คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 78

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าในสัญญาจ้างทำของ
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกับอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหมโจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมาเมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก็เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค. จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค. ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้างเมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเองโจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าที่รับเงินค่าจ้าง
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกันอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหม โจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างใดขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย ครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้ แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมา เมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก้เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค.ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้าง เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเอง โจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า: การตีความ 'ขาย' ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการขายของประเภท 1 ชนิด 1(ก)ในฐานะผู้ผลิตสินค้าซิเมนต์ เหล็ก อิฐ ได้สั่งกระดาษม้วน ด้าย และเทปกระดาษเข้ามาเพื่อผลิตเป็นถุงกระดาษบรรจุปูนซิเมนต์ ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะขายถุงปูนซิเมนต์โดยคำนวณต้นทุนผลิตรวมกันไปกับปูนซิเมนต์หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สั่งสินค้าดังกล่าวเข้ามาใช้ผลิตเพื่อขายซึ่งสินค้าที่โจทก์ได้ประกอบการค้าอยู่ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่โจทก์นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายแล้ว จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งได้ขายสินค้านี้ และให้ถือมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (1) ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็กและสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3)ไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การนำเข้าสมุดเช็คจากต่างประเทศถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทธนาคาร ได้สั่งสมุดเช็คจากประเทศอังกฤษเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ โดยมอบให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์ใช้สั่งจ่ายเงินสมุดเช็คนั้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาตรา 79 ทวิ (1) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายและสินค้าเหล่านั้นมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ถือว่าเป็นการขายสินค้า สมุดเช็คที่โจทก์สั่งเข้ามามีราคาถึงสามแสนบาทเศษ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้ตามปกติและตามสมควร โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าสมุดเช็คซึ่งตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 3) ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้าในวันนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อคำนวณมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับในการที่จะประเมินภาษีการค้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสมุดเช็คซึ่งคำนวณได้ดังกล่าวในประเภทการค้า 1 การขายของ รายการที่ประกอบการค้าการขายสินค้าชนิด 1 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าสมุดเช็ค: การนำเข้าเพื่อใช้ในกิจการธนาคาร ถือเป็นการขายสินค้าต้องเสียภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทธนาคาร ได้สั่งสมุดเช็คจากประเทศอังกฤษเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ โดยมอบให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์ใช้สั่งจ่ายเงิน สมุดเช็คนั้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาตรา 79 ทวิ(1) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายและสินค้าเหล่านั้นมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ถือว่าเป็นการขายสินค้า สมุดเช็คที่โจทก์สั่งเข้ามามีราคาถึงสามแสนบาทเศษ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้ตามปกติและตามสมควร โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าสมุดเช็ค ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 3) ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้าในวันนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อคำนวณมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับในการที่จะประเมินภาษีการค้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสมุดเช็คซึ่งคำนวณได้ดังกล่าวในประเภทการค้า 1 การขายของ รายการที่ประกอบการค้า การขายสินค้าชนิด 1(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับธุรกิจค้ำประกัน: มิใช่การเป็นนายหน้าหรือตัวแทน แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าประเภทธนาคาร
