พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5723/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอากาศยาน การบอกเลิกสัญญา การเรียกร้องค่าเสียหาย และการส่งคืนใบสำคัญการจดทะเบียน
ตาม พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานเป็นอันใช้ไม่ได้ เมื่อ ...(1)...มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิครอบครองอากาศยานนั้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองเป็นผู้จดทะเบียน..." และมาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณี (1) ถึง (5) ให้ผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นส่งคืนใบสำคัญการจดทะเบียนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า" ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าอากาศยานทั้ง 2 ลำ โดยชอบ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบอากาศยานทั้ง 2 ลำ คืนแก่โจทก์ พร้อมทั้งส่งคืนใบสำคัญการจดทะเบียนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และใบสำคัญการจดทะเบียนเป็นอันใช้ไม่ได้โดยผลของบทบัญญัติดังกล่าว โดยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหาจำต้องพิพากษาให้จำเลยถอนการจดทะเบียนอากาศยานพิพาททั้ง 2 ลำ ไม่
อนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 15,464,961.36 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 760,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือน นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบอากาศยานและเอกสารอากาศยานคืนแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์จึงเป็นจำนวน 15,464,961.36 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อขณะยื่นฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์บรรยายฟ้องโดยคิดทุนทรัพย์ในอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 32.9610 บาท ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งอัตราแลกเปลี่ยนตามคำฟ้องโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงต้องคิดคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในขณะฟ้องคดีดังกล่าว การที่จำเลยอุทธรณ์โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันยื่นอุทธรณ์ในอัตรา 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33.5258 บาท และนำเงินค่าขาดประโยชน์ตามคำพิพากษาจำนวน 760,000 ดอลลาร์สหรัฐ มารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 693,954 บาท จึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่ชำระเกินมานั้นแก่จำเลย
อนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 15,464,961.36 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 760,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือน นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบอากาศยานและเอกสารอากาศยานคืนแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์จึงเป็นจำนวน 15,464,961.36 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อขณะยื่นฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์บรรยายฟ้องโดยคิดทุนทรัพย์ในอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 32.9610 บาท ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งอัตราแลกเปลี่ยนตามคำฟ้องโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงต้องคิดคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในขณะฟ้องคดีดังกล่าว การที่จำเลยอุทธรณ์โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันยื่นอุทธรณ์ในอัตรา 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33.5258 บาท และนำเงินค่าขาดประโยชน์ตามคำพิพากษาจำนวน 760,000 ดอลลาร์สหรัฐ มารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 693,954 บาท จึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่ชำระเกินมานั้นแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาบริการ - การคำนวณหนี้ต่างสกุล - ดอกเบี้ย - การใช้สิทธิไม่สุจริต
ตามสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์และจำเลยตกลงชำระหนี้แก่กันเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่านั้น แต่จำเลยจะส่งใช้เป็นเงินไทยได้ก็โดยคิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินไทยและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นเงินไทยอาจมีผลให้จำเลยต้องชำระหรือโจทก์ได้รับชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้เงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง หากว่าอัตราแลกเปลี่ยนในวันใช้เงินจริง 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เท่ากับเงินไทยจำนวนน้อยกว่า 23.93 บาท ซึ่งจะเป็นผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9476/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ และการแก้ไขค่าเสียหายสกุลเงินต่างประเทศ
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีนี้เป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งวาเรน - แฟร์ไอน์ แดร์ ฮามบัวร์เกอร์ เบอร์เซ อี.วี. ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 ถึงมาตรา 44 เห็นได้แจ้งชัดว่า คู่พิพาทอาจร้องขอต่อศาลประเทศไทยที่มีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศได้ และศาลที่มีเขตอำนาจจะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดนั้นให้ต่อเมื่อเป็นคำชี้ขาดที่อยู่ในบังคับแห่งสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่ประเทศไทยยอมตนเข้าผูกพันเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 หรือคู่พิพาทซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งได้กระทำขึ้นในต่างประเทศอาจขอให้ศาลประเทศไทยที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวหากสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 (1) ถึง (6) บัญญัติได้เท่านั้น แต่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลไทยที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศ การร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจึงต้องร้องขอต่อศาลในประเทศที่คำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำขึ้นเท่านั้น สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 5 (1) (อี) ในอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการบังคับตามชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติหรือ "UNCITRAL Model Laws" ที่กำหนดไว้ใน Ariticle 34 และ 36 การเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 นั้น เฉพาะศาลที่มีการดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาลเท่านั้นที่อาจพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอแย้งให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวซึ่งเป็นคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศได้
