พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบลดหนี้และใบกำกับภาษีกรณีสินค้าเสียหายและเปลี่ยนทดแทน
โจทก์ได้ส่งมอบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงที่โจทก์อ้างว่าเสียหายให้แก่บริษัท ท. โดยมีการชำระราคาและออกใบกำกับภาษีแล้ว ความรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นแล้ว หากต่อมาเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงดังกล่าวเกิดความเสียหายและโจทก์ได้เปลี่ยนของใหม่ทดแทนของเดิมและได้รับเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงที่เสียหายกลับคืนมา โจทก์มีหน้าที่ต้องออกใบลดหนี้สำหรับเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงตามจำนวนที่เสียหายและนำภาษีขายนั้นมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/10 ประกอบคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.80/2542 และเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงจำนวนใหม่ทดแทนของเดิม กรณีจึงเกิดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงใหม่ที่นำมาทดแทน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตั้งแต่เมื่อมีการส่งมอบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงจำนวนใหม่โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4987/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากรายได้จากการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศ และการหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮ่องกงและมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยทำสัญญากับบริษัท ย. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศอังกฤษและไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ต่างประเทศจำนวนมาก โดยมีข้อตกลงให้โจทก์นำภาพยนตร์ของบริษัท ย. จำกัด มาฉายในประเทศไทย เมื่อโจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในประเทศไทยแล้ว โจทก์ต้องจ้างบุคคลภายนอกทำก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์เพื่อนำไปฉายในโรงภาพยนตร์ได้หลายแห่งในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ฟิล์มภาพยนตร์ที่โจทก์ส่งไปฉายยังโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ จึงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เมื่อโจทก์ซึ่งไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นำฟิล์มภาพยนตร์นั้นไปให้เจ้าของโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครฉายให้คนดู โดยเจ้าของโรงภาพยนตร์มีรายรับจากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมภาพยนตร์และตกลงแบ่งรายรับกันระหว่างโจทก์กับเจ้าของโรงภาพยนตร์ ถือเป็นการให้เจ้าของโรงภาพยนตร์ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในฟิล์มภาพยนตร์ในชั่วระยะเวลาอันจำกัด และเจ้าของโรงภาพยนตร์แบ่งรายรับให้โจทก์จึงเป็นการให้เช่าทรัพย์สิน โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สิน มีหน้าที่เสียภาษีการค้า (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 1817-1818/2516)
การที่บริษัท ย. จำกัด ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์นำภาพยนตร์ที่รับมาจากต่างประเทศเข้ามาฉายในประเทศไทย ค่าเช่าหรือค่าตอบแทนที่บริษัท ย. จำกัด ได้รับจากโจทก์ในประเทศไทยจึงเป็นค่าตอบแทนการใช้สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ ถือเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) ซึ่งตาม ป. รัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มิให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น บริษัท ย. จำกัด จึงต้องเสียภาษีโดยให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การที่บริษัท ย. จำกัด ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์นำภาพยนตร์ที่รับมาจากต่างประเทศเข้ามาฉายในประเทศไทย ค่าเช่าหรือค่าตอบแทนที่บริษัท ย. จำกัด ได้รับจากโจทก์ในประเทศไทยจึงเป็นค่าตอบแทนการใช้สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ ถือเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) ซึ่งตาม ป. รัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มิให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น บริษัท ย. จำกัด จึงต้องเสียภาษีโดยให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อ: การกำหนดจุดส่งมอบและหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
การขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านทางท่อที่ลูกหนี้จำหน่ายให้ลูกค้าโดยมีวิธีการส่งน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อซึ่งมีมิเตอร์วัดปริมาณตลอด24 ชั่วโมง และส่งมอบแก่ลูกค้ารายเดียว จึงสามารถกำหนดปริมาณได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันปริมาณเท่าใด เมื่อใด เทียบเคียงได้กับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่สายการบินซึ่งจะทราบปริมาณการส่งมอบได้ในแต่ละครั้งที่เติม และเจ้าหนี้อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีได้ครั้งเดียวใน 1 วัน ตามหนังสือตอบข้อหารือในสำนวน แตกต่างจากการขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปาซึ่งเป็นสินค้าสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลายรายและเป็นจำนวนมากไม่แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละรายจะบริโภคปริมาณมากน้อยเพียงใดในแต่ละวันจึงไม่สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 78 มิใช่กรณีที่ลูกหนี้และลูกค้าไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด อันจะมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามมาตรา 78/3(1) และข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 189ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำเยื่อกระดาษ: การกำหนดจุดส่งมอบและหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระเป็นการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านทางท่อที่ลูกหนี้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า โดยมีวิธีการส่งน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อซึ่งมีมิเตอร์วัดปริมาณตลอด 24 ชั่วโมง และส่งมอบแก่ลูกค้ารายเดียว จึงสามารถกำหนดปริมาณได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันปริมาณเท่าใดเมื่อใด เทียบเคียงได้กับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่สายการบินซึ่งจะทราบปริมาณการส่งมอบได้ในแต่ละครั้งที่เติมและเจ้าหนี้อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีได้ครั้งเดียวใน 1 วัน แตกต่างจากการขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งเป็นสินค้าสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลายรายและเป็นจำนวนมาก ไม่แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละรายจะบริโภคปริมาณมากน้อยเพียงใดในแต่ละวัน จึงไม่สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 มิใช่กรณีที่ลูกหนี้และลูกค้าไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใดอันจะมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78/3 (1) และข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในบางกรณี ฉะนั้น เมื่อมีแนวปฏิบัติเป็นการภายในของเจ้าหนี้ที่อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งเดียวใน 1 วัน จึงเป็นธรรมและเหมาะสมแล้วแม้การมีมิเตอร์วัดปริมาณที่ท่อส่งน้ำเยื่อกระดาษและการขายสินค้าให้แก่ลูกค้ารายเดียวจะมิใช่เหตุผลที่จะนำมาพิจารณาว่า สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน หรือมิใช่การขายสินค้าในลักษณะเดียวกับกระแสไฟฟ้าหรือน้ำประปา แต่เมื่อนำเหตุทั้งสองมาพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ได้ความก็สามารถกำหนดจุดส่งมอบและชี้ให้เห็นข้อแตกต่างในเรื่องลักษณะของการขายสินค้าว่าจัดอยู่ในประเภทใดได้แน่นอนชัดเจนยิ่งขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9161/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลงหลังทำสัญญาซื้อขาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (17) มาตรา 78 และมาตรา82/4 วรรคหนึ่ง ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้ามีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่พระราชกฤษฎีกากำหนดและความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่จะได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกำกับสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า การที่สัญญาซื้อขายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ระบุว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เป็นอัตราตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ในขณะนั้น เป็นเพียงการระบุเพื่อให้เห็นว่าราคาสินค้ามิได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ได้แยกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ต่างหากเท่านั้น มิใช่ข้อผูกพันว่าผู้ซื้อและผู้ขายตกลงชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
อัตราค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด ส่วนผู้มีหน้าที่ชำระแก่กรมสรรพากรคือเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งก็คือลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โดยเจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 และลูกหนี้รับสินค้าไว้แล้วเช่นนี้ ลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 อันเป็นอัตราที่พระราชกฤษฎีกากำหนดใช้ในเวลาที่มีการส่งมอบสินค้านั้น ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกันนี้แก่กรมสรรพากร ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอให้ลูกหนี้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระเพิ่มไปจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระแก่กรมสรรพากร
ที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายคดีนี้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้โอนไปยังลูกหนี้นับแต่เมื่อได้เข้าทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เจ้าหนี้ต้องออกใบกำกับภาษีในวันที่ทำสัญญา ตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรได้บรรยายชนิดและจำนวนเครื่องจักรไว้ 9 รายการ มิได้ระบุหมายเลขประจำเครื่องจักรหรือหมายเลขประจำอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงยังมิใช่ทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ทั้งในสัญญาก็มีข้อความว่า ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาเพียงร้อยละ20 ส่วนราคาที่เหลืออีกร้อยละ 80 ผู้ซื้อจะชำระให้ร้อยละ 40 ในวันส่งมอบเครื่องจักรและจะชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 ในวันที่ติดตั้งเครื่องและทดลองคุณภาพของเครื่องที่ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เห็นได้ว่าสาระสำคัญของสัญญาซื้อขายนี้จะต้องติดตั้งเครื่องจักรและทดลองเดินเครื่องให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ หากไม่ได้ผลตามที่กำหนดอาจต้องเปลี่ยนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบแต่ละรายการหรือทั้งหมดอีกก็ได้กรณีจึงเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าแต่ละชิ้นในวันที่ส่งมอบหรือติดตั้งสินค้า จึงเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้ว การที่เจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10จึงมิใช่ความผิดของเจ้าหนี้
อัตราค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด ส่วนผู้มีหน้าที่ชำระแก่กรมสรรพากรคือเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งก็คือลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โดยเจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 และลูกหนี้รับสินค้าไว้แล้วเช่นนี้ ลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 อันเป็นอัตราที่พระราชกฤษฎีกากำหนดใช้ในเวลาที่มีการส่งมอบสินค้านั้น ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกันนี้แก่กรมสรรพากร ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอให้ลูกหนี้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระเพิ่มไปจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระแก่กรมสรรพากร
ที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายคดีนี้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้โอนไปยังลูกหนี้นับแต่เมื่อได้เข้าทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เจ้าหนี้ต้องออกใบกำกับภาษีในวันที่ทำสัญญา ตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรได้บรรยายชนิดและจำนวนเครื่องจักรไว้ 9 รายการ มิได้ระบุหมายเลขประจำเครื่องจักรหรือหมายเลขประจำอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงยังมิใช่ทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ทั้งในสัญญาก็มีข้อความว่า ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาเพียงร้อยละ20 ส่วนราคาที่เหลืออีกร้อยละ 80 ผู้ซื้อจะชำระให้ร้อยละ 40 ในวันส่งมอบเครื่องจักรและจะชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 ในวันที่ติดตั้งเครื่องและทดลองคุณภาพของเครื่องที่ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เห็นได้ว่าสาระสำคัญของสัญญาซื้อขายนี้จะต้องติดตั้งเครื่องจักรและทดลองเดินเครื่องให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ หากไม่ได้ผลตามที่กำหนดอาจต้องเปลี่ยนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบแต่ละรายการหรือทั้งหมดอีกก็ได้กรณีจึงเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าแต่ละชิ้นในวันที่ส่งมอบหรือติดตั้งสินค้า จึงเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้ว การที่เจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10จึงมิใช่ความผิดของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีส่วนท้องถิ่นจากการขายที่ดินในคดีล้มละลาย ศาลฎีกาพิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 112 (1) และเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง การจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมบางประเภท (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 ข้อ 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การค้าซึ่งสถานการค้าอยู่ในเขตเทศบาล ให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีเพิ่มเพื่อเทศบาลอีกในอัตราร้อยละ 10 ของอัตราภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากร ความมุ่งหมายของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้สถานการค้าในเขตเทศบาลกรุงเทพหรือกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ต้องชำระภาษีเพิ่มเพื่อเทศบาล
ลูกหนี้ขายที่ดินไป 1 แปลง โดยไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีสถานการค้า จึงต้องถือว่าบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของลูกหนี้เป็นสถานการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 (เดิม) เมื่อสถานการค้าดังกล่าวอยู่ในเขตเทศบาลนครกรุงเทพหรือกรุงเทพมหานคร ลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนท้องถิ่น
ภาษีส่วนท้องถิ่นที่คำนวณมาจากเงินเพิ่มภาษีอากรการค้าจำนวน 80,052.50 บาท ในอัตราร้อยละ 10 เมื่อเงินเพิ่มจำนวน 35,145 บาท ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 3,514.50 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130 (6) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนเงินเพิ่มที่เหลือจำนวน 44,907.50 บาท ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 4,490.75 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะต้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130 (8) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
ลูกหนี้ขายที่ดินไป 1 แปลง โดยไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีสถานการค้า จึงต้องถือว่าบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของลูกหนี้เป็นสถานการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 (เดิม) เมื่อสถานการค้าดังกล่าวอยู่ในเขตเทศบาลนครกรุงเทพหรือกรุงเทพมหานคร ลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนท้องถิ่น
ภาษีส่วนท้องถิ่นที่คำนวณมาจากเงินเพิ่มภาษีอากรการค้าจำนวน 80,052.50 บาท ในอัตราร้อยละ 10 เมื่อเงินเพิ่มจำนวน 35,145 บาท ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 3,514.50 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130 (6) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนเงินเพิ่มที่เหลือจำนวน 44,907.50 บาท ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 4,490.75 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะต้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130 (8) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8797/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ทะเบียนการค้ายังอยู่ แต่หากไม่ได้ประกอบการค้าและไม่มีรายได้ ก็ไม่ต้องเสียภาษี
