พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเปลี่ยนแปลงโทษตามกฎหมายใหม่หลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด การไม่ปฏิบัติตามลำดับชั้นศาล และการวินิจฉัยเกินขอบเขต
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544 ให้จำคุกจำเลย 20 ปี ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ต่อมาวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ให้ยกคำร้อง ในกรณีเช่นนี้หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนี้ การที่จำเลยมายื่นคำร้องลงวันที่ 19 เมษายน 2550 ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณากำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) อีกนั้น จึงหาอาจทำได้ไม่ ทั้งกรณีไม่เป็นไปตามลำดับชั้นศาล จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า คำร้องของจำเลยไม่เข้าลักษณะของการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ยกคำร้องนั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยต่อมาว่า กรณีตามคำร้องของจำเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 และไม่มีผลอันจะก่อสิทธิให้จำเลยฎีกาโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายยาเสพติดโทษหลังกระทำความผิดและการกำหนดโทษใหม่ในคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
แม้เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 16.833 กรัม ซึ่งความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในส่วนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท อันเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิม ส่วนการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 400 เม็ด นั้น ไม่ปรากฏว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด กรณีต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อันเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิมเช่นกันก็ตาม แต่การจะนำโทษตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดมากำหนดโทษใหม่ในคดีที่ถึงที่สุดแล้วนั้น จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 50 ปี และฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 10 ปี แล้วลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 25 ปี และ 5 ปี ตามลำดับ การกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงอยู่ในระวางโทษตามบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่เข้าอยู่ในเกณฑ์ ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะรื้อฟื้นกำหนดโทษใหม่ให้จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาหลังมีกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลมีอำนาจแก้ไขโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 3
แม้คดีนี้จะถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็ตาม แต่จำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ หากปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยแล้วก็ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้กำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้ ตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ภายหลังกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ออกใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 8 มาตรา 19 และมาตรา 26 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 15 มาตรา 66 และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ความใหม่แทนอันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย ดังนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษเสียใหม่ให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832-1833/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายอาญา (มาตรา 91) ที่เป็นคุณต่อจำเลย และการกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายที่แก้ไข
ระหว่างที่จำเลยกำลังรับโทษในคดีซึ่งถึงที่สุดแล้วได้มีพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่6) พ.ศ. 2526ออกใช้บังคับแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งหว่ามาตรา 91 เดิมอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1)
กระทงหนักที่สุดของจำเลยทั้งสองคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 และ 289 ซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิตกรณีจึงต้องด้วยมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่และจำเลยทั้งสองถูกลงโทษมีกำหนดคนละ 100 ปี แม้จะเปลี่ยนโทษมาจากโทษจำคุกตลอดชีวิต 2 กระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมก็ไม่ถือว่าศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตต่อไปแล้ว จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่ จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับการกำหนดโทษเสียใหม่ตามมาตรา 91(3)ที่แก้ไขแล้ว โดยศาลต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งสองให้ใหม่เป็นจำคุกไม่เกินคนละ 50ปี.
กระทงหนักที่สุดของจำเลยทั้งสองคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 และ 289 ซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิตกรณีจึงต้องด้วยมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่และจำเลยทั้งสองถูกลงโทษมีกำหนดคนละ 100 ปี แม้จะเปลี่ยนโทษมาจากโทษจำคุกตลอดชีวิต 2 กระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมก็ไม่ถือว่าศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตต่อไปแล้ว จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่ จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับการกำหนดโทษเสียใหม่ตามมาตรา 91(3)ที่แก้ไขแล้ว โดยศาลต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งสองให้ใหม่เป็นจำคุกไม่เกินคนละ 50ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) ต้องเกิดก่อนใช้กฎหมายใหม่
ที่จำเลยจะร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย และคดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายอาญา คือ วันที่ 1 ม.ค. 2500 ถ้าคดีของจำเลยมาถึงที่สุดลงเมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ออกใช้เสียแล้วกรณีก็ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 3(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะแก้กำหนดโทษเสียใหม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความหนักเบาของโทษตามกฎหมายเก่าใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้ไขโทษภายหลังประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับ ต้องเป็นคดีถึงที่สุดก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2500
ที่จำเลยจะร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย และคดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายอาญา คือวันที่ 1 ม.ค. 2500 ถ้าคดีของจำเลยมาถึงที่สุดลง เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ออกใช้เสียแล้ว กรณีก็ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 3 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะแก้กำหนดโทษเสียใหม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความหนักเบาของโทษตามกฎหมายเก่าใหม่แต่อย่างใดด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญาเกินอัตราโทษประมวลกฎหมายอาญา ศาลไม่สั่งกำหนดโทษใหม่
คดีอาญาถึงที่สุดแล้ว จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา เป็นอัตราโทษหนักกว่าประมวลกฎหมายอาญา นั้น เป็นกรณีไม่เข้าอยู่ใน มาตรา3(1) ประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะกำหนดโทษเสียใหม่หรือจะปล่อยจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญา: ศาลไม่สามารถลดโทษหรือปล่อยตัวจำเลยได้ตามมาตรา 3(1) ป.อาญา
คดีอาญาถึงที่สุด จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา เป็นอัตราโทษหนักว่าประมวลกฎหมายอาญานั้น เป็นกรณีไม่เข้าอยู่ใน มาตรา 3(1) ประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะกำหนดโทษเสียใหม่ หรือจะปล่อยจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมกระทงลงโทษ – มาตรา 3(1) ประมวลกฎหมายอาญา – ไม่หนักกว่ากฎหมายเดิม
ศาลรวมกระทงลงโทษจำคุกจำเลย 15 ปีตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 และ 230 มิใช่ลงโทษตามบทที่หนัก โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาในกรณีนี้จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 162 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา3(1) ไม่เป็นกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดโทษเสียใหม่