คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1008

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม ผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อ
ธนาคารจำเลยเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ในบำเหน็จค่าฝาก หรือจากการเอาเงินฝากของผู้ฝากไปแสวงหาประโยชน์ได้ มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องใช้ความระมัดระวังและความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายว่าเหมือนลายมือชื่อที่ให้ตัวอย่างไว้กับจำเลยหรือไม่ หากเห็นว่าลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาทไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ จำเลยก็ชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงิน ฉะนั้นการที่จำเลยได้จ่ายหรือหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ให้บุคคลอื่นไปจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คปลอม: ธนาคารต้องรับผิดแม้ไม่มีประมาทเลินเล่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008
เช็คที่มีผู้ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย แล้วเอาไปขึ้นเงินจากธนาคารไปนั้น เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 แม้ธนาคารจะจ่ายเงินไปโดยมิได้ประมาทเลินเล่อธนาคารก็ยังต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จ่ายให้ไปนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่พิสูจน์ความถูกต้องของลายมือชื่อในเช็ค หากพิสูจน์ไม่ได้ ธนาคารต้องรับผิดชอบ
ธนาคารจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรงเช็คไปตามเช็คที่มีลายเซ็นชื่อผู้เคยค้าเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อผู้เคยค้ามาฟ้องธนาคารอ้างว่าตนไม่ได้เซ็นสั่งจ่ายในเช็คดังกล่าวแล้ว ให้ธนาคารรับผิดชอบในจำนวนเงินที่ธนาคารจ่ายไปนั้น ธนาคารมีหน้าที่สืบแสดงว่าลายเซ็นสั่งจ่ายในเช็คเป็นลายเซ็นของผู้เคยค้าจริง ถ้าสืบไม่ได้ธนาคาร ก็ต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นและจะหักเงินนั้นจากบัญชีเดินสพัดของผู้เคยค้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารจ่ายเช็ค - หน้าที่การตรวจสอบลายมือชื่อ - ความรับผิดชอบ
ธนาคารจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรงเช็คไปตามเช็คที่มีลายเซ็นชื่อผู้เคยค้าเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อผู้เคยค้ามาฟ้องธนาคารอ้างว่าตนไม่ได้เซ็นสั่งจ่ายในเช็คดังกล่าวแล้ว ให้ธนาคารรับผิดชอบในจำนวนเงินที่ธนาคารจ่ายไปนั้น ธนาคารมีหน้าที่สืบแสดงว่าลายเซ็นสั่งจ่ายในเช็คเป็นลายเซ็นของผู้เคยค้าจริง ถ้าสืบไม่ได้ธนาคาร ก็ต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นและจะหักเงินนั้นจากบัญชีเดินสะพัดของผู้เคยค้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม ธนาคารไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีผู้สั่งจ่าย แม้สุจริต
ธนาคารจ่ายเงินไปตามเช็คที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมนั้น ธนาคารจะอาศัยสิทธิทำให้เช็คนั้นหลุดพ้นด้วยการจ่ายเงินหรือธนาคารจะใช้สิทธิหักเงินที่จ่ายจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายย่อมไม่อาจจะทำได้ เว้นแต่ผู้สั่งจ่ายนั้นจะอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ธนาคารย่อมเป็นผู้ต้องรับผิดเอง โดยจะหักเงินนั้นจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายหาได้ไม่
เช็คที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม กับเช็คที่มีลายมือชื่อผู้รับเงินผู้สลักหลังปลอมนั้นหาเหมือนกันไม่ เช็คที่มีลายมือชื่อผู้รับเงินหรือผู้สลักหลังปลอมนั้น ตามมาตรา 1009 ธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงินหรือการสลักหลังในภายหลังรายใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอม หรือปราศจากอำนาจก็ตาม ถ้าหากธนาคารได้จ่ายเงินไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้ ท่านก็ให้ถือว่า ธนาคารได้ใช้เงินไปโดยถูกระเบียบ เมื่อพิจารณามาตรา 1008 และ 1009 เข้าด้วยกันแล้ว ก็จะแลเห็นได้ชัดว่า กฎหมายประสงค์ให้ธนาคารใช้ความระมัดระวังในเรื่องลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายยิ่งกว่าในเรื่องลายมือชื่อของผู้รับเงิน หรือผู้สลักหลังและกฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ธนาคารที่จ่ายเงินไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตปราศจากประมาทเลินเล่อก็แต่ในกรณีที่ลายมือชื่อผู้รับเงินหรือลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอมเท่านั้น ส่วนลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมนั้นกฎหมายหาได้ให้ความคุ้มครองอย่างเดียวกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม ธนาคารไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีผู้สั่งจ่าย แม้จะสุจริต
ธนาคารจ่ายเงินไปตามเช็คที่ลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมนั้น ธนาคารจะอาศัยสิทธิทำให้เช็คนั้นหลุดพ้นด้วยการจ่ายเงินหรือธนาคารจะใช้สิทธิหักเงินที่จ่ายจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายย่อมไม่อาจจะทำได้ เว้นแต่ผู้สั่งจ่ายนั้นจะอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ธนาคารย่อมเป็นผู้ต้องรับผิดเอง โดยจะหักเงินนั้นจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายหาได้ไม่
เช็คที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมกับเช็คที่มีลายมือชื่อผู้รับเงินผู้สลักหลังปลอมนั้นหาเหมือนกันไม่เช็คที่มีลายมือชื่อผู้รับเงินหรือผู้สลักหลังปลอมนั้น ตามมาตรา 1009 ธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงินหรือการสลักหลังในภายหลังรายใดๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจ แต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอม หรือปราศจากอำนาจก็ตาม ถ้าหากธนาคารได้จ่ายเงินไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้ ท่านก็ให้ถือว่า ธนาคารได้ใช้เงินไปโดยถูกระเบียบ เมื่อพิจารณามาตรา 1008 และ 1009 เข้าด้วยกันแล้ว ก็จะแลเห็นได้ชัดว่า กฎหมายประสงค์ให้ธนาคารใช้ความระมัดระวังในเรื่องลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายยิ่งกว่าในเรื่องลายมือชื่อของผู้รับเงิน หรือผู้สลักหลัง และกฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ธนาคารที่จ่ายเงินไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตปราศจากประมาทเลินเล่อก็แต่ในกรณีที่ลายมือชื่อผู้รับเงินหรือลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอมเท่านั้น ส่วนลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมนั้นกฎหมายหาได้ให้ความคุ้มครองอย่างเดียวกันไม่
of 5