คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งราคาฐานภาษี & ขั้นตอนการขอคืนอากร หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน กฎหมายกำหนด ไม่มีอำนาจฟ้อง
ราคาของที่จะนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากรนั้น ต้องคิดจากราคาสินค้ารวมกับค่าประกันภัยและค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าซึ่งเรียกว่าราคาซี.ไอ.เอฟ. ค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาของ การที่โจทก์โต้แย้งเรื่องค่าขนส่งหรือค่าระวางสินค้าถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับราคาแห่งของเมื่อโจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอคืนอากรขาเข้ารวมถึงค่าธรรมเนียมพิเศษที่ให้นำกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดระเบียบ•การเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 แม้การที่เจ้าพนักงานประเมินได้มีคำสั่งประเมินภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงโดยเพิ่มค่าระวางขนส่งให้สูงขึ้นจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้วก็ตาม แต่ในกรณีเช่นนี้กฎหมายกำหนดขั้นตอนที่โจทก์จะต้องปฏิบัติก่อน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าบริการทางวิศวกรรมและค่าสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 40(3) และ 70(2) ไม่ใช่ 40(6) และ 70(4)
การที่โจทก์ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศไว้ 2 ประเภท คือสัญญาประเภทให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม กับสัญญาประเภทให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมเลิกกัน โจทก์ต้องส่งคำแนะนำและเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตอันถือเป็นความลับคืน โดยห้ามทำสำเนาไว้ และผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวมีผลให้สัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลิกกัน สิทธิของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าย่อมหมดไปสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทนสัญญาจึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 70(2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6)ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70(4) แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวไม่ โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากสัญญาช่วยเหลือทางวิศวกรรมและใช้เครื่องหมายการค้า: เงินได้จากการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทน vs. วิชาชีพอิสระ
การที่โจทก์ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศไว้ 2 ประเภท คือสัญญาประเภทให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม กับสัญญาประเภทให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมเลิกกัน โจทก์ต้องส่งคำแนะนำและเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตอันถือเป็นความลับคืน โดยห้ามทำสำเนาไว้ และผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวมีผลให้สัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลิกกัน สิทธิของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าย่อมหมดไปสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทนสัญญาจึงเป็นเงินได้ตาม มาตรา 40 (3) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา40 (6) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 (4) แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวไม่
โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษี•อากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องภาษีอากรไม่เคลือบคลุม การไม่อนุญาตเลื่อนคดีมีเหตุผลจากจำเลยมิได้สนใจดำเนินคดี
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร ฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2529 ข้อ 8 โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้ 10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา 359,173.29บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้งจำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกันทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้ จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถานจำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษ ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า ต้องพิจารณาเจตนาในการได้มาและขายทรัพย์สิน หากมิได้มีเจตนาค้าหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
แม้โจทก์ที่ 2 จะได้ทำสัญญาว่า ย. เป็นผู้ทำการก่อสร้างแต่การขออนุญาตและการรับเงินทั้งค่าที่ดินและค่าก่อสร้าง โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้รับเงินนั้นทั้งหมด นอกจากนี้ การแบ่ง เงินชำระเป็นงวด ๆ ก็ได้คิดราคาทั้งที่ดินและค่าก่อสร้างเข้าด้วยกัน พฤติการณ์เห็นได้ว่า การก่อสร้างตึกแถวรายนี้เป็นการดำเนินการ ของโจทก์ที่ 2เงินค่าก่อสร้างจึงเป็นเงินได้หรือ รายรับของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ได้แลกเปลี่ยนที่ดินกับกรมธนารักษ์ แล้วนำมา แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ และปลูกอาคารขาย เป็นการได้ทรัพย์มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และขายทรัพย์ไปเป็นทางการค้าหรือหากำไรจึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า โจทก์ที่ 2 ได้ทรัพย์สินมาในเบื้องต้นโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะจะใช้เพื่ออยู่อาศัยและต่อมาขายไปราคาเท่าเดิมกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือ หากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้า เงินได้ที่โจทก์ที่ 2 ได้รับจากการขายที่ดินและตึกแถวจะต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ โจทก์มิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ว่ามีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดสนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์ไม่ต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อ วันที่ 30มีนาคม 2522,31 มีนาคม 2523 และ 31 มีนาคม 2524 และ เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนโดยมีเหตุอันควร เชื่อว่าโจทก์ ยื่นรายการไว้ไม่ถูกต้องเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2525 จึงเป็นการออก หมายเรียกภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการ และเมื่อนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นรายการจนถึงวันที่ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมิน เรียกเก็บภาษีจากโจทก์เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2531 แล้ว ยังอยู่ภายในกำหนด 10 ปีปี เจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจประเมิน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 19แห่ง ป.รัษฎากรได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมศุลกากรในการกักสินค้าค้างชำระภาษีอากร แม้มีการอุทธรณ์คดี
อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจตามมาตรา112 เบญจ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่จะกักของใด ๆ ของผู้ที่ค้างชำระภาษีอากรซึ่งกำลังผ่านศุลกากรจนกว่าจะได้รับชำระอากรที่ค้างจนครบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มสำหรับสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งผ่านศุลกากรไปแล้ว และแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มแล้ว แม้ว่าโจทก์จะอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีอยู่ก็ตาม ต้องถือว่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มและแจ้งให้โจทก์ชำระแล้วเป็นภาษีอากรค้างชำระโดยไม่ต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาเสียก่อน หากต่อมาศาลพิพากษาในคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจำเลยประเมินภาษีอากรเพิ่มไม่ชอบ จำเลยย่อมมีหน้าที่คืนภาษีอากรดังกล่าวให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ฉะนั้น เมื่อถือว่าเป็นภาษีอากรค้างชำระ อธิบดีกรมศุลกากรจึงใช้อำนาจกักสินค้าของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะชำระค่าภาษีอากรที่ค้างได้ คำสั่งให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533 และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนั้นได้ แต่ก็หาได้ทำไม่ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางภาษีอากรเมื่อของเสียหายจากเหตุสุดวิสัยหลังนำเข้า และข้อยกเว้นการคืนภาษี
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้น เมื่อเรือนำของที่โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้
ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร) ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้
ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จเมื่อเรือเข้าท่า แม้สินค้าเสียหายก่อนตรวจปล่อย และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องเหตุใหม่
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็น อันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่าย ของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้นเมื่อเรือนำของที่ โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อ ส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับ ของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมาย ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7)เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ(1)แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร)ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้วจึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับรถใช้งานที่มีปั้นจั่น และการพิสูจน์ราคาอันแท้จริง
โจทก์ฟ้องเฉพาะที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าว่ามิได้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานของจำเลยอ้าง มิได้ฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและศาลภาษีอากรกลางก็มิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของมาตรา 30แห่งประมวลรัษฎากรต้องห้ามอุทธรณ์ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามพระราชกฤษฎีกา พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 นั้น สินค้าในพิกัดประเภทที่ 4.26 มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การยกหรือขนย้ายด้วยการยกของหนัก ๆ จากที่ที่ตั้งหรือวางอยู่ไปวาง ณ อีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มิได้มีความประสงค์ในการบรรทุกแล้วแล่นหรือเคลื่อนที่ไป ส่วนในพิกัดประเภท 7.05 นั้น เป็นสินค้าที่มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเป็นยานยนต์ ซึ่งใช้งานด้วยการบรรทุกสิ่งของแล้วแล่นไปดังจะเห็นได้จากสินค้าที่ได้ยกตัวอย่างไว้ อันมี รถยกลากรถเสียรถดับเพลิง รถผสมคอนกรีต รถกวาดถนน รถสำหรับฉีดพ่น เป็นต้น สินค้าพิพาทเป็นรถปั้นจั่นขนาดใหญ่ มีความยาว 17.5 เมตรเฉพาะตัวรถกว้าง 2.5 เมตร มีเพลาล้อ เพลาล้อ 32 ล้อ ตัวรถมีขาช้าง และก้านเหล็กทั้งซ้ายและขวา รวม 6 ตัว ซึ่งก้านด้านหน้าและด้านท้ายรถมีความยาวตลอดแนวจากซ้ายไปขวายาว .0 เมตร(รวมทั้งตัวรถ) ส่วนตัวกลางยาวตลอดแนวจากซ้ายไปขวา 11.73 เมตร(รวมทั้งตัวรถ) บนตัวรถมีห้องเครื่องบังคับการทำงานของตัวปั้นจั่นซึ่งมีก้านเหล็กยาววัดได้ 41 เมตร ก้านเหล็กนี้ใช้ยกโดยมีลวดสลิงยกของที่มีน้ำหนักมากจากเรือบรรทุกสินค้า รถรวมทั้งเครื่องจักรและก้านเหล็กมีน้ำหนัก 100 ตันเศษ ซึ่งเกินกว่าที่พระราชบัญญัติ จราจรกำหนดไว้ การเคลื่อนตัวของรถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งจะต้องยกขาช้างด้วยระบบไฮโดรลิก ส่วนก้านเหล็กขาช้าง ไม่สามารถที่จะพับเก็บได้ คงกางอยู่ตลอดเวลา สามารถยกน้ำหนักได้ถึง 350 ตัน และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปตามท้องถนนเหมือนรถดับเพลิงที่มีกระเช้ารถยกลากรถเสีย หรือรถสำหรับยกของการไฟฟ้า สินค้าพิพาทนี้เมื่อติดตั้งเสร็จและยกของเสร็จแล้วจะเคลื่อนไปยกยังอีกที่หนึ่ง สถานที่จะไปยกต่อนี้ต้องอยู่ห่างไม่เกิน5 ถึง 10 เมตร ถ้าจะเคลื่อนไปไกลกว่านี้จะต้องถอดตัวปั้นจั่นทั้งหมดออกพร้อมกับเก็บขาช้าง แล้วเคลื่อนที่ฐานไป เมื่อถึงที่ใหม่แล้วต้องประกอบใหม่ทั้งหมด เช่นนี้ สินค้าพิพาทจึงเป็นสินค้าที่มีความประสงค์ใช้ยกของหนักมาก ทำงานอยู่กับที่ไม่มีลักษณะเป็นยานยนต์อันมีสาระสำคัญอยู่ที่การเคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างคล่องตัวดังสินค้าในพิกัดประเภทที่ 87.05 สินค้าพิพาทจึงจัดว่าเป็นรถใช้งานที่มีปั้นจั่นติดอยู่ด้วย อันจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 84.26 ทั้งนี้แม้ว่าสินค้ารายพิพาทจะมี2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับบังคับการทำงานของปั้นจั่น อีกส่วนหนึ่งใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าในพิกัดประเภทที่ 87.05 ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ตรงกับราคาที่โจทก์กับผู้ขายตกลงกัน และตรงกับจำนวนเงินที่ระบุไว้ในคำขอการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะจำนวนเงินในเอกสารที่โจทก์กับผู้ขายตกลงกันก็ตรงกับจำนวนเงินที่ปรากฏในใบอนุญาตให้โจทก์นำเข้าสินค้ารายพิพาทด้วย และราคาที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าดังกล่าวข้างต้นนั้น จำเลยก็มิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์และบริษัทผู้ขายได้สมคบกันทำขึ้นโดยกำหนดราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริงแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะทำได้ ส่วนราคาตามที่เจ้าพนักงานจำเลยประเมิน นั้นเป็นการที่จำเลยนำเอาราคาสินค้าใหม่ยี่ห้อเดียวกับสินค้ารายพิพาทที่บริษัทช.นำเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2525 มาเป็นเกณฑ์แล้วหักค่าเสื่อมราคาออก จึงเป็นการนำเอาสินค้าคนละรุ่นและการใช้งานแตกต่างกัน ทั้งเป็นราคาสินค้าใหม่มาเป็นเกณฑ์คำนวณย่อมไม่อาจจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้ารายพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ออกหมายเรียกไต่สวนก่อนแล้ว และเหตุผลในการขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากร
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนตามป.รัษฎากร มาตรา 19 โจทก์ได้มาให้ถ้อยคำและนำหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานจนเจ้าพนักงานประเมินได้ทราบข้อเท็จจริงถึงเงินสดและทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ ตลอดจนรายจ่ายของโจทก์แล้วนำไปคำนวณหาทรัพย์สินสุทธิปลายปีของแต่ละปี ตั้งแต่ พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2520ต่อจากนั้นนำไปคำนวณหาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของแต่ละปีเอาไปปรับปรุงคำนวณหาเงินได้สุทธิของแต่ละปีแล้ว เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น จึงได้ขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิของโจทก์ขึ้น ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรก็ได้อนุมัติแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจึงได้แจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มและเงินเพิ่มที่จะต้องชำระสำหรับปี พ.ศ.2517 พ.ศ.2519 และ พ.ศ.2520 ดังกล่าวไปให้โจทก์ทราบอันเป็นการปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 49 แล้ว จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 19 แล้ว ต่อมาจึงได้ดำเนินการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 49 ในการประเมินภาษีจากโจทก์ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การประเมินที่ชอบดังวินิจฉัยแล้วกลายเป็นการประเมินที่ไม่ชอบขึ้นได้ เพราะ ป.รัษฎากร มาตรา 19 มิได้บัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อออกหมายเรียกไต่สวนตามมาตรา 19 แล้ว ห้ามมิให้ดำเนินการประเมินตามมาตรา 49
เหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อให้ตนมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินสุทธิขึ้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 49 นั้นนอกจากในกรณีที่ผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้แล้ว ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่า ผู้มีเงินได้ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่นก็ขออนุมัติได้ด้วยดังที่กฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติไว้ และในกรณีที่เจ้าพนักงาน-ประเมินพิจารณาเห็นว่า ผู้มีเงินได้ยื่นรายการเงินได้ต่ากว่าจำนวนที่ควรต้องยื่นนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะได้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาจากผู้มีเงินได้หรือจากบุคคลภายนอกก็นำมาเป็นเหตุในการขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิของผู้มีเงินได้ขึ้นได้ทั้งสิ้น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างว่า ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุที่จะอ้างได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19 การออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนจึงเป็นการไม่ชอบ กับที่อุทธรณ์ขอให้ศาลงดเงินเพิ่มทั้งหมดนั้น โจทก์มิได้อ้างเหตุตามข้ออุทธรณ์ไว้ในคำฟ้องและมิได้มีคำขอให้ศาลงดเงินเพิ่มแก่โจทก์มาในคำฟ้องปัญหาที่โจทก์ยกขึ้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น อีกทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 16