลูกจ้างในร้านของโจทก์นั่นเอง ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้เก็บรักษาเช็คพิพาทดังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำแล้ว ส่วนการที่โจทก์เคยมอบหมายให้บุคคลอื่นกรอกข้อความในเช็คแทนนั้น ก็หาใช่เป็นข้อที่แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่เก็บเช็คพิพาทไว้ให้ดีไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออันจะถือว่าเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งไปกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เอง ข้อเท็จจริงได้ความว่าขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็ค แต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน ดังนี้ เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งไปกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เอง ข้อเท็จจริงได้ความว่าขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็ค แต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน ดังนี้ เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารจ่ายเช็คผิดพลาดจากเงินของตนเอง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะในห้องทำงานซึ่งเป็นห้องส่วนตัว มีกระจกโดยรอบ ปกติไม่มีผู้ใดเข้าไป ผู้ที่ลักเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปคือลูกจ้างในร้านของโจทก์เองถือได้ว่าโจทก์ได้เก็บรักษาเช็คพิพาทดังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำแล้ว ส่วนการที่โจทก์เคยมอบหมายให้บุคคลอื่นกรอกข้อความในเช็คแทนนั้น ก็หาใช่เป็นข้อที่แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่เก็บเช็คพิพาทไว้ให้ดีไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออันจะถือว่าเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆ ไป เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เองขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็คแต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆ ไป เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เองขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็คแต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คขีดคร่อมเฉพาะระบุสั่งจ่าย: สัญญาขายลดและสลักหลังหลังเลิกบริษัทเป็นโมฆะ
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะระบุสั่งจ่ายเงินให้แก่บริษัท ฐ. มิใช่เช็คผู้ถือ ดังนั้นบริษัท ฐ. ซึ่งเป็นผู้ทรง เท่านั้นที่จะทำสัญญาขายลดและสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาขายลดเช็ค เอกสารหมาย จ.3 กระทำขึ้นหลังจากที่บริษัท ฐ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคสอง อันถือได้ว่า บริษัท ฐ. ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว สัญญาขายลดเช็คดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ทั้งการที่ ธ. และ ส. ลงลายมือชื่อสลักหลังและประทับตราบริษัท ฐ. จำกัด ในเช็คพิพาทให้ แก่โจทก์ ก็เป็นการสลักหลังโอนโดยปราศจากอำนาจ ย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้เลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์จึงเป็น ผู้ที่ได้รับเช็คพิพาทมาโดยการสลักหลังที่ขาดสาย โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 904, 905 จำเลยทั้งสามในฐานะผู้สั่งจ่ายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารต่อเช็คปลอมและการประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่าย
โจทก์มิได้เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะชั้นล่างภายในบ้านพักเป็นประจำเพราะบางครั้งก็วางไว้บนโต๊ะมิได้เก็บเข้าลิ้นชัก และ ย. ผู้เช่าบ้านอยู่ใกล้บ้านโจทก์เคยเข้าออกบ้านโจทก์ ซึ่งมิใช่คนแปลกหน้า การที่ ย. สามารถลักเช็คของโจทก์ไปได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่ ย. ซึ่งปลอมลายมือชื่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 นั้น เป็นคุณเฉพาะจำเลยที่ 2 หามีผลทำให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมายต้องหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่ ทั้งนี้เพราะผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิตามตั๋วเงินซึ่งลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมมิได้ แม้ผู้นั้นจะมิได้ประมาทเลินเล่อก็ตาม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่ ย. ซึ่งปลอมลายมือชื่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 นั้น เป็นคุณเฉพาะจำเลยที่ 2 หามีผลทำให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมายต้องหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่ ทั้งนี้เพราะผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิตามตั๋วเงินซึ่งลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมมิได้ แม้ผู้นั้นจะมิได้ประมาทเลินเล่อก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารต่อเช็คปลอมและการประมาทเลินเล่อของลูกค้า
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกค้าประเภทบัญชีกระแสรายวันของธนาคารจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินก็ต่อเมื่อโจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงิน ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คจากบัญชีของโจทก์ให้แก่ ย. โดยลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม จึงเป็นการปฏิบัตินอกหน้าที่อันพึงมีต่อผู้เคยค้า เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ให้การปฏิเสธว่ามิได้จ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อ และโจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเอง โจทก์เป็นผู้ถูกตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 ประเด็นข้อพิพาทจึงครอบคลุมถึงความรับผิดตามบทบัญญัติเรื่องตั๋วเงิน และครอบคลุมข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำฟ้องและคำให้การว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัตินอกหน้าที่ตามนิติสัมพันธ์ที่มีต่อโจทก์และเป็นละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม การที่ศาลอุทธรณ์นำบทบัญญัติในลักษณะตั๋วเงินมาปรับบทและวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยในกรอบแห่งประเด็นข้อพิพาทและไม่เกินคำขอ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิตามตั๋วเงินซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมมิได้ แม้ผู้นั้นจะมิได้ประมาทเลินเล่อ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1จ่ายเงินตามเช็คของโจทก์ให้แก่ ย. ซึ่งมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมไปโดยมิได้ประมาทเลินเล่อและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 จึงเป็นคุณเฉพาะตัวแก่จำเลยที่ 2 หามีผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมายอยู่แล้วต้องหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะชั้นล่างซึ่งอยู่ภายในบ้านพักอาศัย บางครั้งโจทก์วางสมุดเช็คไว้บนโต๊ะมิได้เก็บเข้าลิ้นชักเมื่อสถานที่ดังกล่าวอยู่ภายในบ้านพักของโจทก์ ย. เป็นผู้เช่าบ้านอยู่ใกล้บ้านของโจทก์ก็เคยเข้าออกบ้านโจทก์ มิใช่คนแปลกหน้า จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ย. ลักเช็คไปทำการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในเช็คได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิตามตั๋วเงินซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมมิได้ แม้ผู้นั้นจะมิได้ประมาทเลินเล่อ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1จ่ายเงินตามเช็คของโจทก์ให้แก่ ย. ซึ่งมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมไปโดยมิได้ประมาทเลินเล่อและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 จึงเป็นคุณเฉพาะตัวแก่จำเลยที่ 2 หามีผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมายอยู่แล้วต้องหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะชั้นล่างซึ่งอยู่ภายในบ้านพักอาศัย บางครั้งโจทก์วางสมุดเช็คไว้บนโต๊ะมิได้เก็บเข้าลิ้นชักเมื่อสถานที่ดังกล่าวอยู่ภายในบ้านพักของโจทก์ ย. เป็นผู้เช่าบ้านอยู่ใกล้บ้านของโจทก์ก็เคยเข้าออกบ้านโจทก์ มิใช่คนแปลกหน้า จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ย. ลักเช็คไปทำการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในเช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6388/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม ทำให้เจ้าของสิทธิได้รับความเสียหาย ต้องรับผิดทางละเมิด
การที่ ร. กับพวกร่วมกันปลอมข้อความในช่องผู้รับเงินโดยเพียงขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงินแล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด. กำกับบริเวณที่มีการขีดฆ่าชื่อโจทก์โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด. จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด. ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่า เหตุใดการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด. ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินจึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข และทำการสอบถามผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายถึงเหตุที่ไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไขก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค ตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเช็คมากกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป แม้เช็คดังกล่าวจะเป็นเช็คผู้ถือดังที่จำเลยให้การก็ตาม เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินซึ่งไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ร. กับพวกนำเช็คพิพาทที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีของพวก ร. ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมายเพื่อเรียกเก็บเงินและจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวกร. ไป เป็นเหตุให้ ร. กับพวกได้รับเงินไปในการกระทำทุจริตดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดชอบการจ่ายเช็คปลอมจากความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบลายมือชื่อ
จำเลยเป็นธนาคารผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ในการเอาเงินฝากของผู้ฝากไปแสวงหาผลประโยชน์จะต้องใช้ความระมัดระวังและความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษตรวจสอบลายมือชื่อผู้จ่ายว่าเหมือนลายมือชื่อที่ให้ตัวอย่างไว้แก่จำเลยหรือไม่ ฉะนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและความรู้ความชำนาญดังกล่าวแต่อย่างใด การที่จำเลยได้จ่ายหรือหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ให้บุคคลอื่นไปจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย ขณะที่บัญชีของโจทก์ยังเดินสะพัดอยู่นั้นโจทก์ยังไม่ทราบว่ามีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินหรือเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์มาทราบหลังจากที่ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว โจทก์ไปตรวจสอบเช็คต่าง ๆที่มีผู้นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยจึงทราบว่ามีผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ปลอมในเช็คพิพาทดังนี้ การที่โจทก์ยอมรับรองเรื่องหนี้เงินที่เบิกเกินบัญชี จะถือว่าโจทก์ยอมรับหนี้ตามเช็คพิพาทปลอมด้วยหาได้ไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคแรก เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายจำเลยย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ตามมาตรา 1008 วรรคแรก จำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีลายมือชื่อโจทก์ปลอมรวม 54 ฉบับ และหักเงินจากบัญชีของโจทก์พร้อมคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่โจทก์ตลอดมา ดังนี้นอกจากต้องคืนเงินตามเช็คทั้ง54 ฉบับ แก่โจทก์แล้ว จำเลยยังต้องคืนดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย