พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7684/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ต้องพิจารณาโทษจำคุกที่เคยได้รับจริง หากยังไม่เคยได้รับโทษจริง แม้จะเคยรอการลงโทษ ก็ไม่สามารถเพิ่มโทษได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกจำเลย 6 เดือนและปรับ5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาท้ายฎีกาจำเลยเมื่อคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกจึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วภายใน 5 ปีกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจึงเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวบรวมหลักฐานลายมือชื่อในคดีอาญา: พนักงานสอบสวนมีอำนาจกว้างขวางในการแสวงหาหลักฐาน แม้ไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อเดิม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 พนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่รวบรวมหลักฐานในคดีความ เมื่อผู้เสียหายอ้างว่า ลายมือชื่อในใบถอนเงินตามเอกสารพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของตน แต่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายซึ่งลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลย จึงมีปัญหาว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือไม่ การที่พนักงานสอบสวนจัดให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อต่อหน้าตนในกระดาษหลายแผ่นและขวนขวายจัดหาลายมือชื่อและลายมือเขียนของ ผู้เสียหายที่เคยลงลายมือชื่อหรือเขียนไว้ในที่อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรแล้วรวมส่งไปให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจเปรียบเทียบที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แม้จะไม่ได้ตัวอย่างลายมือชื่อที่ผู้เสียหายให้ไว้แก่ธนาคารขณะเปิดบัญชีรวมไปด้วย ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบแล้วในเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วสำหรับพิสูจน์ความผิดของจำเลย ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาล
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกอาศัยการกระทำผิดซ้ำใน 5 ปี ต้องพิจารณาโทษจำคุกที่เคยได้รับจริง ไม่ใช่โทษที่รอการลงโทษ
ในคดีก่อนที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นในคดีนั้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน และปรับ 20,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วภายใน 5 ปี มากระทำความผิดคดีนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 แห่งประมวลกฎหมายอาญามิได้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เด็กหนีออกจากบ้านขาดการดูแล-ล้างมลทิน-เพิ่มโทษจำคุก
การที่เด็กหนีออกจากบ้านมาเป็นเด็กเร่ร่อนและขอทานอยู่โดยไม่ยอมกลับบ้านอีก ย่อมแสดงว่าเด็กได้หนีไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยเด็ดขาดแล้ว แม้มารดาเด็กยังติดตามหาอยู่ก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเด็กยังอยู่ในความปกครองดูแลของมารดาในขณะนั้นแต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย การที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า"ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่ง พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ" ความผิดคดีก่อนจำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 และพ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ก่อนพ.ศ.2537 ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิ่มโทษจำคุกจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย การที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า"ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่ง พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ" ความผิดคดีก่อนจำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 และพ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ก่อนพ.ศ.2537 ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิ่มโทษจำคุกจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษและพระราชบัญญัติล้างมลทิน ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539มาตรา6(3)ประกาศใช้บังคับมีผลให้จำเลยที่1ซึ่งได้รับพักการลงโทษเพื่อคุมประพฤติให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปและต่อมามีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีพ.ศ.2539มาตรา4ประกาศใช้บังคับมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสองซึ่งได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา92,93ไม่ได้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.ฎ.อภัยโทษและ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษจำเลยที่พ้นโทษแล้ว
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539 มาตรา 6 (3) ประกาศใช้บังคับมีผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับพักการลงโทษเพื่อคุมประพฤติ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป และต่อมามีพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มาตรา 4 ประกาศใช้บังคับมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสอง ซึ่งได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 92, 93 ไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีใหม่ แม้เคยมีโทษจำคุกแต่เปลี่ยนเป็นกักขัง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีพ.ศ.2539ใช้บังคับมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่9มิถุนายนพ.ศ.2539และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยพ้นโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไปก่อนวันที่9มิถุนายน2539ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจำเลยจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าวดังกล่าวซึ่งถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินและการเพิ่มโทษ: ผลกระทบต่อผู้พ้นโทษก่อนบังคับใช้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยพ้นโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไปก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับจำเลยจึงได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีอาญาที่ผิดพลาด: ศาลต้องพิจารณาคำร้องแก้ไขฟ้องก่อนพิพากษา
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากเดิมซึ่งขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา92เป็นเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา93ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่และมิได้สอบถามจำเลยส่วนจำเลยยังไม่ได้รับสำเนาคำร้องการที่ศาลชั้นต้นด่วนพิพากษาคดีไปโดยมิได้สอบและสั่งคำร้องขอของโจทก์นับได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดพลาดดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา92เพียงหนึ่งในสามและศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาชอบที่จะยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ก่อนแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด: การแก้ไขฟ้องและการเพิ่มโทษจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากเดิมซึ่งขอให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 93 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่ และมิได้สอบถามจำเลย ส่วนจำเลยยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นด่วนพิพากษาคดีไปโดยมิได้สอบและสั่งคำร้องขอของโจทก์นับได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดพลาด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 เพียงหนึ่งในสาม และศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ก่อนแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี