คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 30 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของสาขาบริษัทต่างประเทศ ผู้รับมอบอำนาจต้องได้รับมอบอำนาจเฉพาะเพื่อฟ้องคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศออสเตรเลีย แต่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย โดยมี อ.ผู้รับมอบอำนาจคดีนี้เป็นผู้จัดการสาขาในกรุงเทพมหานครแสดงว่า อ.ไม่ใช่ผู้จัดการบริษัทโจทก์ในประเทศออสเตรเลียอ.จึงไม่ใช่ผู้แทนนิติบุคคลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีดังนี้อ. ซึ่งเป็นเพียงผู้จัดการสาขาของบริษัทโจทก์ในประเทศไทย จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่925/2503)
ในคดีฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลจะกำหนดไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากรค้างและการยึดทรัพย์: สิทธิของนายอำเภอตามประมวลรัษฎากร แม้มีการอุทธรณ์
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้ว จะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่
โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ภาษีค้าง: แม้มีอุทธรณ์ ก็ต้องชำระก่อนหากไม่ได้รับการทุเลา
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้วจะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่ โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าจากการขายที่ดิน: การขายสมบัติเก่า vs. การค้าหากำไร, การส่งหนังสือแจ้งประเมินทางไปรษณีย์
การส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่นถึงบุคคลใดเกี่ยวกับภาษีอากรฝ่ายสรรพากร โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคแรกนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติวิธีการส่งไว้อย่างในกรณีที่มีผู้นำส่ง แต่ย่อมเห็นได้ว่าพนักงานไปรษณีย์ผู้นำส่งจะต้องส่งให้แก่ผู้รับหรือบุคคลที่อยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับตามที่ผู้ส่งได้จ่าหน้าซองไว้จึงจะถือได้ว่าเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ที่พนักงานไปรษณีย์ให้ลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้แทนโจทก์ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในบ้านโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือในวันดังกล่าวต้องถือเอาวันที่โจทก์ได้รับจริง
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ยไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าจากการขายที่ดิน: การขายสมบัติเก่าไม่ถือเป็นการค้า
การส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่นถึงบุคคลใดเกี่ยวกับภาษีอากรฝ่ายสรรพากรโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรกนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติวิธีการส่งไว้อย่างในกรณีที่มีผู้นำส่ง แต่ย่อมเห็นได้ว่าพนักงานไปรษณีย์ผู้นำส่งจะต้องส่งให้แก่ผู้รับหรือบุคคลที่อยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับตามที่ผู้ส่งได้จ่าหน้าซองไว้จึงจะถือได้ว่าเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ที่พนักงานไปรษณีย์ให้ลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้แทนโจทก์ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในบ้านโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือในวันดังกล่าว ต้องถือเอาวันที่โจทก์ได้รับจริง
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ย ไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและเงินเพิ่ม กรณีนำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรมาหักลดหย่อนผิดกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มกับเสียเงินเพิ่มและโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเรื่องภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลทั้งเรื่องภาษีและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเงินเพิ่ม
โจทก์ทราบดีว่าเงินที่โจทก์แบ่งให้แก่ ก. เป็นผลกำไรของโจทก์ ทั้งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19) ก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ารายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์นำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเป็นการอำพรางข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุลดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและเงินเพิ่ม กรณีนำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรที่ไม่ถูกต้องมาหักลดหย่อน
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มกับเสียเงินเพิ่มและโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเรื่องภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลทั้งเรื่องภาษีและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2). ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเงินเพิ่ม
โจทก์ทราบดีว่าเงินที่โจทก์แบ่งให้แก่ ก. เป็นผลกำไรของโจทก์ทั้งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19)ก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ารายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์นำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเป็นการอำพรางข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุลดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินบริษัทโดยไม่ชำระหนี้ภาษี ผู้ถือหุ้นมี liability ต่อเจ้าหนี้
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินของบริษัทคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไป โดยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นให้รับผิดต่อโจทก์ได้
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดการประเมินภาษีของบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) จึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อศาลต่อไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นให้ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระ มิได้ฟ้องให้รับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ส่วนตัวของจำเลยอื่น จึงไม่จำเป็นต้องเรียกจำเลยอื่นให้ปฏิบัติหรือตอบคำถามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21
การที่เจ้าหนี้ติดตามหนี้สินคืนจากผู้ถือหุ้นที่ได้รับแบ่งทรัพย์สินของบริษัทไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นกลับคืนนั้น มิใช่เป็นเรื่องเรียกให้ชำระมูลค่าของหุ้นที่ยังส่งให้ไม่ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีแบ่งทรัพย์สินบริษัทโดยมิชำระหนี้ภาษี ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดร่วมกับบริษัท
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินของบริษัทคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไปโดยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นให้รับผิดต่อโจทก์ได้
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดการประเมินภาษีของบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) จึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อศาลต่อไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นให้ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ของบริษัท จำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระ มิได้ฟ้องให้รับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ส่วนตัวของจำเลยอื่น จึงไม่จำเป็นต้องเรียกจำเลยอื่นให้ปฏิบัติหรือตอบคำถามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21
การที่เจ้าหนี้ติดตามหนี้สินคืนจากผู้ถือหุ้นที่ได้รับแบ่งทรัพย์สินของบริษัทไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นกลับคืนนั้น มิใช่เป็นเรื่องเรียกให้ชำระมูลค่าของหุ้นที่ยังส่งให้ไม่ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยภาษี
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์ผู้อุทธรณ์มาไต่สวนได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 32
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2),33
of 8