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินสกุลต่างประเทศโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ถึงกำหนดชำระเงินตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการนั้น ยังไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ที่บัญญัติให้ลูกหนี้ใช้เป็นเงินไทยได้โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินสกุลต่างประเทศโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ถึงกำหนดชำระเงินตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการนั้น ยังไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ที่บัญญัติให้ลูกหนี้ใช้เป็นเงินไทยได้โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9784/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าทางทะเล ผู้ขนส่งต้องเวนคืนใบตราส่งก่อนส่งมอบสินค้า ผู้ซื้อยังไม่ชำระเงินถือเป็นการผิดสัญญา
ใบตราส่งถือเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ขนส่งได้ออกให้แก่โจทก์ผู้ส่ง อันแสดงว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้รับของตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งไว้ในความดูแลหรือได้บรรทุกของลงเรือแล้ว และรับที่จะส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้มีสิทธิรับของนั้นเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 และเมื่อออกใบตราส่งให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จะส่งมอบของให้ได้ก็ต่อเมื่อผู้รับตราส่งเวนคืนใบตราส่งนั้นแก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่ผู้รับตราส่งขอรับของโดยไม่มีใบตราส่งก็จะต้องมีประกันตามสมควรตามมาตรา 28
เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ได้นำต้นฉบับใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการขอให้ปล่อยสินค้าและเวนคืนต้นฉบับหรือคู่ฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพยานของจำเลยที่ 1 รับว่าสินค้าถูกปล่อยไปตามสำเนาใบตราส่ง ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าใบตราส่งดังกล่าวเป็นชนิดไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ แต่ใบตราส่งดังกล่าวก็มีข้อความระบุให้ต้องมีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง และแม้การซื้อขายสินค้าพิพาทอาจมีข้อโต้แย้งกันตามที่ปรากฏในจดหมายโต้ตอบของโจทก์ก็เป็นเรื่องของคู่สัญญาซื้อขาย ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดของผู้ขนส่งที่มีต่อผู้ส่ง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 บัญญัติไว้ การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยมิได้รับเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งย่อมเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญารับขนของทางทะเลต่อโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเลือกชำระเป็นเงินไทยตามเงื่อนไขใน ป.พ.พ. มาตรา 196 ได้ โดยหากจำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินไทย ให้คิดอัตราถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สถานที่และในวันที่มีการใช้เงิน ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันที่มีการใช้เงิน
เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ได้นำต้นฉบับใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการขอให้ปล่อยสินค้าและเวนคืนต้นฉบับหรือคู่ฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพยานของจำเลยที่ 1 รับว่าสินค้าถูกปล่อยไปตามสำเนาใบตราส่ง ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าใบตราส่งดังกล่าวเป็นชนิดไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ แต่ใบตราส่งดังกล่าวก็มีข้อความระบุให้ต้องมีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง และแม้การซื้อขายสินค้าพิพาทอาจมีข้อโต้แย้งกันตามที่ปรากฏในจดหมายโต้ตอบของโจทก์ก็เป็นเรื่องของคู่สัญญาซื้อขาย ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดของผู้ขนส่งที่มีต่อผู้ส่ง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 บัญญัติไว้ การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยมิได้รับเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งย่อมเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญารับขนของทางทะเลต่อโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเลือกชำระเป็นเงินไทยตามเงื่อนไขใน ป.พ.พ. มาตรา 196 ได้ โดยหากจำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินไทย ให้คิดอัตราถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สถานที่และในวันที่มีการใช้เงิน ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันที่มีการใช้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายสินค้า การซื้อขายเพื่อกิจการกับบริโภคเอง และการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายที่ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ต้องเป็นการซื้อขายเพื่อบริโภคของลูกหนี้เองโดยไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือธุรกิจหลักของลูกหนี้ เมื่อจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้โจทก์ในประเทศไทย กิจการของจำเลยคือการซื้อและรับมอบสินค้ามาขายต่อให้แก่ลูกค้าการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อขายต่อ ย่อมเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเองอันเข้าข้อยกเว้นตอนท้ายของมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าสินค้าจากจำเลยจึงไม่ได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
ราคาสินค้าพิพาทกำหนดเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง โจทก์จึงฟ้องขอให้ชำระหนี้เป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงได้ แต่จำเลยมีสิทธิจะส่งใช้หนี้ดังกล่าวเป็นเงินไทยก็ได้ โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196
ราคาสินค้าพิพาทกำหนดเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง โจทก์จึงฟ้องขอให้ชำระหนี้เป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงได้ แต่จำเลยมีสิทธิจะส่งใช้หนี้ดังกล่าวเป็นเงินไทยก็ได้ โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4579/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้: อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคาร และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทโดยเมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไว้ ซึ่งเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยที่ 1 จึงยังเป็นหนี้ต่อโจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทอยู่ ดังนั้นข้อตกลงที่จะระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมีผลใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ดุลพินิจเปลี่ยนหนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาทได้นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นฝ่ายผิดนัด ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยดังกล่าวชำระหนี้เป็นสกุลเงินบาทได้ แม้หนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทตลอดจนตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องจะแสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศก็ตาม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท การที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ก็เพื่อการชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีทระบุถึงข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ว่า "...ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายที่ค้างชำระดังกล่าวในอัตราสูงสุดนับแต่วันที่ข้าพเจ้าตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น..." แสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในต้นเงินที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว ไม่ใช่กรณีไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดที่จะคิดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท การที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ก็เพื่อการชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีทระบุถึงข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ว่า "...ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายที่ค้างชำระดังกล่าวในอัตราสูงสุดนับแต่วันที่ข้าพเจ้าตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น..." แสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในต้นเงินที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว ไม่ใช่กรณีไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดที่จะคิดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องข้ามประเทศ, อายุความ, และการบังคับชำระหนี้เงินตราต่างประเทศในสัญญาซื้อขาย
ตามสัญญาแต่งตั้งตัวแทนได้มีข้อตกลงในเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งมีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า บรรดาข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เสนอต่อศาลในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยในศาลของประเทศไทยได้ ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ขัดต่อกฎหมายใดหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องปั๊มจากโจทก์มาเพื่อประกอบเข้ากับมอเตอร์และอุปกรณ์อื่นผลิตเป็นปั๊มเซตแล้วนำออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในกิจการของลูกหนี้นั่นเองสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
หนี้ของจำเลยในคดีนี้เป็นหนี้เงินต่างประเทศสกุลมาร์กเยอรมัน อันเป็นเงินตราของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรปขึ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าว สมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย หากในเวลาใช้จริงเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินมาร์กเยอรมัน พร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้น โดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี้ โดยการคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่เป็นเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริงและคิดดอกเบี้ยของต้นเงินที่เปลี่ยนเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันนั้นนับแต่วันเปลี่ยนเงินดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องปั๊มจากโจทก์มาเพื่อประกอบเข้ากับมอเตอร์และอุปกรณ์อื่นผลิตเป็นปั๊มเซตแล้วนำออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในกิจการของลูกหนี้นั่นเองสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
หนี้ของจำเลยในคดีนี้เป็นหนี้เงินต่างประเทศสกุลมาร์กเยอรมัน อันเป็นเงินตราของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรปขึ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าว สมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย หากในเวลาใช้จริงเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินมาร์กเยอรมัน พร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้น โดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี้ โดยการคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่เป็นเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริงและคิดดอกเบี้ยของต้นเงินที่เปลี่ยนเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันนั้นนับแต่วันเปลี่ยนเงินดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืม: ศาลแก้ไขการคิดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด)
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนั้นมิได้มีข้อจำกัดตามกฎหมายว่าจะต้องมอบอำนาจให้ฟ้องบุคคลใดเป็นคดีเรื่องใดโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ชัดว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจคือนาย ส. ฟ้องคดีแทนได้แล้ว นาย ส. ก็มีอำนาจที่จะฟ้องคดีต่าง ๆ แทนโจทก์ได้ รวมทั้งฟ้องจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์เป็นคดีนี้ได้โดยชอบด้วย โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุเป็นการเฉพาะให้ฟ้องจำเลยทั้งห้าอีก
