คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1272

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาเฉพาะการชำระบัญชี, การแจ้งประเมินภาษี, และความรับผิดของผู้ถือหุ้น
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล: ค่าบริการสำนักงานใหญ่, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1)(ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307-1308/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, การอุทธรณ์, การเพิกถอนการประเมิน, ศาลแก้ไขคำพิพากษา
การนับอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272ต้องนับแต่วันจดทะเบียนเลิกการชำระบัญชี หาได้นับแต่วันจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่
เงินค่าภาษีอากรรายการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินในรายการนั้นแล้วดังนี้ โจทก์จะยกมาต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินรายการนั้นไม่ถูกต้องหาได้ไม่ปัญหานี้แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การประเมินภาษีจากรายรับเมื่อผู้ชำระบัญชีไม่นำเอกสารมาแสดง และอำนาจกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการไปไต่สวน และสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานไปแสดงได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุควรเชื่อว่า ผู้ยื่นรายการแสดงรายการแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่หาได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแสดงเหตุอันควรเชื่อดังกล่าวในหมายเรียกด้วยไม่ ส่วนการออกหมายจับหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เจ้าพนักงานผู้ออกหมายต้องระบุเหตุที่ให้จับให้ค้นในหมายด้วยนั้น เป็นคนละกรณีและกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินมีหตุควรเชื่อว่าบริษัท ส. จำกัดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องตามความเจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินย่อมหมายเรียกโจทก์ไปไต่สวนและให้ส่งบัญชีกับเอกสารได้ตามบทกฎหมายข้างต้น (โดยมิต้องแสดงเหตุดังกล่าวในหมายเรียก)
เจ้าพนักงานประเมินเรียกให้โจทก์นำบัญชีและเอกสารของบริษัท ส. จำกัดไปทำการไต่สวน โจท์อ้างว่าบัญชีและเอกสารดังกล่าวถูกคนร้ายลักไปพร้อมรถยนต์ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าบัญชีและเอกสารได้หายไปจริง การที่โจทก์ไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาหลีกเลี่ยงเจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามมาตรา 71(1) จากโจทก์ได้
บริษัท ส. จำกัด ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2518 และโจทก์ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2518 ต่อมาต้นเดือนสิงหาคม 2519 โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้รับหมายเรียกของจำเลยที่ 2 (เจ้าพนักงานประเมิน) ให้ไปยังที่ทำการสรรพากรเขต 4 เพื่อรับการไต่สวนและให้นำบัญชีกับเอกสารประกอบการลงบัญชีของบริษัท ส. จำกัด สำหรับปี 2517 ไปมอบให้ด้วย โจทก์ไม่นำบัญชีและเอกสารดังกล่าวไปมอบให้ ครั้นวันที่ 29 ตุลาคม 2519 จำเลยที่ 2 จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 (1) ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท ส.จำกัด สำหรับปี 2517 เพิ่มเติมจากที่ชำระไปแล้วอีกจำนวน 706,527.40 บาท ดังนี้ เมื่อบริษัท ส.จำกัด มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวต่ออำเภอภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65, 68 มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท ส.จำกัด ปี 2517 จึงเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ก่อนเลิกบริษัท การที่จำเลยที่ 2 อาศัยอำนาจตามมาตรา 71 (1) ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517 ย่อมทำให้บริษัท ส.จำกัด ไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517 คำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 2 จำนวนเงินค่าภาษีที่โจทก์ต้องเสียตามที่จำเลยที่ 2 ประเมินเรียกเก็บเพิ่มจึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517 ซึ่งบริษัท ส.จำกัดชำระไว้ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 ย่อมประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ผู้ชำระบัญชีภายใน 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดการชำระภาษีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ได้
จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งสรรพากรเขต 4 เป็นเจ้าพนักงานประเมินสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 4 ตามมาตรา 16 ประกอบด้วยประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 25 ตุลาคม 2523 มีอำนาจประเมินภาษีรายนี้ และจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สำหรับการประเมินรายนี้ซึ่งกระทำในท้องที่สรรพากรเขต 4 ตามมาตรา 30 (1)(ข) ด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 หัวหน้าที่ประเมินภาษีรายนี้แล้วก็มีอำนาจเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อีกได้ หามีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้หรือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 11 มาใช้ในกรณีไม่