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าทะเบียนการค้าระหว่างเดือนมิถุนายน2533 ถึงเดือนธันวาคม 2533 จะยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยโจทก์มิได้แจ้งเลิกประกอบการค้าหรือโอนกิจการค้าต่อเจ้าพนักงานตามมาตรา 82 ทวิ ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบกิจการไนท์คลับและไม่มีรายรับจากการประกอบการค้าดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 โรงแรมและภัตตาคารชนิด (ก) ตามการประเมินของเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร และการเสียภาษีเงินได้/ภาษีการค้า ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงเจตนาการซื้อขายและการหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากการที่โจทก์ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยให้การว่าโจทก์ซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงว่ากรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นโจทก์ได้รับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ และสำหรับกรณีภาษีการค้านั้น โจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 43091 ตำบลมหาพฤฒาราม พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และ มาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญและพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย การที่โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วขายไปในระยะเวลาเพียงสามปีเศษ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นแล้วยังปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น ทั้งมีบุคคลอื่นอาศัยอยู่โดยมิได้จ่ายค่าเช่าแก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ นอกจากนี้ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โจทก์ซื้อและขายที่ดินแปลงอื่นอีกหลายแปลง เมื่อพิจารณาถึงเจตนาการได้มาซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทของโจทก์ประกอบกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายแล้ว น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 86 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานรายการใดที่โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยจะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใดมีหลักฐานอย่างไร เมื่อคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความโต้แย้งการประเมินในประเด็นใด โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)ซึ่งในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์มิได้ยกปัญหาว่าจำเลยมิได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ด้วย แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว ดังนี้โจทก์จะนำประเด็นดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลหาได้ไม่ปัญหานี้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27,89 ทวิ ไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บ หากจะลดก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญและพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย การที่โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วขายไปในระยะเวลาเพียงสามปีเศษ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นแล้วยังปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น ทั้งมีบุคคลอื่นอาศัยอยู่โดยมิได้จ่ายค่าเช่าแก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ นอกจากนี้ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โจทก์ซื้อและขายที่ดินแปลงอื่นอีกหลายแปลง เมื่อพิจารณาถึงเจตนาการได้มาซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทของโจทก์ประกอบกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายแล้ว น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 86 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานรายการใดที่โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยจะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใดมีหลักฐานอย่างไร เมื่อคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความโต้แย้งการประเมินในประเด็นใด โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)ซึ่งในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์มิได้ยกปัญหาว่าจำเลยมิได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ด้วย แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว ดังนี้โจทก์จะนำประเด็นดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลหาได้ไม่ปัญหานี้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27,89 ทวิ ไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บ หากจะลดก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมสโมสรเป็นค่าตอบแทนบริการ จัดเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000 บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสร ดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือน โดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปี ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของชนิด 1 (ฉ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมสมาชิกสโมสรเป็นการให้บริการทางภาษี การรับจ้างทำของ
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสรดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือนโดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปีก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)