คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 78

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทต่างชาติที่ขายน้ำมันให้หน่วยงานของจัสแมก ไม่ถือเป็นการปฏิบัติงานก่อสร้างหรือด้วยเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการค้าในประเทศไทย ทำการผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงขายน้ำมันให้ดี เอฟ เอส ซี ซึ่งเป็นหน่วยงานของจัสแมกนั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์เข้ามาปฏิบัติงานก่อสร้างหรืองานอื่น ๆ ในประเทศไทยด้วยเงินช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาตามโครงการช่วยเหลือ I.C. A. และ JUSMAGไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีอากรแก่บริษัทต่างชาติที่จำหน่ายน้ำมันให้หน่วยงานของจัสแมก ไม่ถือว่าเข้าข่ายได้รับการยกเว้นตามโครงการช่วยเหลือ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการค้าในประเทศไทย ทำการผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ขายน้ำมันให้ ดี เอส เอส ซี ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัสแมกนั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์เข้าปฏิบัติงานก่อสร้างหรืองานอื่นๆ ในประเทศไทยด้วยเงินช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาตามโครงการช่วยเหลือ I C A และ JUSMAG ไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้า ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราคาเงินสด แต่กำหนดให้ลูกค้าชำระราคาด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยังไม่ถึงกำหนดก็ได้ ในกรณีที่ชำระราคาด้วยตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกค้าจะต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ให้แก่โจทก์ด้วยนั้น การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าอีกจำนวนหนึ่งเพิ่ม ขึ้นจากราคาเงินสดเป็นการนำดอกเบี้ยมาเป็นหลักกำหนดราคาขายเชื่อนั่นเอง แม้ลูกค้าบางคนจะออกตั๋วสัญญาใช้เงินสำหรับดอกเบี้ยเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาให้เงินสำหรับราคาเงินสด หรือโจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินสำหรับดอกเบี้ยเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากจากใบเสร็จรับเงินราคาสินค้าก็ไม่ทำให้ดอกเบี้ยนั้นเป็นดอกเบี้ยของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกชำระราคาสินค้า ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าที่โจทก์ขายเพื่อ เป็นราคาสินค้าอันเป็นรายรับตามวิธีคำนวณรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยในสัญญาซื้อขายเชื่อเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีการค้า
การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราคาเงินสด แต่กำหนดให้ลูกค้าชำระราคาด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยังไม่ถึงกำหนดก็ได้ ในกรณีที่ชำระราคาด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกค้าจะต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับราคาสินค้า นั้นให้แก่โจทก์ ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ให้แก่โจทก์ ด้วยนั้น การที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าอีก จำนวนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากราคาเงินสด เป็นการนำดอกเบี้ยมา เป็นหลักกำหนดราคาขายเชื่อนั่นเอง แม้ลูกค้าบางคนจะ ออกตั๋วสัญญาใช้เงินสำหรับดอกเบี้ย เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหาก จากตั๋วสัญญาใช้เงินสำหรับ ราคาเงินสด หรือโจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินสำหรับดอกเบี้ย เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากจาก ใบเสร็จรับเงินราคาสินค้า ก็ไม่ทำให้ดอกเบี้ยนั้นเป็น ดอกเบี้ยของตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ออกชำระราคาสินค้า ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจึงเป็น ส่วนหนึ่งของราคาสินค้า ที่โจทก์ขายเชื่อ เป็นราคาสินค้า อันเป็นรายรับตามวิธี คำนวณรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การหักลดหย่อนจากใบลดหนี้ประเภทต่างๆ และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ยางรถยนต์ที่โจทก์ขายไปแล้ว ต่อมายางชำรุดเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความบกพร่องในการผลิต โจทก์จึงรับคืนยางที่ชำรุดบกพร่องและเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ โจทก์คิดคำนวณค่ายางชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพดังกล่าวออกมาเป็นตัวเงินเพื่อชดเชยให้แก่ลูกค้า แล้วนำเงินค่าชดเชยนี้ไปหักออกจากราคาปกติของยางเส้นใหม่โดยให้ลูกค้าชำระเงินเป็นราคายางเส้นใหม่ ในราคาคงเหลือจากที่หักค่าชดเชยแล้ว โจทก์จะถือราคายางเส้นใหม่เท่ากับยอดเงินราคายางที่หักค่าชำรุดเสียหายออกเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าไม่ได้ เพราะโจทก์ขายยางเส้นใหม่เสร็จเด็ดขาดเต็มราคา
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ประกาศลดราคาขายยางลง หลังโจทก์ตรวจจำนวนยางที่ยังเหลืออยู่ที่ลูกค้ายังไม่ได้ขายออกไปว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วโจทก์ออกใบลดหนี้เท่าจำนวนราคายางที่ต้องลดให้ลูกค้า ในการเสียภาษีการค้าโจทก์จะนำจำนวนเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวไปหักออกจากรายรับในเดือนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ แล้วเสียภาษีการค้าในจำนวนเงินรายรับที่เหลือนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้ออกจากรายรับเพราะส่วนลดดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีกฎหมายบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้า
