พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าจากสัญญารับจ้างทำของ: การประเมินประเภทภาษีที่ถูกต้อง และสิทธิในการขอคืนภาษี
จากสาระสำคัญของสัญญาที่ระบุว่า โจทก์ต้องจัดหาพร้อมทั้งติดตั้งหินอ่อนจนสำเร็จโดยช่างที่มีฝีมือชำนาญ และเมื่องานสำเร็จแล้วจะต้องมีการตรวจรับงาน แล้วผู้ว่าจ้างจึงจะให้สินจ้างโจทก์ตอบแทน หากต่อมาเกิดความเสียหายโจทก์ยังต้องมีหน้าที่ทำการแก้ไข ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการแก้ไขในผลงานของโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำการติดตั้งเสร็จแล้ว มิได้เกี่ยวข้องกับตัวหินอ่อนที่โจทก์เป็นผู้ผลิตส่งมอบให้แก่ลูกค้า ย่อมเป็นการสนับสนุนให้เห็นว่าเข้าลักษณะของสัญญาจ้างทำของ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญารับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเสียภาษีการค้าในการรับจ้างทำของโดยโจทก์ไม่ได้รับลดหย่อนภาษีการค้าในการค้าประเภทนี้ เนื่องจากบัตรส่งเสริมการลงทุนลดหย่อนให้เฉพาะการค้าประเภทการขายของเท่านั้น
โจทก์ชำระภาษีการค้าโดยมิได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน เพราะตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากรกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น ได้แก่กรณีที่มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ปัญหาว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ภาษีการค้าหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตเพื่อขายและทำหน้าที่ติดตั้งให้แก่ลูกค้าด้วยนั้น ตามมาตรา 79 ทวิ(3) แห่ง ป.รัษฎากร ให้ถือว่าเป็นการขายเพื่อป้องกันมิให้หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ และเมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญารับจ้างทำของ การที่โจทก์เป็นผู้ผลิตหินอ่อนและเป็นผู้นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตไปรับจ้างทำของด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ ค่าแรง และอื่น ๆ โดยโจทก์คิดเป็นราคาเดียวกันในสินจ้าง ไม่แยกราคาเป็นค่าวัสดุกับค่าแรง จึงถือว่าเป็นการรับจ้างทำของตามประเภทการค้า 4 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าอีกประเภทหนึ่งซึ่งการค้าประเภทนี้ระบุรายการประกอบการค้าว่าการรับจ้างทำของรวมทั้งการขายส่วนประกอบและวัตถุพลอยได้ ป.รัษฎากรก็มิได้บัญญัติห้ามว่าเมื่อผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าประเภทหนึ่งไปแล้วไม่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทอื่นที่เข้าลักษณะอื่นด้วยอีก ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ด้วย เงินได้จำนวน 23,441,571.50 บาทเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและตามบัตรส่งเสริมการลงทุนโจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขายของ เงินได้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องแยกคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างหากจากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
รายรับของโจทก์ตามสัญญาพิพาทต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) การที่จำเลยที่ 1 ได้รับชำระภาษีการค้าไว้จากโจทก์ จึงเป็นการรับชำระเนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกภาษีการค้าที่ชำระไปแล้วและดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องคืน
โจทก์ชำระภาษีการค้าโดยมิได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน เพราะตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากรกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น ได้แก่กรณีที่มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ปัญหาว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ภาษีการค้าหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตเพื่อขายและทำหน้าที่ติดตั้งให้แก่ลูกค้าด้วยนั้น ตามมาตรา 79 ทวิ(3) แห่ง ป.รัษฎากร ให้ถือว่าเป็นการขายเพื่อป้องกันมิให้หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ และเมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญารับจ้างทำของ การที่โจทก์เป็นผู้ผลิตหินอ่อนและเป็นผู้นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตไปรับจ้างทำของด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ ค่าแรง และอื่น ๆ โดยโจทก์คิดเป็นราคาเดียวกันในสินจ้าง ไม่แยกราคาเป็นค่าวัสดุกับค่าแรง จึงถือว่าเป็นการรับจ้างทำของตามประเภทการค้า 4 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าอีกประเภทหนึ่งซึ่งการค้าประเภทนี้ระบุรายการประกอบการค้าว่าการรับจ้างทำของรวมทั้งการขายส่วนประกอบและวัตถุพลอยได้ ป.รัษฎากรก็มิได้บัญญัติห้ามว่าเมื่อผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าประเภทหนึ่งไปแล้วไม่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทอื่นที่เข้าลักษณะอื่นด้วยอีก ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ด้วย เงินได้จำนวน 23,441,571.50 บาทเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและตามบัตรส่งเสริมการลงทุนโจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขายของ เงินได้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องแยกคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างหากจากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