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มีข้อตกลงว่า "...ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายให้แก่ธนาคาร โดยคำนวณเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารต้องชำระค่าสินค้าแทนข้าพเจ้า หรือตามอัตราที่ตกลงกันไว้ หรือในอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีทหรือในอัตราที่ได้กำหนดไว้แนบท้ายหนังสือนี้ โดยข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารเป็นผู้เลือกที่จะใช้อัตราใดแล้วแต่จะเห็นสมควร..." แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันไว้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันใดให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิเลือกตามแต่โจทก์จะเห็นสมควร ข้อตกลงเช่นนี้ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับกันได้โดยชอบ การที่โจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามที่โจทก์จ่ายไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินไทยในวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินคืนให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาทรัสต์ซีรีทนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาทรัสต์รีซีท
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า กรณีจำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้า หรือแม้มิได้นำสินค้าออกขายก็ตาม จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้แนบท้ายแก่ธนาคารโจทก์ โดยคำนวณเงินตราต่างประเทศตามที่ตกลงไว้ โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด นับแต่วันที่ธนาคารโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 และ ข้อ 7 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้แนบท้ายที่ค้างชำระดังกล่าวในอัตราสูงสุด ดังนี้ข้อความที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ที่ระบุว่า "อัตราสูงสุด" ประกอบกับข้อความที่ขยายความคำว่า "อัตราสูงสุด" ว่า "ที่ธนาคาร (โจทก์)ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด" จึงมีความหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันโดยมีเจตนาให้เป็นอัตราสูงสุดที่ถูกต้องภายใต้หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดไว้ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 อันได้แก่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด) และเมื่อสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ที่ตกลงกันว่าในกรณีผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยใน "อัตราสูงสุด" ซึ่งย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยตามข้อ 4 หรือเป็นอัตราเดียวกันดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น จึงถือได้ว่าสัญญาทรัสต์ซีรีทได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนเป็นอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด) ตามประกาศธนาคารโจทก์แล้ว โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละ 18.50 ต่อปี และ 16.50 ต่อปี ซึ่งก็ล้วนเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป(ที่ไม่ผิดนัด) ตามประกาศธนาคารโจทก์ ที่มีผลบังคับในขณะคิดดอกเบี้ยนั้นเช่นกัน หลังจากนั้นจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวนอกจากจะไม่เกินกว่าอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ดังกล่าวแล้ว ยังกลับเป็นคุณแก่จำเลยทั้งห้าอีกด้วย แม้ต่อมาภายหลังปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามอัตราดังกล่าวตามประกาศธนาคารโจทก์ที่มีผลใช้บังคับในแต่ละช่วงเวลาจนกระทั่งเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขนับตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2542 เป็นต้นไปจนถึงวันฟ้อง อันทำให้เห็นเป็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โดยอ้างสิทธิตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ทำนองเป็นเบี้ยปรับก็ตาม แต่ที่ถูกนั้นแม้ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้ว โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ใน "อัตราสูงสุด" ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับอัตราตามสัญญาข้อ 4 ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ มิใช่อัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์การคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเพียงการคิดดอกเบี้ยที่ไม่ถูกต้อง ผิดจากข้อสัญญาเท่านั้น มิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อสัญญาที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ตกลงให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในลักษณะเป็นการตกลงใช้เงินจำนวนหนึ่ง หรือค่าเสียหายเพราะเหตุที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควร อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลอาจพิพากษาให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383 ได้
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มีข้อตกลงว่า "...ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายให้แก่ธนาคาร โดยคำนวณเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารต้องชำระค่าสินค้าแทนข้าพเจ้า หรือตามอัตราที่ตกลงกันไว้ หรือในอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีทหรือในอัตราที่ได้กำหนดไว้แนบท้ายหนังสือนี้ โดยข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารเป็นผู้เลือกที่จะใช้อัตราใดแล้วแต่จะเห็นสมควร..." แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันไว้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันใดให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิเลือกตามแต่โจทก์จะเห็นสมควร ข้อตกลงเช่นนี้ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับกันได้โดยชอบ การที่โจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามที่โจทก์จ่ายไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินไทยในวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินคืนให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาทรัสต์ซีรีทนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาทรัสต์รีซีท
