คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 30 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายกำหนด และสิทธิในการอุทธรณ์การประเมินภาษี แม้มีการทำบันทึกยินยอมชำระภาษี
การจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.03.3 หรือภ.พ.03.5ภายในวันที่31มกราคม2535เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบภ.พ.03.5 ในวันที่ 31 มกราคม 2535 โจทก์จึงได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาแล้วดังนั้น แม้โจทก์ทำบันทึกขอลดเบี้ยปรับ บันทึกยินยอมชำระภาษีอากรหรือขอผ่อนชำระภาษีอากรให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็คงมีอำนาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5533/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรในการวินิจฉัยพยานหลักฐาน & การประเมินภาษีซ้ำซ้อน
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อผู้ให้ถ้อยคำเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ซึ่งให้อำนาจศาลวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้แล้วคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางจึงชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า การส่งหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่โจทก์ที่ 1 ไม่ชอบเพราะมิได้ส่งไปยังสำนักงานของโจทก์ที่ 1 ที่แท้จริง จึงแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการส่งใหม่ให้ถูกต้องโดยจำนวนภาษีและเงินเพิ่มยังคงเดิมแต่โจทก์ที่ 1กลับได้รับประโยชน์นำส่งเงินไปชำระช้าลงกว่าเดิม ทั้งต่อมาอธิบดีกรมสรรพากรก็มีหนังสือแจ้งการยกเลิกใบแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลฉบับที่มีการส่งไม่ชอบแล้ว จึงมิใช่การประเมินให้เสียภาษีซ้ำซ้อนกัน การประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลฉบับใหม่จึงชอบแล้ว การที่โจทก์ที่ 1 ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นหนี้ส่วนประธานอันเป็นฐานคำนวณเงินเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้ว ย่อมอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวและขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มอันเป็นหนี้ส่วนอุปกรณ์ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาภาษีอากรที่ถูกประเมิน และผลกระทบของการแจ้งการประเมินต่ออายุความ
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะ-กรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา-อุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ. มาตรา 193/14
เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งคดีภาษีอากรและการสะดุดหยุดอายุความจากการสั่งบังคับภาษี
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรหลังแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และขอบเขตอำนาจศาลภาษีอากรในการพิจารณาความรับผิดของกรรมการ/ผู้ถือหุ้น
เมื่อกรมสรรพากรซึ่งเป็นโจทก์ ได้แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าจะต้องเสียภาษีเท่าใด ถือว่ามีจำนวนหนี้ภาษีที่โต้แย้งกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยให้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วัน ที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลสิ้นสุดลงเสียก่อน การฟ้องให้จำเลยที่ 2-8 ร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่นำเงินของจำเลยที่ 1 ไปจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 2-8 หาใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร: ราคาอันแท้จริง, การโต้แย้ง, และขอบเขตอำนาจฟ้องภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527เรื่อง ระเบียบปฎิบัติ เกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฎิบัติ เพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่ นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฎิบัติ เช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฎเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50 ดอลลาร์ สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฎิบัติล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้น จึงเชื่อ ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลอย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฎิบัติ ทุกรายการจะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆเพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากรแม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้าเช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ขัดแย้งกับราคาที่ผู้ซื้อสำแดง และการอุทธรณ์ภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527 เรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฏิบัติเพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฏิบัติเช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฏเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฏิบัติ ล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้นจึงเชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลการ พ.ศ.2469 มาตรา 2
ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้า เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล อย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตาม ป.รัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฏิบัติทุกรายการ จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากร แม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้า เช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีอากร: การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล, ค่าใช้จ่ายต้องห้าม, เงินเพิ่ม, และการพิสูจน์หลักฐานทางบัญชี
ในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นชอบด้วยนั้น อาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรที่กล่าวมาแล้วก็จะไร้ผล คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลซึ่งยังไม่ถึงที่สุด กรมสรรพากรจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่กำหนดให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี ในการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบภายในกำหนดเวลาเท่าใด และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ดังนั้น แม้จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบเกิน 5 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินก็ไม่ทำให้การประเมินที่ผ่านมาแล้วเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ในการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ได้แบ่งจ่ายให้แก่ผู้อื่นตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผู้มีเงินได้ค่าลิขสิทธิ์จริงคือผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนผู้ที่มารับเงินเพียงแต่เป็นบุคคลที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายจึงถือได้ว่าเป็นเงินได้ที่โจทก์จ่ายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว โจทก์ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเหมือนเช่นจ่ายเงินได้ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว ไม่ชอบที่โจทก์จะคำนวณหักภาษีณ ที่จ่ายหลังจากแบ่งค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายแล้วซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไม่ครบถ้วน ทั้งนี้เพราะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นถ้ามีเงินได้มากขึ้นก็จะต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มมากขึ้น แม้โจทก์จะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่กฎหมายกำหนดให้โจทก์ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีณ ที่จ่าย และนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์หักและนำส่งไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์ก็ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ขาดตามมาตรา 54 ค่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารตามหลักฐานปรากฏว่าโรงพิมพ์ ก.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้ซื้อ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (13) ค่ากระเช้าดอกไม้ ค่าช่วยงานแต่งงาน ค่าช่วยงานบวชนาค และค่าช่วยงานศพ ล้วนมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา และเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ในทางการงานหรือสังคมของตนเอง และมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรงจึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) รายจ่ายค่าซ่อมรถซึ่งโจทก์ไม่มีหลักฐานว่าเป็นค่าซ่อมรถของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) ค่ารับรองและค่าพาหนะซึ่งล้วนแต่เป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินยิ่งกว่าประโยชน์ทางการค้าของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (3) ค่าขนส่ง ค่านายหน้า และค่าจ้างทำของ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (18) ค่าซ่อมแซมพื้นห้องที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์ได้ซ่อมแซมพื้นห้องของโจทก์จริง จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงภาษีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ผ่อนผันลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์แล้ว คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมายจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะงดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าลดหย่อน และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดราคาทรัพย์สิน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินประกอบโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำต่อเจ้าพนักงานต่างระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีชื่อถือแทนบิดาซึ่งเป็นคนจีนนั้น ฟังได้ว่าที่ดินเป็นของโจทก์ การขายที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่ขายทรัพย์อันเป็นมรดกโจทก์ได้ขายที่ดินดังกล่าวไปในเวลาอันรวดเร็ว แสดงเจตนาว่าซื้อมาเพื่อหากำไร การขายที่ดินทั้ง 4 แปลงของโจทก์จึงมุ่งในทางค้าหรือหากำไร ป.รัษฎากร มาตรา 20 และ 30(2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวต่อศาล จะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน ดังนั้น โจทก์จึงอ้างเหตุที่มิได้อ้างไว้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ไม่ชอบ อันเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นศาลได้ เมื่อจำเลยนำสืบได้ว่าการโอนขายที่ดินของโจทก์มีค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินโดยอาศัย ป.รัษฎากรมาตรา 87 ทวิ(6) ได้และเมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยทำการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 หาได้ใช้อำนาจตามมาตรา 29ทวิไม่ เมื่อได้จัดการตามมาตรา 19 และทราบข้อความแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมิน หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏตามมาตรา 20.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ภาษี: โจทก์อ้างเหตุเพิ่มเติมในชั้นศาลได้ หากเป็นเรื่องเดียวกันกับการอุทธรณ์เดิม
ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และ 30(2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน การอุทธรณ์ต่อศาลจึงอาจอ้างเหตุอื่นนอกเหนือหรือเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ได้ดังนั้น ที่โจทก์ยกเหตุเกี่ยวกับการที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้นำค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าอากรแสตมป์กับดอกเบี้ยเงินกู้มาหักเป็นค่าใช้จ่ายและมิได้หักค่าลดหย่อนบุตรให้โจทก์ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาล แม้จะมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ไม่ชอบอันเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะอ้างเหตุดังกล่าวในชั้นศาลได้.
of 8