รายรับของโจทก์ตามสัญญาพิพาทต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) การที่จำเลยที่ 1 ได้รับชำระภาษีการค้าไว้จากโจทก์ จึงเป็นการรับชำระเนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกภาษีการค้าที่ชำระไปแล้วและดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การรับจ้างทำของและการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
จากสาระสำคัญของสัญญาที่ระบุว่าโจทก์ต้องจัดหาพร้อมทั้งติดตั้งหินอ่อนจนสำเร็จโดยช่างที่มีฝีมือชำนาญและเมื่องานสำเร็จแล้วจะต้องมีการตรวจรับงานแล้วผู้ว่าจ้างจึงจะให้สินจ้างโจทก์ตอบแทนหากต่อมาเกิดความเสียหายโจทก์ยังต้องมีหน้าที่ทำการแก้ไขซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการแก้ไขในผลงานของโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำการติดตั้งเสร็จแล้วมิได้เกี่ยวข้องกับตัวหินอ่อนที่โจทก์เป็นผู้ผลิตส่งมอบให้แก่ลูกค้าย่อมเป็นการสนับสนุนให้เห็นว่าเข้าลักษณะของสัญญาจ้างทำของสัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญารับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเสียภาษีการค้าในการรับจ้างทำของโดยโจทก์ไม่ได้รับลดหย่อนภาษีการค้าในการค้าประเภทนี้เนื่องจากบัตรส่งเสริมการลงทุนลดหย่อนให้เฉพาะการค้าประเภทการขายของเท่านั้น โจทก์ชำระภาษีการค้าโดยมิได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนเพราะตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้แก่กรณีที่มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนปัญหาว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ภาษีการค้าหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตเพื่อขายและทำหน้าที่ติดตั้งให้แก่ลูกค้าด้วยนั้นตามมาตรา79ทวิ(3)แห่งประมวลรัษฎากรให้ถือว่าเป็นการขายเพื่อป้องกันมิให้หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า1การขายของและเมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญารับจ้างทำของการที่โจทก์เป็นผู้ผลิตหินอ่อนและเป็นผู้นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตไปรับจ้างทำของด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ค่าแรงและอื่นๆโดยโจทก์คิดเป็นราคาเดียวกันในสินจ้างไม่แยกราคาเป็นค่าวัสดุกับค่าแรงจึงถือว่าเป็นการรับจ้างทำของตามประเภทการค้า4แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าอีกประเภทหนึ่งซึ่งการค้าประเภทนี้ระบุรายการประกอบการค้าว่าการรับจ้างทำของรวมทั้งการขายส่วนประกอบและวัตถุพลอยได้ประมวลรัษฎากรก็มิได้บัญญัติห้ามว่าเมื่อผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าประเภทหนึ่งไปแล้วไม่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทอื่นที่เข้าลักษณะอื่นด้วยอีกฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า4การรับจ้างทำของชนิด1(ฉ)ด้วยเงินได้จำนวน23,441,571.50บาทเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและตามบัตรส่งเสริมการลงทุนโจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขายของเงินได้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและต้องแยกคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างหากจากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี รายรับของโจทก์ตามสัญญาพิพาทต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า4การรับจ้างทำของชนิด1(ฉ)การที่จำเลยที่1ได้รับชำระภาษีการค้าไว้จากโจทก์จึงเป็นการรับชำระเนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกภาษีการค้าที่ชำระไปแล้วและดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การซื้อขายหุ้น, การรับเช็คของขวัญ, และการหาผลประโยชน์จากตั๋วสัญญาใช้เงิน การประเมินและพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา49แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้นแม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา49แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา19,20,23,24แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน15,000,000บาทให้ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่นแล้วด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่างๆต่อมาด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48บาทซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน1,301,946.48บาทน่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินและโจทก์ก็อ้างว่าด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา50ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษีณที่จ่ายไว้เมื่อด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีกตามประมวลรัษฎากรมาตรา6,42(14)และ56วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี2533จำนวน46ฉบับรวมเป็นเงิน83,102,500บาทนั้นโจทก์นำสืบว่าบริษัทส. จำกัดมอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดินโดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้แม้บริษัทส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง85,000,000บาทเศษดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัทส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับโดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นภาษีเงินได้: เช็คของขวัญ, เงินซื้อหุ้น, และเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงิน การพิจารณาแหล่งที่มาและภาระภาษี
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้น แม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19,20,23,24 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน 15,000,000 บาท ให้ ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่น แล้ว ด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ต่อมา ด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48 บาท ซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน 1,301,946.48 บาท น่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทก์ก็อ้างว่า ด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เมื่อ ด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีก ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 6,42(14) และ 56 วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี 2533 จำนวน 46 ฉบับรวมเป็นเงิน 83,102,500 บาท นั้น โจทก์นำสืบว่าบริษัท ส. จำกัด มอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดิน โดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้ แม้บริษัท ส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง 85,000,000 บาทเศษ ดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัท ส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับ โดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทบทวนประเด็นภาษีโดยไม่ได้รับอนุมัติ ทำให้การประเมินภาษีเป็นโมฆะ – ข้ออุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลภาษีอากรกลาง
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานกองตรวจสอบภาษีอากรของจำเลย ทบทวนประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของโจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีอากรเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการ จำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์นั้นอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการจำหน่ายหนี้สูญ: ข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจเจ้าพนักงานประเมินและการยกข้ออุทธรณ์ใหม่ในชั้นฎีกา
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานกองตรวจสอบภาษีอากรของจำเลย ทบทวนประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของโจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีอากรเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการ จำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์นั้นอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: การหักรายจ่าย, การคำนวณกำไรสุทธิ, และการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อประกอบกิจการซึ่งถือได้ว่าประกอบกิจการในประเทศไทยก็มีหน้าที่ต้องยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากฐานกำไรสุทธิซึ่งได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในประเทศไทยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65ทวิมาตรา65ตรีและคิดตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา66และมาตรา67หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามมาตรา66วรรคสองประกอบมาตรา71(1)ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อโจทก์ยังสามารถที่จะคำนวณกำไรสุทธิเพื่อยื่นรายการและเสียภาษีได้แต่โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา66และมาตรา67เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้ การที่บัญชีงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนและหลักฐานการทำบัญชีต่างๆของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในต่างประเทศลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่างๆตามสมุดบัญชีงบดุลและงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่างๆในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้นยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายไม่ครบถ้วนเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่ดังนั้นการที่โจทก์ยกข้อความดังกล่าวขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีจึงลดเบี้ยปรับลงเหลือร้อยละ50เป็นดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: การกำหนดราคา, เงินล่วงหน้า, และการเสียภาษี
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการซื้อเนื้อแร่ดีบุกระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท.ผู้ซื้อ ระบุว่าให้ถือว่าการส่งมอบแร่ดีบุกสำเร็จบริบูรณ์และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคือแร่ทั้งหมดตกเป็นของบริษัท ท.เมื่อได้ชั่งน้ำหนักชื้นรวมตามวิธีที่ระบุไว้ ราคาซื้อให้คำนวณโดยใช้ราคาตลาดปีนังของวันตลาดดีบุกปีนังที่ผู้ขายระบุโดยผู้ขายอาจระบุเอาวันตลาดดีบุกปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นวันราคาตลาดปีนังก็ได้ ในกรณีที่ผู้ขายไม่ได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นราคาตลาดปีนัง ก็ให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบในการคำนวณราคาซื้อ และเมื่อได้รับคำขอจากผู้ขายบริษัท ท.จะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเป็นเงินบาท จำนวนไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาซื้อสุทธิประมาณได้จากปริมาณของแร่ดีบุกที่ผู้ขายส่งมอบให้แต่ละครั้งและที่ผู้ขายยังมิได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดเป็นราคาตลาดปีนัง ราคาซื้อสุทธิที่ประมาณนี้ให้คำนวณจากราคาตลาดปีนังของวันที่จ่ายเงินล่วงหน้า สัญญาซื้อขายแร่เช่นนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบแร่ระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท.ผู้ซื้อแล้วเพียงแต่การกำหนดราคาแร่ที่แน่นอน ฝ่ายผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายกำหนดภายหลังโดยถือราคาแร่ของตลาดปีนังในวันใดวันหนึ่งก็ได้ภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบแร่ถ้าผู้ขายไม่กำหนดภายในเวลาดังกล่าวให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบแร่เป็นราคาแร่ที่ซื้อขายกัน เหตุผลที่ต้องมีข้อตกลงเช่นนี้ก็เพื่อมิให้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะราคาแร่ขึ้นลงทุกวัน และการที่ผู้ซื้อยอมจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ให้แก่ผู้ขายเมื่อผู้ขายร้องขอทั้ง ๆ ที่ผู้ขายยังมิได้กำหนดราคาซื้อขายแร่ ก็ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ขายเสียดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 หลังจากวันที่จ่ายเงินล่วงหน้าจนกระทั่งผู้ขายจะได้ระบุวันตลาดปีนังที่ใช้คำนวณราคาแร่ที่ซื้อขายกัน ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ขายได้เปรียบผู้ซื้อเกินไปนั่นเอง ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายจึงใช้บังคับได้ บริษัทท.ได้ยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการรับจำนำแร่ และเงินล่วงหน้าค่าแร่ที่บริษัทจ่ายให้ผู้ขายไปก่อนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ ดังนั้นเงินจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ที่โจทก์ได้รับไว้เมื่อวันที่ 24 และ 26 ธันวาคม 2524 นั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ที่บริษัท ท.ผู้ซื้อได้ชำระให้แก่โจทก์ผู้ขาย หาใช่เงินกู้ไม่ เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2524
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มนั้น คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวข้อนี้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มนั้น คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวข้อนี้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: เงินล่วงหน้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อ ไม่ใช่เงินกู้ ต้องนำมารวมคำนวณภาษี
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการซื้อเนื้อแร่ดีบุกระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท. ผู้ซื้อ ระบุว่าให้ถือว่าการส่งมอบแร่ดีบุกสำเร็จบริบูรณ์และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคือแร่ทั้งหมดตกเป็นของบริษัท ท. เมื่อได้ชั่งน้ำหนักชิ้นรวมตามวิธีที่ระบุไว้ราคาซื้อให้คำนวณโดยใช้ราคาตลาดปีนังของวันตลาดดีบุกปีนังที่ผู้ขายระบุโดยผู้ขายอาจระบุเอาวันตลาดดีบุกปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นวันราคาตลาดปีนังก็ได้ในกรณีที่ผู้ขายไม่ได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นราคาตลาดปีนังก็ให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบในการคำนวณราคาซื้อ และเมื่อได้รับคำขอจากผู้ขายบริษัท ท. จะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเป็นเงินบาท จำนวนไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาซื้อสุทธิประมาณได้จากปริมาณของแร่ดีบุกที่ผู้ขายส่งมอบให้แต่ละครั้งและที่ผู้ขายยังมิได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดเป็นราคาตลาดปีนังราคาซื้อสุทธิที่ประมาณนี้ให้คำนวณจากราคาตลาดปีนังของวันที่จ่ายเงินล่วงหน้า สัญญาซื้อขายแร่เช่นนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบแร่ระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท. ผู้ซื้อแล้วเพียงแต่การกำหนดราคาแร่ที่แน่นอน ฝ่ายผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายกำหนดภายหลังโดยถือราคาแร่ของตลาดปีนังในวันใดวันหนึ่งก็ได้ภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบแร่ ถ้าผู้ขายไม่กำหนดภายในเวลาดังกล่าวให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบแร่เป็นราคาแร่ที่ซื้อขายกันเหตุผลที่ต้องมีข้อตกลงเช่นนี้ก็เพื่อมิให้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะราคาแร่ขึ้นลงทุกวันและการที่ผู้ซื้อยอมจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ให้แก่ผู้ขายเมื่อผู้ขายร้องขอทั้ง ๆ ที่ผู้ขายยังมิได้กำหนดราคาซื้อขายแร่ ก็ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ขายเสียดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 หลังจากวันที่จ่ายเงินล่วงหน้าจนกระทั่งผู้ขายจะได้ระบุวันตลาดปีนังที่ใช้คำนวณราคาแร่ที่ซื้อขายกัน ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ขายได้เปรียบผู้ซื้อเกินไปนั่นเอง ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายจึงใช้บังคับได้ บริษัท ท. ได้ยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการรับจำนำแร่ และเงินล่วงหน้าค่าแร่ที่บริษัทจ่ายให้ผู้ขายไปก่อนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ ดังนั้นเงินจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ที่โจทก์ได้รับไว้เมื่อวันที่ 24 และ 26 ธันวาคม 2524 นั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ที่บริษัท ท. ผู้ซื้อได้ชำระให้แก่โจทก์ผู้ขาย หาใช่เงินกู้ไม่ เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2524
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มนั้น คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวข้อนี้ไว้จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มนั้น คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวข้อนี้ไว้จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: การกำหนดราคาภายหลังและการถือว่าเงินล่วงหน้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อขาย เงินได้พึงประเมิน
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการซื้อเนื้อแร่ดีบุกระหว่างโจทก์ผู้ขายกับบริษัทท. ผู้ซื้อสัญญาระบุให้ถือว่าการส่งมอบแร่ดีบุกสำเร็จบริบูรณ์และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของผู้ซื้อเมื่อได้ชั่งน้ำหนักชิ้นรวมตามวิธีที่ระบุไว้นอกจากนั้นได้กำหนดราคาซื้อให้คำนวณโดยใช้ราคาตลาดปีนังของวันตลาดดีบุกปีนังที่ผู้ขายระบุวันใดวันหนึ่งภายใน30วันหลังจากวันส่งมอบเป็นวันตลาดปีนังก็ได้กรณีผู้ขายมิได้ระบุวันตลาดดีบุกปีนังให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่30หลังจากวันส่งมอบในการคำนวณราคาซื้อและเมื่อได้รับคำขอผู้ซื้อจะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเป็นเงินบาทจำนวนไม่เกินร้อยละ80ของราคาซื้อสุทธิจากปริมาณแร่ดีบุกที่ส่งมอบในแต่ละครั้งคำนวณจากราคาตลาดปีนังของวันที่จ่ายเงินล่วงหน้าเช่นนี้สัญญาซื้อขายนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบแร่แล้วเพียงแต่การกำหนดราคาแร่ที่แน่นอนผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายกำหนดภายหลังส่วนข้อตกลงให้ผู้ซื้อจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ80กับข้อกำหนดให้ผู้ขายเสียดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวร้อยละ1ต่อเดือนไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งผู้ซื้อยืนยันว่าไม่ได้ดำเนินการรับจำนำแร่และเงินล่วงหน้าค่าแร่เป็นเงินส่วนหนึ่งของราคาแร่หาใช่เงินกู้ไม่เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้งดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่โจทก์มิได้ขอให้บังคับไว้ในคำฟ้องจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา29ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้