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจการค้าหลายประเภทซึ่งรวมทั้งการเข้าทำสัญญาค้ำประกันต่อธนาคารในการประกอบธุรกิจในทางค้ำประกันโจทก์ได้ทำสัญญาต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดยโจทก์จะรับเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในบรรดาธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารจะมอบหมายให้เป็นผู้ค้ำประกันผู้เคยค้าที่จะทำนิติกรรมผูกพันกับธนาคาร ซึ่งในการนี้ธนาคารได้ช่วยค่าใช้จ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนๆ ละไม่น้อยกว่า 5,000 บาททุกเดือน และยังแบ่งผลประโยชน์ที่ธนาคารจะพึงได้รับจากดอกเบี้ยที่โจทก์เข้าค้ำประกันให้อีก ทั้งธนาคารยอมให้โจทก์เรียกผลประโยชน์ในการค้ำประกันจากลูกหนี้ตามสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของโจทก์ โจทก์ได้นำหลักทรัพย์มูลค่าสิบล้านบาทมาวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารการประกอบกิจการค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เอง โดยโจทก์ใช้ทรัพย์สินเป็นการลงทุนวางเป็นประกันต่อธนาคารและในการที่โจทก์เข้าทำสัญญาค้ำประกันลูกหนี้กับธนาคารนั้น แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ตอบแทน โจทก์ก็เสี่ยงในการที่จะได้รับความเสียหายในฐานะร่วมรับผิดต่อธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเป็นส่วนตัว การประกอบกิจการค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นนายหน้าและตัวแทน ทั้งมิใช่เป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 10แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าในประเภทการค้า 12 ธนาคารโดยกิจการของโจทก์เข้าลักษณะกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจค้ำประกันไม่เข้าข่ายนายหน้า/ตัวแทน เสียภาษีตามประเภทธุรกิจธนาคาร
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจการค้าหลายประเภทซึ่งรวมทั้งการเข้าทำสัญญาค้ำประกันต่อธนาคาร ในการประกอบธุรกิจในทางค้ำประกันโจทก์ได้ทำสัญญาต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดยโจทก์จะรับเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในบรรดาธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารจะมอบหมายให้เป็นผู้ค้ำประกันผู้เคยค้าที่จะทำนิติกรรมผูกพันกับธนาคาร ซึ่งในการนี้ธนาคารได้ช่วยค่าใช้จ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนๆ ละไม่น้อยกว่า 5,000 บาททุกเดือน และยังแบ่งผลประโยชน์ที่ธนาคารจะพึงได้รับจากดอกเบี้ยที่โจทก์เข้าค้ำประกันให้อีก ทั้งธนาคารยอมให้โจทก์เรียกผลประโยชน์ในการค้ำประกันจากลูกหนี้ตามสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของโจทก์ โจทก์ได้นำหลักทรัพย์มูลค่าสิบล้านบาทมาวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารการประกอบกิจการค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เองโดยโจทก์ใช้ทรัพย์สินเป็นการลงทุนวางเป็นประกันต่อธนาคารและในการที่โจทก์เข้าทำสัญญาค้ำประกันลูกหนี้กับธนาคารนั้น แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ตอบแทน โจทก์ก็เสี่ยงในการที่จะได้รับความเสียหายในฐานะร่วมรับผิดต่อธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเป็นส่วนตัว การประกอบกิจการค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นนายหน้าและตัวแทน ทั้งมิใช่เป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 10 แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าในประเภทการค้า 12 ธนาคาร โดยกิจการของโจทก์เข้าลักษณะกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เชวิงบอร์ดเป็นไม้อัดประเภทหนึ่ง ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราเดียวกับไม้อัดตามกฎหมาย
เชวิงบอร์ด (SHAVINGBOARD) มีกรรมวิธีในการผลิตโดยนำเอาเศษไม้ชิ้นเล็กๆ หรือที่เรียกว่าขี้กบ มาผสมกับกาวและขี้ผึ้ง แล้วเข้าเครื่องอัดร้อนทำให้เป็นแผ่นมีความกว้างยาวตามมาตรฐานด้านละ 4 ฟุต ความหนา 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ชื่อภาษาไทยเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าแผ่นขี้กบอัด ในทางวิชาการถือว่าเป็นแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาโดยสภาพของสินค้าสำเร็จรูปหรือโดยหลักวิชาการ แผ่นเชวิงบอร์ดย่อมจัดเข้าเป็นสินค้าไม้อัดชนิดหนึ่ง ดุจเดียวกับไม้อัดชนิดพลายวูด (PLYWOOD) ซึ่งใช้ไม้เป็นวัตถุดิบด้วยการผลิตจากการฝานท่อนซุงเป็นแผ่นบางๆ แล้วเข้าเครื่องจักรอัดด้วยกาวเป็นแผ่นเช่นเดียวกัน การตั้งชื่อสินค้าให้แตกต่างกันออกไปย่อมเป็นเรื่องของวิธีการผลิตเท่านั้น แม้เดิมตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2504 บัญชีที่ 1สินค้าอันดับ 37 จะระบุว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือแอสเบสต๊อสเชวิงบอร์ด" ซึ่งต้องพิกัดอัตราภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตที่มิได้เป็นผู้ส่งออกไว้อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ และต่อมาตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 บัญชีที่ 1 หมวด 4 ว่าด้วยวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1. จะระบุไว้เพียงสั้นๆ ว่า"ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือใยหิน" โดยไม่มีชื่อสินค้าเชวิงบอร์ดเหมือนเดิมก็ตาม แต่เมื่อเชวิงบอร์ดมีคุณลักษณะเป็นไม้อัด ก็ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับไม้อัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เชวิงบอร์ดเป็นไม้อัดเสียภาษีการค้าอัตราเดิม แม้ชื่อสินค้าเปลี่ยนไป
เชวิงบอร์ด (SHAVING BOARD) มีกรรมวิธีในการผลิตโดยนำเอาเศษไม้ชิ้นเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่าขี้กบ มาผสมกับกาวและขี้ผึ้งแล้วเข้าเครื่องอัดร้อนทำให้เป็นแผ่นมีความกว้างยาวตามมาตรฐานด้านละ 4 ฟุต ความหนา 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ชื่อภาษาไทยเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าแผ่นขี้กบอัด ในทางวิชาการถือว่าเป็นแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาโดยสภาพของสินค้าสำเร็จรูปหรือโดยหลักวิชาการ แผ่นเชวิงบอร์ดย่อมจัดเข้าเป็นสินค้าไม้อัดชนิดหนึ่ง ดุจเดียวกับไม้อัดชนิดพลายวูด (PLYWOOD) ซึ่งใช้ไม้เป็นวัตถุดิบด้วยการผลิตจากการฝานท่อนซุงเป็นแผ่นบางๆแล้วเข้าเครื่องจักรอัดด้วยกาวเป็นแผ่นเช่นเดียวกัน การตั้งชื่อสินค้าให้แตกต่างกันออกไปย่อมเป็นเรื่องของวิธีการผลิตเท่านั้น แม้เดิมตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 บัญชีที่ 1 สินค้าอันดับ 37 จะระบุว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือแอสเบสต๊อสเชวิงบอร์ด" ซึ่งต้องพิกัดอัตราภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตที่มิได้เป็นผู้ส่งออกไว้อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ และต่อมาตามพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 บัญชีที่ 1 หมวด 4 ว่าด้วยวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1) จะระบุไว้เพียงสั้น ๆ ว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือใยหิน" โดยไม่มีชื่อสินค้าเชวิงบอร์ดเหมือนเดิมก็ตาม แต่เมื่อเชวิงบอร์ดมีคุณลักษณะเป็นไม้อัด ก็ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับไม้อัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817-1818/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าฟิล์มภาพยนตร์เพื่อเช่าฉาย ถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้าทั้งในฐานะผู้นำเข้าและผู้ให้เช่า
การนำสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร เข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ทวิ ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับ และให้ถือว่าผู้ที่นำสินค้านั้นเข้าในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1
ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายเสร็จแล้วส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นสินค้าในประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขาย จึงถือว่าโจทก์ผู้ที่นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้าได้ขายฟิล์มภาพยนตร์ และให้ถือมูลค่าของฟิล์มภาพยนตร์นั้นเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ทวิ แม้โจทก์จะประกอบการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และได้เสียภาษีการค้าในประเภทดังกล่าวถูกต้องแล้ว แต่ตามประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาท ไม่มีบทยกเว้นให้โจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วเข้าในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) อีกด้วย
เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในขณะเดียวกัน 2 ประเภทคือประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) และประเภทการค้า 5 โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าทั้งสองประเภท และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน หากแต่เป็นการเสียภาษีแต่ละประเภทการค้าที่โจทก์ได้กระทำในฐานะผู้ประกอบการค้าให้ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร
(วรรค 2 วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17-18/2516)
of 21