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงกับลูกค้าว่า หากลูกค้าซื้อยางจากโจทก์ตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์จะคิดราคายางต่ำลงมาจากราคาปกติ กล่าวคือในตอนแรกคิดราคาตามปกติ เมื่อซื้อครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะลดราคายางให้ เมื่อลูกค้าซื้อยางตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จะลดราคาให้แล้วโจทก์ออกแบบลดหนี้ให้ลูกค้าตามจำนวนที่ลดลง ราคายางที่โจทก์ลดให้ดังกล่าวเป็นการให้ค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ โจทก์จะนำเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้มาหักออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้าไม่ได้เช่นกัน
โจทก์ออกใบกำกับสินค้าโดยลงรายการจำนวนเงินผิดพลาดและลงบัญชีผิดพลาดตามไปด้วย โจทก์จึงออกใบลดหนี้เพื่อยกเลิกใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้นถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้นถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้านั้นและไม่มีรายรับเนื่องจากการขายสินค้าเจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบรับนี้มาคำนวณเป็นรายรับเป็นการไม่ถูกต้อง
ในกิจการค้าของโจทก์ โจทก์ตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายยางแต่ละเดือนไว้ว่าเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนหากยังขายยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวแทนของโจทก์จะเสนอขายยางให้แก่ลูกค้าในราคาต่ำกว่าปกติเป็นกรณีพิเศษ แต่ฝ่ายบัญชีของโจทก์ไม่ทราบ จึงออกใบกำกับสินค้าไปตามราคาปกติ เมื่อลูกค้าทักท้วงมา ฝ่ายบัญชีจึงออกใบลดหนี้เพื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ตรงตามราคายางที่ขายไปจริง ใบลดหนี้ประเภทนี้ออกมาเพื่อให้ราคาที่ขายถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมิใช่รายรับ เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายรับย่อมไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์รับคืนยางที่ชำรุดหลังจ่ายยางเส้นใหม่ให้ หรือลดราคายางที่ค้างสต๊อกของลูกค้าที่ซื้อไปด้วยเงินเชื่อ หรือลดราคายางให้แก่ลูกค้าที่ซื้อยางจำนวนมากก็ดี ไม่เกี่ยวกับรายรับของเดือนภาษีต่อมา ฉะนั้น ที่โจทก์ทำใบลดหนี้ในกรณีดังกล่าวแล้วนำมาหักจากรายรับของเดือนภาษีต่อมา จึงเป็นการส่อเจตนาหลีกเลี่ยภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ลดเบี้ยปรับให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การหักลดหย่อนใบลดหนี้จากรายรับและการหลีกเลี่ยงภาษี
ยางรถยนต์ที่โจทก์ขายไปแล้ว ต่อมายางชำรุดเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความบกพร่องในการผลิต โจทก์จึงรับคืนยางที่ชำรุดบกพร่องและเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ โจทก์คิดคำนวณค่ายางชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพดังกล่าวออกมาเป็นตัวเงินเพื่อชดเชยให้แก่ลูกค้า แล้วนำเงินค่าชดเชยนี้ไปหักออกจากราคาปกติของยางเส้นใหม่โดยให้ลูกค้าชำระเงินเป็นราคายางเส้นใหม่ในราคาคงเหลือจากที่หักค่าชดเชยแล้ว โจทก์จะถือราคายางเส้นใหม่เท่ากับยอดเงินราคายางที่หักค่าชำรุดเสียหายออกเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าไม่ได้ เพราะโจทก์ขายยางเส้นใหม่เสร็จเด็ดขาดเต็มราคา
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ประกาศลดราคายางลง หลังโจทก์ตรวจจำนวนยางที่ยังเหลืออยู่ที่ลูกค้าที่ยังไม่ได้ขายออกไปว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วโจทก์ออกใบลดหนี้เท่าจำนวนราคายางที่ต้องลดให้ลูกค้า ในการเสียภาษีการค้าโจทก์จะนำจำนวนเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวไปหักออกจากรายรับในเดือนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ แล้วเสียภาษีการค้าในจำนวนเงินรายรับที่เหลือนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้ออกจากรายรับ เพราะส่วนลดดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีกฎหมายบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้า
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงกับลูกค้าว่า หากลูกค้าซื้อยางจากโจทก์ตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์จะคิดราคายางต่ำลงมาจากราคาปกติกล่าวคือในตอนแรกคิดราคาตามปกติ เมื่อซื้อครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะลดราคายางให้ เมื่อลูกค้าซื้อยางตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จะลดราคาให้แล้วโจทก์ออกแบบลดหนี้ให้ลูกค้าตามจำนวนที่ลดลง ราคายางที่โจทก์ลดให้ดังกล่าวเป็นการให้ค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ โจทก์จะนำเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้มาหักออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้าไม่ได้เช่นกัน
โจทก์ออกใบกำกับสินค้าโดยลงรายการจำนวนเงินผิดพลาดและลงบัญชีผิดพลาดตามไปด้วย โจทก์จึงออกใบลดหนี้เพื่อยกเลิกใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้น ถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้านั้นและไม่มีรายรับเนื่องจากการขายสินค้า เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบรับนี้มาคำนวณเป็นรายรับเป็นการไม่ถูกต้อง
ในกิจการค้าของโจทก์ โจทก์ตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายยางแต่ละเดือนไว้ว่าเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนหากยังขายยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวแทนของโจทก์จะเสนอขายยางให้แก่ลูกค้าในราคาต่ำกว่าปกติเป็นกรณีพิเศษ แต่ฝ่ายบัญชีของโจทก์ไม่ทราบ จึงออกใบกำกับสินค้าไปตามราคาปกติ เมื่อลูกค้าทักท้วงมา ฝ่ายบัญชีจึงออกใบลดหนี้เพื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ตรงตามราคายางที่ขายไปจริง ใบลดหนี้ประเภทนี้ออกมาเพื่อให้ราคาที่ขายถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมิใช่รายรับ เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายรับย่อมไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์รับคืนยางที่ชำรุดหลังจ่ายยางเส้นใหม่ให้หรือลดราคายางที่ค้างสต๊อกของลูกค้าที่ซื้อไปด้วยเงินเชื่อ หรือลดราคายางให้แก่ลูกค้าที่ซื้อยางจำนวนมากก็ดี ไม่เกี่ยวกับรายรับของเดือนภาษีต่อมา ฉะนั้นที่โจทก์ทำใบลดหนี้ในกรณีดังกล่าวแล้วนำมาหักจากรายรับของเดือนภาษีต่อมา จึงเป็นการส่อเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ลดเบี้ยปรับให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนการค้าผูกพันผู้ประกอบการต้องชำระภาษี แม้จะอ้างว่าถูกเชิดให้จดทะเบียน
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้ามาตรา 80 วรรคแรก ให้ผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอจดทะเบียนการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดมาตรา 84 ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบการค้าไว้ดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษี เมื่อโจทก์ยื่น คำขอจดทะเบียนการค้าโรงเลื่อย ส. ย่อมเป็นหลักฐานแสดงตนต่อทางราชการว่า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในกิจการนั้นตามกฎหมาย เป็นการยินยอมผูกพันตนที่จะยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเสียภาษีการค้ารวมทั้งยอมรับว่ามีเงินได้จากกิจการที่จดทะเบียนการค้าไว้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ถูกเชิดให้ขอจดทะเบียนการค้าอันเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างโจทก์กับ จ. นอกเหนือจากที่แสดงไว้ต่อทางราชการ เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดชำระภาษีหาได้ไม่ เมื่อทะเบียนการค้ามีชื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าทั้งแบบแสดงรายการการค้าและภาษีเงินได้ที่ยื่นไว้ในนามโจทก์ แสดงรายรับไว้ต่ำกว่าความจริงเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีเกินและสิทธิการขอคืนเงิน รวมถึงข้อยกเว้นภาษีการค้านำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต
โจทก์เป็นผู้ยื่นชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้เองโดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไม่ได้ประเมินเรียกให้โจทก์ชำระ ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจนำคดีมาฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ค่าภาษีเงินซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืน แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน โดยต้องกยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ ดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึงตุลาคม 2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีเงินได้แทนลูกจ้าง และการคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบเพื่อการผลิต
โจทก์เป็นผู้ยื่นชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้เองโดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไม่ได้ประเมินเรียกให้โจทก์ชำระดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่มีการประเมินเรียกเก็บโจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจนำคดีมาฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ค่าภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายการที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืนแม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนโดยต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกันส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึง ตุลาคม 2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีอากรขาเข้าและเงินวางประกันกรณีส่งออกสินค้าคืน และการประเมินราคาภาษีอากรเพิ่มเติม
โจทก์ได้เสียภาษีอากรสำหรับสินค้าปลากระป๋องเที่ยวที่ 8 ตามใบขนสินค้าขาเข้า คืออากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล รวม 227,046.41 บาท ให้กรมศุลกากรจำเลยไว้แล้ว สินค้าปลากระป๋องเที่ยวนี้โจทก์ได้ส่งกลับออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ทั้งหมดและได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจากจำเลยแล้วซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินอากรขาเข้าให้แก่โจทก์เก้าในสิบส่วน หรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 18 และคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาล ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 78 น.ว. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 11 ฉะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีการให้โจทก์ 224,670.94 บาท จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องชำระภาษีการที่จำเลยเรียกเก็บเพิ่มจากโจทก์สำหรับสินค้าปลากระป๋องทั้ง 8 เที่ยวให้จำเลยเสียก่อนจึงจะคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ตามมาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 หาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องให้อำนาจอธิบดีกักของไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินอากรที่ค้างครบถ้วนและเป็นคนละเรื่องกัน และจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปนับแต่วันที่โจทก์ขอคืนและจำเลยไม่คืนให้ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ผิดนัด
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
of 21