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า กรณีจำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้า หรือแม้มิได้นำสินค้าออกขายก็ตาม จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้แนบท้ายแก่ธนาคารโจทก์ โดยคำนวณเงินตราต่างประเทศตามที่ตกลงไว้ โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด นับแต่วันที่ธนาคารโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 และ ข้อ 7 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้แนบท้ายที่ค้างชำระดังกล่าวในอัตราสูงสุด ดังนี้ข้อความที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ที่ระบุว่า "อัตราสูงสุด" ประกอบกับข้อความที่ขยายความคำว่า "อัตราสูงสุด" ว่า "ที่ธนาคาร (โจทก์)ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด" จึงมีความหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันโดยมีเจตนาให้เป็นอัตราสูงสุดที่ถูกต้องภายใต้หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดไว้ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 อันได้แก่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด) และเมื่อสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ที่ตกลงกันว่าในกรณีผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยใน "อัตราสูงสุด" ซึ่งย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยตามข้อ 4 หรือเป็นอัตราเดียวกันดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น จึงถือได้ว่าสัญญาทรัสต์ซีรีทได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนเป็นอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด) ตามประกาศธนาคารโจทก์แล้ว โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละ 18.50 ต่อปี และ 16.50 ต่อปี ซึ่งก็ล้วนเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป(ที่ไม่ผิดนัด) ตามประกาศธนาคารโจทก์ ที่มีผลบังคับในขณะคิดดอกเบี้ยนั้นเช่นกัน หลังจากนั้นจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวนอกจากจะไม่เกินกว่าอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ดังกล่าวแล้ว ยังกลับเป็นคุณแก่จำเลยทั้งห้าอีกด้วย แม้ต่อมาภายหลังปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามอัตราดังกล่าวตามประกาศธนาคารโจทก์ที่มีผลใช้บังคับในแต่ละช่วงเวลาจนกระทั่งเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขนับตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2542 เป็นต้นไปจนถึงวันฟ้อง อันทำให้เห็นเป็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โดยอ้างสิทธิตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ทำนองเป็นเบี้ยปรับก็ตาม แต่ที่ถูกนั้นแม้ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้ว โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ใน "อัตราสูงสุด" ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับอัตราตามสัญญาข้อ 4 ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ มิใช่อัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์การคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเพียงการคิดดอกเบี้ยที่ไม่ถูกต้อง ผิดจากข้อสัญญาเท่านั้น มิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อสัญญาที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ตกลงให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในลักษณะเป็นการตกลงใช้เงินจำนวนหนึ่ง หรือค่าเสียหายเพราะเหตุที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควร อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลอาจพิพากษาให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเงินไทยหรือเงินตราต่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาชำระ
กรณีที่หนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้เป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกว่าจะชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทย ศาลไม่มีอำนาจไปบังคับหรือเลือกแทนลูกหนี้ในการชำระหนี้ เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เป็นหนี้เงินตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ลูกหนี้จึงอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ทั้งการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 98 ที่ให้ต้องคิดหนี้เป็นเงินตราไทย แต่เป็นการขอรับชำระหนี้เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ซึ่งต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 อันเป็นกฎหมายส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งมาตรา 90/26 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 98 มาใช้บังคับ ส่วนกรณีตามมาตรา 90/31 ที่ว่า ถ้าหนี้ได้กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศให้คิดเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประจำวันของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้น เป็นกรณีที่มีการประชุมเจ้าหนี้และเจ้าหนี้เงินตราต่างประเทศนั้นเข้าประชุมเพื่อประโยชน์ในการคำนวณหนี้ที่ใช้ในการออกเสียงลงคะแนน จึงให้คำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย กรณีเจ้าหนี้รายนี้ไม่มีประเด็นปัญหาการเข้าประชุมเจ้าหนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะไปสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องคำนวณยอดหนี้จากเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7916/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, การลดเบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการปรับปรุงเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
การที่ธนาคารโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทให้โจทก์เป็นฝ่ายมีสิทธิเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนอัตราใดอัตราหนึ่งในระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้า หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ หรืออัตราแลกเปลี่ยนในวันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีท เป็นเพียงข้อตกลงเพื่อทำให้โจทก์ไม่ต้องรับภาระในความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเท่านั้น หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทในวันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายในต่างประเทศตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวนั้นได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้าหรือแม้จะมิได้นำสินค้าออกขายก็ดี จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายแก่โจทก์ ตลอดจนยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ระบุตัวเลขอัตราดอกเบี้ย) นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ข้อความตามสัญญาข้อ 4 นี้ มีลักษณะกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ระบุในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท และให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาดังกล่าว ย่อมไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็มีสัญญาข้อ 7 ระบุถึงการชำระดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดไว้อีกข้อหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 