คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 196

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการชำระหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จ คือต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากร ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวขึ้นมาเรียกร้องราคาสินค้าเต็มจำนวนตามที่ซื้อขายกันจริง ซึ่งมีจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงต้องรับผิดต่อโจทก์เท่ากับราคาที่สำแดงต่อกรมศุลกากรเพื่อเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ตามที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระให้ตามกำหนด จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทแล้ว จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงิน ตาม มาตรา 196 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินนั้นชอบแล้ว
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่สุจริตในการซื้อขาย, การหลีกเลี่ยงภาษี, และการชำระหนี้ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน
โจทก์ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จ คือต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากร ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวขึ้นมาเรียกร้องราคาสินค้าเต็มจำนวนตามที่ซื้อขายกันจริง ซึ่งมีจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงต้องรับผิดต่อโจทก์เท่ากับราคาที่สำแดงต่อกรมศุลกากรเพื่อเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ตามที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระให้ตามกำหนด จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทแล้ว จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้ค่าสินค้า เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ ตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน การชำระหนี้ และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในคำพิพากษา
คำฟ้องเป็นเพียงการสรุปข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร พร้อมคำขอบังคับจำเลยเพียงเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้อง เพื่อที่จะให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องเท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์จำนวนเท่าไร ชำระให้โจทก์แล้วเท่าไรเหลือหนี้อีกเท่าไรที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทมาด้วยนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้วทั้งการที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172หรือไม่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณาแต่อย่างใด
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซื้อขายระหว่างประเทศ แม้มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ หากจำเลยยอมรับหนี้บางส่วนและชำระแล้ว
โจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังมิได้ชำระตามสัญญาซื้อขาย จำเลยมีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้และมีหนังสือขอชำระหนี้ นอกจากนี้จำเลยยังได้ชำระหนี้ที่ค้างชำระบางส่วนให้แก่โจทก์ ทั้งยังยอมให้โจทก์เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน ซึ่งธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับสภาพหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์แล้ว แม้สัญญาซื้อขายดังกล่าวมีข้อตกลงว่าบรรดาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการ กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่ามีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งอันเกิดจากหรือเนื่องจากสัญญาซื้อขายตามฟ้องอันโจทก์จะต้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมิได้สั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่โจทก์มิได้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการก่อนจึงชอบแล้ว
การพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่ใช้เงินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13-34/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนสัญญาจ้าง-การคืนค่าบริการ-อัตราแลกเปลี่ยนเงิน-ศาลแรงงาน
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทจำเลยในสัญญาจ้างและแทนจำเลยในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามที่ได้รับมอบหมาย การที่จำเลยอุทธรณ์อ้างว่า ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยในสัญญาจ้างนั้นไม่ใช่เป็นการกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาจัดหางานให้โจทก์ทั้งยี่สิบสองทำงานก่อสร้างในสนามบินแห่งชาติสาธารณรัฐอินกูเซเทียประเทศรัสเซีย ในตำแหน่งต่าง ๆ แต่เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบสองทำงานมาได้ประมาณ1 ปี นายจ้างติดค้างค่าจ้างโจทก์แต่ละคนและขอผัดผ่อนเรื่อยมาทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบสองไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจัดหางานและไม่ประสงค์จะทำงานต่อไปจึงขอลาออกและเดินทางกลับประเทศไทยกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 46 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตจัดหางานไปทำงานในต่างประเทศจะต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าโจทก์แต่ละคนเสียค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้จำเลยไปตั้งแต่ 75,000ถึง 85,000 บาท มากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจัดหางานคือ 30,000 ถึง35,000 บาท แต่โจทก์ทั้งยี่สิบสองขอคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายบางส่วนโดยแนบสำเนาสัญญาจัดหางานมาท้ายฟ้อง อันพอถือได้ว่ามีคำขอให้จำเลยคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายบางส่วนตามจำนวนในสัญญาดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์แต่ละคนตามจำนวนในสัญญาจัดหางานจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 กำหนดให้หนี้เงินที่แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ เมื่อจะส่งใช้เป็นเงินไทยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้เงินดอลลาร์สหรัฐที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์แต่ละคนโดยให้คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง, อัตราแลกเปลี่ยนเงิน, และขอบเขตคำพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9335/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลกรณีส่งมอบของผิดบุคคล แม้ของไม่สูญหาย
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดในกรณีที่ของที่ผู้ขนส่งได้รับมอบหมายเกิดสูญหายหรือเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งความรับผิดดังกล่าวหมายถึง กรณีเกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ของที่ผู้ขนส่งรับมอบหมาย การสูญหายนี้หมายถึงของไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้ขนส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งได้ตามสัญญา ดังนั้นกรณีที่ผู้ขนส่งไม่ยอมส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง แต่ได้ส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อซึ่งมิใช่เป็นบุคคลที่มีชื่อแสดงในใบตราส่งว่าเป็นผู้รับตราส่ง จึงไม่เข้ากรณีของสูญหายหรือเสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดไม่จำกัดจำนวน
การพิพากษาให้ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่ใช้เงินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9022-9023/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ & การคิดอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา
การส่งหมายเรียกพยานบุคคล 5 คนซึ่งอยู่ที่ประเทศอังกฤษให้มาเป็นพยานตามคำร้องของผู้คัดค้านต้องใช้เวลานานเกินสมควรไม่ทันกำหนดนัดสืบพยานผู้คัดค้านและผู้ร้องซึ่งศาลชั้นต้น (ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง) ได้กำหนดนัดล่วงหน้าไว้แน่นอนแล้วโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเห็นชอบตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงไม่อนุญาต อย่างไรก็ตามศาลชั้นต้นก็มิได้ปฏิเสธคำร้องขอของผู้คัดค้านเสียทั้งหมด โดยยังคงเปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบุคคลของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งอยู่ต่างประเทศหรืออาจขอสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 31 และข้อ 32 หรือนำพยานบุคคลดังกล่าวมาเป็นพยานเองก็ได้ แต่ผู้คัดค้านก็หาได้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ พฤติการณ์ส่อแสดงว่าผู้คัดค้านประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเช่นนี้ชอบแล้ว
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ร. อนุญาโตตุลาการในประเทศอังกฤษไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้แล้วตามเอกสารท้ายคำคัดค้าน โดยมิได้อ้างเหตุว่าไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือ เงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินปอนด์สเตอร์ลิงเท่านั้น โดยขอให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษานั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสองแล้ว ยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอบังคับของผู้ร้องโดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต่างสกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้บังคับตามคำพิพากษา
การเปลี่ยนเงินต่างประเทศเป็นเงินไทยเพื่อการชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้ เห็นสมควรให้นำหนี้ที่แต่ละฝ่ายต้องชำระเงินแก่กันมาหักกลบลบกัน โดยนำค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องชดใช้แก่จำเลยมาคิดคำนวณเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐโดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ วันสิ้นทำการในวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้หากอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 4 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษา ก็ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 4 ตุลาคม 2542 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งแสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศส่วนที่เหลือจากการหักกลบลบกันแล้ว โดยถือตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันเวลาที่จำเลยใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดอัตราแลกเปลี่ยนหนี้ต่างประเทศ – ศาลพิพากษาเกินคำขอ, การใช้สิทธิโดยสุจริต, และการปฏิบัติตามสัญญา
คำฟ้องของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณาจาก การบรรยายฟ้องเป็นสำคัญ เมื่อคำฟ้องเป็นที่พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาและที่ขอบังคับจำเลยตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเอกสารที่ต้องแนบมาท้ายคำฟ้องตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 7 นั้น ก็เพื่อจะให้จำเลยได้รู้ว่ามีเอกสารใดที่เกี่ยวข้องตามคำฟ้องบ้างในเบื้องต้น อันจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยความสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น แม้เอกสารดังกล่าวเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ในชั้นพิจารณาจะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาการให้สินเชื่อแล้ว มีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันตามสัญญา หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดใดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทำให้มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินคืนได้ การที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้คืน เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายโดยชอบ แม้โจทก์จะรู้ว่าอยู่ในระหว่างที่จำเลยกำลังเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินใน วันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นอกจากจะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง แล้วยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ โดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
of 8