พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ภาษีอากรหลังการชำระบัญชี: ผลของการแจ้งการประเมินภาษีและการสั่งบังคับ
แม้มูลหนี้ตามฟ้องจะเป็นหนี้ค่าภาษีอากร แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของห้างุ้นส่วนจำกัด น. ซึ่งจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 จึงมีอายุความห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 แต่เมื่อโจทก์มีหนังสือเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532 แจ้งให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่พนักงานมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้จำเลยอาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องร้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยรับหนังสือเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2532 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นกำหนด 30 วันที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระ ดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2532 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2542 จึงพ้น 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันในการยกอายุความหนี้ของห้างหุ้นส่วน แม้มีข้อตกลงเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1272 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเรียกหนี้สินเฉพาะที่ห้างหุ้นส่วนหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้นเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีก็ตาม แต่มาตรา 694 ก็ได้บัญญัติไว้อีกว่า นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันหรือจำเลยมีต่อเจ้าหนี้หรือโจทก์นั้นท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้หรือห้างดังกล่าวมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ดังนั้น ข้อสัญญาตามหนังสือค้ำประกันที่ระบุว่าจำเลยผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ยังคงมีอยู่ต่อธนาคารโจทก์ ย่อมหาทำให้จำเลยผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ซึ่งห้างลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามมาตรา 694 ไม่ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างจึงชอบที่จะยกอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1272 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ และเมื่อนับแต่วันอันเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีของห้างจนถึงวันฟ้อง เกินกำหนด2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค้ำประกันหลังชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: สิทธิของผู้ค้ำประกันในการยกข้อต่อสู้
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 จะบัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเรียกหนี้สินเฉพาะที่ห้างหุ้นส่วนหรือผู้เป็นลูกหนี้อยู่ในฐานะเช่นนั้นเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีก็ตาม แต่ตามมาตรา 694ก็ได้บัญญัติไว้ว่านอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันหรือจำเลยที่ 1 มีต่อเจ้าหนี้หรือโจทก์นั้น ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้หรือห้างดังกล่าวมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย แม้ข้อสัญญาข้อ 2 และข้อ 5 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ยังคงมีอยู่ต่อธนาคารโจทก์ก็ตาม ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ซึ่งห้างลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามมาตรา 694 ไม่ ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างจึงชอบที่จะยกอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 1272 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้และเมื่อนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก. จนถึงวันฟ้องเกินกำหนด2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้สินหลังชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: ฟ้องเกิน 2 ปี ขาดอายุความ
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535 จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะมีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253 (2)หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหนี้สินหลังการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน/บริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความ ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3จะมีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253(2) หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้หลังการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535 จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะได้มีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253(2) หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนทรัพย์สินจากการยักยอกเงินบริษัท ไม่ใช่หนี้สินจากการชำระบัญชี
การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้นเป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1272 จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา 448 คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา448 ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุล โดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการ รายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นิติบุคคลซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้น และขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้นมิใช่กรณีที่เมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกันและมีการชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ฐานเช่นนั้น ดังที่บัญยัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1272 จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน อันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2523 มีจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2526 ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12816/2526 มีคำสั่งให้เลิกบริษัทโจทก์โดยตั้งจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชี และต่อมาศาลชั้นต้นดังกล่าวมีคำสั่งตั้งนายจงศักดิ์ หน่อชูเวช เป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกับจำเลยแต่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้ชำระบัญชี จึงเหลือนายจงศักดิ์เป็นผู้ชำระบัญชีเพียงผู้เดียวและการชำระบัญชียังไม่ถึงที่สุด จากการตรวจสอบบัญชีของโจทก์นายจงศักดิ์พบว่าจำเลยทำบัญชีงบดุลของโจทก์ในปี 2524 โดยนำเงินสดของโจทก์ไปใช้รวม 1,234,188.28 บาท โดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่าย และเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการกล่าวคือ ค่าขุดบ่อน้ำบาดาล 270,000 บาท ค่าสำรวจไร่กับค่าหญ้า 833,146บาท ค่าใช้จ่ายในเดือนธันวาคม 2523 จำนวน 71,397.28 บาท และค่าใช้จ่ายในเดือนมกราคม 2526 อีก 59,645 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทโจทก์ และที่ประชุมก่อตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบัน หรืออนุมัติการจ่ายเงินดังกล่าว เงินจำนวนนี้เป็นของโจทก์แต่จำเลยนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วลงในบัญชีของโจทก์เป็นรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ โจทก์ขอให้จำเลยทำการแก้ไขบัญชีของโจทก์ให้ถูกต้องและทวงถามให้จำเลยนำเงินมาคืนให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 1,234,188.28 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่นายจงศักดิ์ หน่อชูเวช ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้น ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน401,042.28 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งว่า จำเลยได้นำเงินของโจทก์ไปใช้จ่ายเป็นค่าสำรวจไร่และค่าหญ้าซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์รวมเป็นเงิน 833,146 บาท จริง ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นนี้มีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนค่าขุดบ่อน้ำบาดาลและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวม 25 รายการเป็นเงิน 401,042.28 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ชอบ เป็นเหตุให้โจทก์และผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้อันจะต้องตกอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1272 แต่เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448มาใช้บังคับนั้น เห็นว่า การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่นายจงศักดิ์ หน่อชูเวช ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้น เป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา 448 คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 448 หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นยกเอาอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดี ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุลปี 2524 โดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการ รายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้น และขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่เมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกัน และมีการชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1272 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุล โดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการ รายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นิติบุคคลซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้น และขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้นมิใช่กรณีที่เมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกันและมีการชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ฐานเช่นนั้น ดังที่บัญยัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1272 จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน อันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2523 มีจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2526 ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12816/2526 มีคำสั่งให้เลิกบริษัทโจทก์โดยตั้งจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชี และต่อมาศาลชั้นต้นดังกล่าวมีคำสั่งตั้งนายจงศักดิ์ หน่อชูเวช เป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกับจำเลยแต่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้ชำระบัญชี จึงเหลือนายจงศักดิ์เป็นผู้ชำระบัญชีเพียงผู้เดียวและการชำระบัญชียังไม่ถึงที่สุด จากการตรวจสอบบัญชีของโจทก์นายจงศักดิ์พบว่าจำเลยทำบัญชีงบดุลของโจทก์ในปี 2524 โดยนำเงินสดของโจทก์ไปใช้รวม 1,234,188.28 บาท โดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่าย และเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการกล่าวคือ ค่าขุดบ่อน้ำบาดาล 270,000 บาท ค่าสำรวจไร่กับค่าหญ้า 833,146บาท ค่าใช้จ่ายในเดือนธันวาคม 2523 จำนวน 71,397.28 บาท และค่าใช้จ่ายในเดือนมกราคม 2526 อีก 59,645 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทโจทก์ และที่ประชุมก่อตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบัน หรืออนุมัติการจ่ายเงินดังกล่าว เงินจำนวนนี้เป็นของโจทก์แต่จำเลยนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วลงในบัญชีของโจทก์เป็นรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ โจทก์ขอให้จำเลยทำการแก้ไขบัญชีของโจทก์ให้ถูกต้องและทวงถามให้จำเลยนำเงินมาคืนให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 1,234,188.28 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่นายจงศักดิ์ หน่อชูเวช ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้น ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน401,042.28 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งว่า จำเลยได้นำเงินของโจทก์ไปใช้จ่ายเป็นค่าสำรวจไร่และค่าหญ้าซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์รวมเป็นเงิน 833,146 บาท จริง ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นนี้มีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนค่าขุดบ่อน้ำบาดาลและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวม 25 รายการเป็นเงิน 401,042.28 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ชอบ เป็นเหตุให้โจทก์และผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้อันจะต้องตกอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1272 แต่เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448มาใช้บังคับนั้น เห็นว่า การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่นายจงศักดิ์ หน่อชูเวช ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้น เป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา 448 คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 448 หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นยกเอาอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดี ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุลปี 2524 โดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการ รายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้น และขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่เมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกัน และมีการชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1272 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือ มิใช่คดีชำระบัญชี แต่เป็นการใช้สิทธิติดตามทรัพย์สิน
การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้นเป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1272จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา448คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา448ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุลโดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้นและขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้นมิใช่กรณีที่บริษัทเมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกันและมีการชำระบัญชีเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ฐานเช่นนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1272จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาทราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการชำระบัญชีบริษัท: นับแต่วันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ไม่ใช่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อายุความฟ้องเรียกหนี้สินในกรณีที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1272 ได้บัญญัติจำกัดอายุความฟ้องร้องไว้เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากบทบัญญัติในเรื่องอายุความทั่วไปที่ยาวกว่า และการเริ่มนับอายุความต้องถือตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตราดังกล่าว จะนำเอาหลักในเรื่องการนับอายุความทั่วไปในมาตรา 169 มาใช้ไม่ได้ กล่าวคือ ต้องนับระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ซึ่งวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีหมายถึงวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270 หาใช่จะต้องนับระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ควรรู้ถึงการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีคือวันที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ เพราะการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 1021และมาตรา 1022 นั้น เป็นแต่เพียงให้ถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความที่ลงทะเบียนและนายทะเบียนได้แต่งย่อไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จะนำมาใช้กับการเริ่มนับอายุความที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1272 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ขอกู้เบิกเงินเกินบัญชี คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เท่านั้นถึงแม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงการสละสิทธิในข้อต่อสู้ต่าง ๆในฐานะของผู้ค้ำประกันที่จะพึงมีตามกฎหมายไว้ ก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นความรับผิดเนื่องจากหนี้ของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน และการรับผิดของหุ้นส่วน
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49
แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง