พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษซ้ำความผิด: ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดเดิมที่ศาลพิพากษาลงโทษจริงเท่านั้น
คดีก่อน แม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบทหารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ด้วย แต่มิได้พิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มิได้กำหนดโทษตามมาตรา 146 ไว้ หากไปลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 1 ปี 6 เดือน ทั้งก็รู้ไม่ได้ว่าถ้าศาลจำกำหนดโทษจำคุกตามมาตรา 146 (ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี) ศาลจะกำหนดต่ำกว่า 6 เดือนหรือไม่ เหตุนี้ จึงว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146 มีโทษจำคุกกว่า 6 เดือนมาแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำฐานลักทรัพย์: เกณฑ์การพิจารณาตามประวัติโทษและการกระทำความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจร ครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41(8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับทรัพย์สิน โดยพิจารณาจากประวัติการกระทำผิดและการกระทำความผิดซ้ำในระยะเวลาที่กำหนด
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจรครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41 (8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1) (7) (11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1) (7) (11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนเริ่มพิจารณา และการรับฟังคำให้การเพื่อเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติให้ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย ถ้าจำเลยไม่มีทนาย และจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้จำเลยเสียก่อนเริ่มพิจารณา การถามคำให้การจำเลยก็เป็นการพิจารณา ถ้าศาลสอบถามคำให้การจำเลยก่อนสอบถามเรื่องทนายก็ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ในเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 -11/2509)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 -11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนการพิจารณาคดี และการรับฟังคำให้การเพื่อเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติให้ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย. ถ้าจำเลยไม่มีทนาย และจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้จำเลยเสียก่อนเริ่มพิจารณาถ้าศาลสอบถามคำให้การจำเลยก่อนสอบถามเรื่องทนายก็ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ในเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10-11/2509)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10-11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา: พิจารณาความผิดเดิมและปัจจุบันเพื่อเลือกโทษที่เหมาะสมตามกฎหมาย
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกฐานปล้นทรัพย์ แม้จะเป็นกรณีมีการใช้กำลังประทุษร้ายต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ก็ตาม หากในคดีหลังแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามมาตรา 339 และผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 อันเป็นความผิดต่อชีวิตก็ตาม ดังนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ไม่ได้ ต้องเพิ่มโทษตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดีชิงทรัพย์และพยายามฆ่า โดยพิจารณาจากประวัติเคยต้องโทษปล้นทรัพย์และบทบัญญัติมาตรา 92-93
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกฐานปล้นทรัพย์ แม้จะเป็นกรณีมีการใช้กำลังประทุษร้ายต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ก็ตาม หากในคดีหลังแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามมาตรา 339 และผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 อันเป็นความผิดต่อชีวิตก็ตาม ดังนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ไม่ได้ต้องเพิ่มโทษตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความผิดของจำเลยร่วมกัน แม้มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่าเหตุผลฟังไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเฉพาะราย
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ไม่เชื่อคำพยานโจทก์และปล่อยจำเลยอื่นที่อุทธรณ์ แต่จำเลยนี้ถูกฟ้องในข้อหาเดียวกันมิได้อุทธรณ์ จำเลยนี้จะฎีกาว่าควรจะปล่อยจำเลยนี้ผู้ที่มิได้อุทธรณ์นั้นด้วย ย่อมไม่ได้ เพราะปัญหาที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่เชื่อพยานโจทก์และปล่อยจำเลยอื่นที่ยื่นอุทธรณ์ขึ้นมานั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่พยานเบิกความพาดพิงถึงจำเลยที่อุทธรณ์ขึ้นมาเป็นคนๆไป ทั้งยังมีคำรับสารภาพของจำเลยแต่ละคนอีกด้วย ดังนี้ จึงมิใช่เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี
หมายเหตุ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานรับของโจรจำเลยที่ 2,3,4 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยที่ 2,3,4 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ควรพิพากษาปล่อยจำเลยที่1 ด้วย เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี เช่นนี้ ศาลฎีการับวินิจฉัยได้
หมายเหตุ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานรับของโจรจำเลยที่ 2,3,4 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยที่ 2,3,4 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ควรพิพากษาปล่อยจำเลยที่1 ด้วย เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี เช่นนี้ ศาลฎีการับวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลที่ไม่เชื่อพยานส่งผลถึงจำเลยที่ไม่ยื่นอุทธรณ์หรือไม่: ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ไม่เชื่อคำพยานโจทก์และปล่อยจำเลยอื่นที่อุทธรณ์ แต่จำเลยนี้ถูกฟ้องในข้อหาเดียวกันมิได้อุทธรณ์ จำเลยนี้จะฎีกาว่าควรจะปล่อยจำเลยนี้ผู้ที่มิได้อุทธรณ์นั้นด้วย ย่อมไม่ได้เพราะปัญหาที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่เชื่อพยานโจทก์และปล่อยจำเลยอื่นที่ยื่นอุทธรณ์ขึ้นมานั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่พยานเบิกความพาดพิงถึงจำเลยที่อุทธรณ์ขึ้นมาเป็นคน ๆ ไป ทั้งยังมีคำรับสารภาพของจำเลยแต่ละคนอีกด้วย ดังนี้ จึงมิใช่เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี.
หมายเหตุ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานรับของโจร จำเลยที่ 2, 3, 4 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยที่ 2, 3, 4 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ควรพิพากษาปล่อยจำเลยที่ 1 ด้วยเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี เช่นนี้ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้.
หมายเหตุ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานรับของโจร จำเลยที่ 2, 3, 4 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยที่ 2, 3, 4 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ควรพิพากษาปล่อยจำเลยที่ 1 ด้วยเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี เช่นนี้ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงินรองรับ & เพิ่มโทษซ้ำ: การเพิ่มโทษอาญาแก่ผู้กระทำผิดซ้ำในคดีเช็ค
1. ฟ้องโจทก์กล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และได้อ้างบทมาตราเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เมื่อจำเลยให้การว่าขอรับสารภาพตามฟ้อง ก็ถือได้ว่ารับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาขอให้เพิ่มโทษด้วย 2. บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 987,988แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค)ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 3. ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507,18/2507 และ 29/2507)