คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 92

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษทางอาญา: การตีความคำขอท้ายฟ้องให้เป็นคุณแก่จำเลยเมื่อไม่ชัดเจน
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ระบุเพียงว่า ขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมาย ไม่แน่ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 หรือให้เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จึงเพิ่มโทษได้เพียงหนึ่งในสาม อันเป็นการตีความให้เป็นคุณแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้าง และแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4690/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประโยชน์พระราชบัญญัติล้างมลทินกับการเพิ่มโทษทางอาญา: การพิจารณาโทษจำคุกหลังได้รับอภัยโทษ
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 รวมทั้งเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จนคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาที่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 และถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็จะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งสองวรรค
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกัน คือ นอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การพิจารณานับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 นี้ จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกัน ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรมคลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32 วรรคสาม จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69 แล้ว
จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่ศาลล่างพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษและรอการลงโทษในคดีอาญา: ผลของคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดและการพิจารณาพฤติการณ์จำเลย
คดีอาญาเรื่องก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2542 ให้จำคุกจำเลย 1 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ได้อ่านคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 จึงครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 11 สิงหาคม 2543 ในระหว่างยื่นฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์คำสั่งและส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 ในขณะนั้นยังไม่แน่นอนว่าศาลอุทธรณ์จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยหรือไม่และหากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกา และรับฎีกาจำเลยไว้พิจารณาแล้วคดีก็อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกายังไม่ถึงที่สุด เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ในระหว่างที่คดีอาญายังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ซึ่งจะเพิ่มโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษและรอการลงโทษในคดีอาญา: การพิจารณาโทษซ้ำซ้อนและการไม่รอการลงโทษ
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในระหว่างที่คดีอาญาอีกคดีหนึ่งของจำเลยยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่จะเพิ่มโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญา มาตรา 92 ต้องมี 'วันพ้นโทษ' จากการรับโทษจำคุกจริง ไม่นับรวมระยะรอการลงโทษ
ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งวันพ้นโทษก็คือพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้ว่าจำเลยจะมาทำความผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญา: วันพ้นโทษสำคัญกว่ากำหนดรอการลงโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 92 นั้นผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการ ลงโทษไว้ จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษเมื่อจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการเพิ่มลดโทษตามกฎหมายอาญา และการแก้ไขโทษของจำเลยร่วม
การเพิ่มโทษอีกหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 นั้น จะต้องกำหนดโทษที่จะลงเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ หลังจากนั้นจึงจะลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ต้องกำหนดโทษจำคุกก่อน หากลงโทษปรับสถานเดียวแล้วไม่อาจเพิ่มโทษได้
การเพิ่มโทษอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 92 นั้น จะต้องกำหนดโทษที่จะลงเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ หลังจากนั้นจึงจะลดโทษตาม ป.อ.มาตรา 54
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตาม ป.อ.มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบัญญัติมาตรา 73 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มิใช่บทเพิ่มโทษ แต่เป็นบทกำหนดโทษที่หนักขึ้น และการริบของกลางต้องมีคำขอ
การมีแผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมไว้เพื่อขายและเสนอขายกับการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ในคราวเดียวกันนั้น เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 73 เป็นบทระวางโทษที่หนักขึ้นเป็นสองเท่าของระวางโทษตามมาตรา 70 วรรคสองหาใช่บทเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยให้หนักขึ้นเป็นสองเท่าไม่
โจทก์มีคำขอเพียงให้แผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมของกลาง ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่มีของกลางรายการอื่นที่โจทก์ขอให้ริบอีก ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบสิ่งของที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาด้วยจึงเป็นการเกินคำขอ
of 15