คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 78

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนการค้า แม้ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ต้องอุทธรณ์ก่อนฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียน แต่ได้จดทะเบียนการค้าประเภทขายอสังหาริมทรัพย์ไว้แล้ว มีสถานการค้าที่แน่นอนเป็นหลักฐานประกอบกันแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ประกอบการค้าจึงต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจำเลยก็มีอำนาจใช้สิทธิประเมินเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรได้ โจทก์จะอ้างว่าเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ไม่ได้ เพราะการเรียกเก็บของจำเลยมีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือการประเมินเรียกไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บนั้นตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรเสียก่อน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 1895/2493,519/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งตัวแทนบริษัทต่างประเทศ: พิจารณาจากหนังสือมอบอำนาจและพฤติการณ์ประกอบเพื่อผูกพันนิติบุคคล
บริษัทในต่างประเทศทำหนังสือมอบอำนาจระบุชื่อผู้รับมอบอำนาจ ตำบลบ้าน และมีข้อความต่อไปว่า กรรมการบริษัทโจทก์ รวมทั้งระบุที่ตั้งสำนักงานของโจทก์ด้วย เพียงเท่านี้ยังไม่ชัดแจ้งว่าตั้งบุคคลนั้นเป็นส่วนตัวหรือในฐานะกรรมการบริษัทโจทก์ อันจะผูกพันโจทก์ในฐานะที่ผู้รับมอบอำนาจนั้นเป็นกรรมการผู้แทนนิติบุคคล จึงจำต้องพิจารณาพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วย
การที่บริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทในต่างประเทศแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อมีเหตุที่จะต้องตั้งผู้รับมอบอำนาจในประเทศไทย บริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ขายคงไม่ตั้งผู้อื่น ถ้าสามารถตั้งบริษัทโจทก์ได้นั้น ย่อมเป็นพยานพฤติเหตุประการหนึ่ง เหตุนี้ แม้หนังสือแต่งตั้งจะระบุชื่อบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ตลอดจนระบุที่ตั้งสำนักงานบริษัทโจทก์ด้วย ย่อมแสดงให้เห็นว่าบริษัทต่างประเทศมิได้ตั้งกรรมการบริษัทโจทก์เป็นส่วนตัว แต่ตั้งในฐานะกรรมการบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทำการค้าแทนบริษัทโจทก์จึงเป็นตัวแทนซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ และมาตรา 78 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญา CIF และการเสียภาษี กรณีผู้ซื้อชำระค่าระวางแทนผู้ขาย ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษี
สัญญาแบบ ซี.ไอ.เอฟ. เป็นสัญญาซื้อขายที่ระบุราคาสินค้าโดยคิดรวมค่าระวางบรรทุกและค่าประกันภัยไว้ด้วย เมื่อโจทก์ผู้ขายว่ามีข้อสัญญากันเป็นพิเศษให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าระวางบรรทุก แต่จำเลยปฏิเสธ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้าง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบ
การที่โจทก์ผู้ขายได้รับเงินค่าขายไม้จากผู้ซื้อ ค่าระวางบรรทุกเป็นค่าใช้จ่ายอยู่ในการลงทุนของโจทก์ และผู้ซื้อได้ชำระค่าระวางแทนโจทก์จากเงินราคาค่าไม้ที่โจทก์ได้รับชำระจากผู้ซื้อ จึงต้องถือว่าเงินค่าขายไม้เป็นเงินที่โจทก์ได้รับชำระหรือรายรับของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากโจทก์สำหรับค่าระวางด้วย จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ้างฎีกาที่ 785/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญา CIF และการเสียภาษี: การชำระค่าระวางบรรทุกโดยผู้ซื้อถือเป็นรายรับของผู้ขาย
สัญญาแบบ ซี.ไอ.เอฟ เป็นสัญญาซื้อขายที่ระบุราคาสินค้าโดยคิดรวมค่าระวางบรรทุกและค่าประกันภัยไว้ด้วย เมื่อโจทก์ผู้ขายว่ามีข้อสัญญากันเป็นพิเศษให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าระวางบรรทุก แต่จำเลยปฏิเสธ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้าง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบ
การที่โจทก์ผู้ขายได้รับเงินค่าขายไม้จากผู้ซื้อค่าระวางบรรทุกเป็นค่าใช้จ่ายอยู่ในการลงทุนของโจทก์และผู้ซื้อได้ชำระค่าระวางแทนโจทก์จากเงินราคาค่าไม้ที่โจทก์ได้รับชำระจากผู้ซื้อ จึงต้องถือว่าเงินค่าขายไม้เป็นเงินที่โจทก์ได้รับชำระหรือรายรับของโจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากโจทก์สำหรับค่าระวางด้วย จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ้างฎีกาที่ 785/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่ประเมินเพิ่มเติมหลังล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษี โดยผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการต่อเจ้าพนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปพร้อมกับชำระค่าภาษีตามมาตรา 85 ทวิ และ 86 ด้วยนั้น เป็นการชำระค่าภาษีการค้าล่วงหน้าไปก่อนตามรายการที่ยื่นไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายการที่ยื่นเห็นว่าถูกต้องและพอใจ ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าภาษีโดยสมบูรณ์แล้ว ส่วนเงินค่าภาษีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ จะถือว่าค่าภาษีสำหรับรายการดังกล่าวนั้นได้ถึงกำหนดชำระด้วยแล้วหาได้ไม่ เพราะเมื่อยังไม่ได้ยื่นแสดงรายการก็ยังไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระ แต่เมื่อเจ้าพนักงานอาศัยอำนาจตามมาตรา 19, 20 ทำการไต่สวนและประเมินค่าภาษีใหม่สำหรับรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องครบถ้วน และสั่งให้นำเงินภาษีไปชำระเพิ่มเติมภายใน 30 วันแล้ว ค่าภาษีที่จะต้องเสียเพิ่มเติมใหม่นี้ก็ย่อมถึงกำหนดชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไป
หนี้ค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้จะต้องเสียและถึงกำหนดชำระภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น กฎหมายยอมให้เจ้าหนี้เข้ามาขอรับชำระหนี้ได้ และเมื่อหนี้ค่าภาษีนี้เป็นหนี้ที่จะได้รับในลำดับก่อนหนี้อื่น ๆ แล้ว ก็หาทำให้การที่จะได้รับชำระหนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมรดก ไม่ถือเป็นการค้าหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์รับมรดกที่ดิน 16 ไร่เศษ ราคาไม่เกินไร่ละ 800 บาทจากสามีผู้วายชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2488 ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2499-2501 โจทก์จัดทำถนนผ่ากลางที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงเล็กๆ 27 แปลง ขายได้ราคาไร่ละ80,000 บาท ถึง 100,000 บาท นั้น เห็นได้ว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่านั้น มิใช่ขายเป็นทางค้าหากำไร โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้นโจทก์จะฎีกาว่าโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมรดกไม่ถือเป็นการค้าหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์รับมรดกที่ดิน 12 ไร่เศษ ราคาไม่เกินไร่ละ 800 บาท จากสามีผู้วายชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2488 ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2499 -2501 โจทก์จัดทำถนนผ่ากลางที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ 27 แปลง ขายได้ราคาไร่ละ 80,000 บาท ถึง 100,000 บาทนั้น เห็นได้ว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่านั้น มิใช่ขายเป็นทางค้าหากำไร โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้น โจทก์จะฎีกาว่า โจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีภาษีการค้าและการขายฝิ่นที่ไม่เข้าข่ายสินค้าตามกฎหมาย
1. เมื่อเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้วย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
2. ตามความในประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 มาตรา 78,79 การขอายของตามบัญชีอัตราภาษีค้าประเภทที่ 2 นั้น หมายถึงการขายสินค้าซึ่งโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การซื้อขายฝินซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้อขายฝิ่นตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 หมวด 3 นั้น จึงไม่ใช่สินค้าที่ขายกันได้ตามความในประมวลรัษฎากร ผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการเสียภาษีการค้า.
(ข้อ 2 ประใหญ่ ครั้งที่ 42 - 43/2504).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและข้อยกเว้นภาษีการค้าสำหรับสินค้าผิดกฎหมาย ฝิ่นไม่ใช่สินค้าที่ขายได้ตามประมวลรัษฎากร
1. เมื่อเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
2. ตามความในประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 มาตรา 78,79 การขายของตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทที่ 2 นั้นหมายถึงการขายสินค้าซึ่งโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การซื้อขายฝิ่นซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้อขายฝิ่นตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 หมวด 3นั้น จึงไม่ใช่สินค้าที่ขายกันได้ตามความในประมวลรัษฎากร ผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการเสียภาษีการค้า
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42-43/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขนส่งที่บริษัทจ่ายให้ตัวแทนมิใช่รายได้จากการเป็นนายหน้าและตัวแทน จึงไม่ต้องเสียภาษี
บริษัทจำหน่ายน้ำหวานซึ่งมีหน้าที่ต้องขนส่งน้ำหวานไปให้ตัวแทนของบริษัทในการจำหน่ายน้ำหวานนั้น ได้จ่ายเงินค่าขนส่งให้แก่ตัวแทนเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เงินค่าขนส่งนี้มิใช่เป็นรายรับของตัวแทนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ที่ตัวแทนจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทนายหน้าและตัวแทน
of 21