เป็นข้อสัญญาที่ระบุถึงการคิดดอกเบี้ยในช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ในการเรียกดอกเบี้ยนี้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดที่ต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 44 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 14 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี และส่วนต่างสูงสุดที่จะใช้บวกเข้ากับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีนั้น และให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนด เว้นแต่ในกรณีลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนั้น โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดสูงสุดได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดหรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกด้วยส่วนต่างสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์เท่านั้น แต่ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย โดยระบุอัตราดอกเบี้ยในขณะทำสัญญาทรัสต์รีซีทเท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาตามที่ระบุไว้ในประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ตามประกาศธนาคารโจทก์ดังกล่าว สัญญาทรัสต์รีซีทจึงมีการระบุอัตราดอกเบี้ยในลักษณะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สิทธิแก่โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ก่อนเวลาผิดนัดเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ อันเป็นการทำสัญญาฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด และเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คดีนี้นอกจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตประกอบกับสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว โจทก์ยังฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ไว้แก่โจทก์ เพื่อชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าตั๋วสัญญาใช้เงินตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไป อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปตามประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราที่โจทก์มีสิทธิคิดได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ ดังนั้น แม้ข้อตกลงตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จะตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยมาข้างต้น แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ และที่ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้สินในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน จำเลยที่ 1 ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดไว้สำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาในแต่ละช่วงเวลา แต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมจึงถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้าหรือแม้จะมิได้นำสินค้าออกขายก็ดี จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายแก่โจทก์ ตลอดจนยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ระบุตัวเลขอัตราดอกเบี้ย) นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ข้อความตามสัญญาข้อ 4 นี้ มีลักษณะกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ระบุในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท และให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาดังกล่าว ย่อมไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็มีสัญญาข้อ 7 ระบุถึงการชำระดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดไว้อีกข้อหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 เป็นข้อสัญญาที่ระบุถึงการคิดดอกเบี้ยในช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ในการเรียกดอกเบี้ยนี้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดที่ต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 44 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 14 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี และส่วนต่างสูงสุดที่จะใช้บวกเข้ากับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีนั้น และให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนด เว้นแต่ในกรณีลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนั้น โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดสูงสุดได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดหรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกด้วยส่วนต่างสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์เท่านั้น แต่ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย โดยระบุอัตราดอกเบี้ยในขณะทำสัญญาทรัสต์รีซีทเท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาตามที่ระบุไว้ในประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ตามประกาศธนาคารโจทก์ดังกล่าว สัญญาทรัสต์รีซีทจึงมีการระบุอัตราดอกเบี้ยในลักษณะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สิทธิแก่โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ก่อนเวลาผิดนัดเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ อันเป็นการทำสัญญาฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด และเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คดีนี้นอกจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตประกอบกับสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว โจทก์ยังฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ไว้แก่โจทก์ เพื่อชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าตั๋วสัญญาใช้เงินตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไป อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปตามประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราที่โจทก์มีสิทธิคิดได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ ดังนั้น แม้ข้อตกลงตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จะตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยมาข้างต้น แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ และที่ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้สินในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน จำเลยที่ 1 ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดไว้สำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาในแต่ละช่วงเวลา แต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมจึงถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383