คำสั่งประเมินภาษีจำเลยที่ 2 ทำการประเมินในฐานะสรรพากรเขต 4 จังหวัดอุดรธานี การที่คำสั่งฉบับนี้ลงเลขที่ออกที่จังหวัดขอนแก่นเป็นเพียงวิธีปฏิบัติในทางธุรการ ไม่พอถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการประเมินในฐานะเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่น ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีและอัยการจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดและอัยการจังหวัดแห่งท้องที่ซึ่งสำนักงานเจ้าพนักงานประเมินตั้งอยู่ในเขตจึงมีอำนาจเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การประเมินภาษีจากรายรับเมื่อผู้เสียภาษีไม่ส่งเอกสาร และอำนาจกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการไปไต่สวนและสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานไปแสดงได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุควรเชื่อว่า ผู้ยื่นรายการแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่หาได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแสดงเหตุอันควรเชื่อดังกล่าวในหมายเรียกด้วยไม่ ส่วนการออกหมายจับหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เจ้าพนักงานผู้ออกหมายต้องระบุเหตุที่ให้จับให้ค้นในหมายด้วยนั้น เป็นคนละกรณีและกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าบริษัท ส. จำกัด แสดงรายการตามแบบที่ยื่นเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินย่อมหมายเรียกโจทก์ไปไต่สวนและให้ส่งบัญชีกับเอกสารได้ตามบทกฎหมายข้างต้น(โดยมิต้องแสดงเหตุดังกล่าวในหมายเรียก)
เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีและเอกสารของบริษัท ส. จำกัดไปทำการไต่สวน โจทก์อ้างว่าบัญชีและเอกสารดังกล่าวถูกคนร้ายลักไปพร้อมรถยนต์ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าบัญชีและเอกสารได้หายไปจริง การที่โจทก์ไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาหลีกเลี่ยง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามมาตรา71(1) จากโจทก์ได้
บริษัท ส. จำกัด ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2518และโจทก์ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2518ต่อมาต้นเดือนสิงหาคม 2519 โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้รับหมายเรียกของจำเลยที่ 2(เจ้าพนักงานประเมิน) ให้ไปยังที่ทำการสรรพากรเขต 4 เพื่อรับการไต่สวนและให้นำบัญชีกับเอกสารประกอบการลงบัญชีของบริษัท ส. จำกัด สำหรับปี 2517ไปมอบให้ด้วย โจทก์ไม่นำบัญชีและเอกสารดังกล่าวไปมอบให้ครั้นวันที่ 29 ตุลาคม 2519 จำเลยที่ 2 จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท ส. จำกัด สำหรับปี2517เพิ่มเติมจากที่ชำระไปแล้วอีกจำนวน 706,527.40 บาท ดังนี้เมื่อบริษัท ส. จำกัดมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวต่ออำเภอภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65,68 มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท ส. จำกัด ปี 2517 จึงเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ก่อนเลิกบริษัท การที่จำเลยที่ 2อาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517ย่อมทำให้บริษัท ส. จำกัดไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517 คำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ในอัตราร้อยละ 2 จำนวนเงินค่าภาษีที่โจทก์ต้องเสียตามที่จำเลยที่ 2 ประเมินเรียกเก็บเพิ่มจึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517 ซึ่งบริษัท ส. จำกัดชำระไว้ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 ย่อมประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ผู้ชำระบัญชีภายใน 2 ปีนับแต่วันสิ้นสุดการชำระภาษีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ได้
จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งสรรพากรเขต 4เป็นเจ้าพนักงานประเมินสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 4 ตามมาตรา 16ประกอบด้วยประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2523มีอำนาจประเมินภาษีรายนี้ และจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สำหรับการประเมินรายนี้ซึ่งกระทำในท้องที่สรรพากรเขต 4 ตามมาตรา 30(1)(ข)ด้วยดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ประเมินภาษีรายนี้แล้ว ก็มีอำนาจเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อีกได้หามีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้หรือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 11 มาใช้ในกรณีไม่
คำสั่งประเมินภาษีจำเลยที่ 2 ทำการประเมินในฐานะสรรพากรเขต 4 จังหวัดอุดรธานีการที่คำสั่งฉบับนี้ลงเลขที่ออกที่จังหวัดขอนแก่นเป็นเพียงวิธีปฏิบัติในทางธุรการไม่พอถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการประเมินในฐานะเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่น ดังนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีและอัยการจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดและอัยการจังหวัดแห่งท้องที่ซึ่งสำนักงานเจ้าพนักงานประเมินตั้งอยู่ในเขตจึงมีอำนาจเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินบริษัทโดยไม่ชำระหนี้ภาษี ผู้ถือหุ้นมี liability ต่อเจ้าหนี้
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินของบริษัทคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไป โดยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นให้รับผิดต่อโจทก์ได้
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดการประเมินภาษีของบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) จึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อศาลต่อไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นให้ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระ มิได้ฟ้องให้รับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ส่วนตัวของจำเลยอื่น จึงไม่จำเป็นต้องเรียกจำเลยอื่นให้ปฏิบัติหรือตอบคำถามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21
การที่เจ้าหนี้ติดตามหนี้สินคืนจากผู้ถือหุ้นที่ได้รับแบ่งทรัพย์สินของบริษัทไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นกลับคืนนั้น มิใช่เป็นเรื่องเรียกให้ชำระมูลค่าของหุ้นที่ยังส่งให้ไม่ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีแบ่งทรัพย์สินบริษัทโดยมิชำระหนี้ภาษี ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดร่วมกับบริษัท
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินของบริษัทคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไปโดยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นให้รับผิดต่อโจทก์ได้
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดการประเมินภาษีของบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) จึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อศาลต่อไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นให้ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ของบริษัท จำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระ มิได้ฟ้องให้รับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ส่วนตัวของจำเลยอื่น จึงไม่จำเป็นต้องเรียกจำเลยอื่นให้ปฏิบัติหรือตอบคำถามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21
การที่เจ้าหนี้ติดตามหนี้สินคืนจากผู้ถือหุ้นที่ได้รับแบ่งทรัพย์สินของบริษัทไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นกลับคืนนั้น มิใช่เป็นเรื่องเรียกให้ชำระมูลค่าของหุ้นที่ยังส่งให้ไม่ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเพิ่มข้อเท็จจริงและการแบ่งเงินจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: อายุความ 10 ปี
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งแปลง และจำเลยได้รับเงินไปเรียบร้อยในวันทำสัญญาครั้นเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเดิมโดยเพิ่มเติมข้อความว่า โดยจำเลยตกลงให้โจทก์นำเงินไปชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่บริษัท ย.ค้างชำระบริษัท ว..และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่บริษัทว.เรียบร้อยแล้ว. จึงถือว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปจากโจทก์เรียบร้อยแล้วในวันทำสัญญา. ข้อความที่โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมนี้.เป็นแต่เพียงอธิบายข้อความที่กล่าวว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์แล้วในวันทำสัญญานั้นโจทก์จำเลยตกลงกันให้ถือเอาการที่โจทก์นำเงินไปชำระหนี้ซึ่งบริษัท ย.ของจำเลยติดค้างอยู่กับบริษัทว. ของโจทก์เป็นการชำระราคาที่ดินที่จำเลยทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์นั่นเอง แม้จะเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นจากคำฟ้องเดิมและกล่าวพาดพิงไปถึงบริษัทของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากตัวจำเลย โจทก์มีสิทธิทำได้
โจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกเงินค่ารถยนต์ที่ค้างชำระข้อที่ว่าบริษัทของจำเลยค้างชำระราคารถยนต์อยู่เท่าใด จึงเป็นรายละเอียดซึ่งไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้อง
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งกำหนดไว้ว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมภายใน 1 ปี เพียงแต่มีข้อตกลงกันเป็นพิเศษยอมให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำที่ดินที่จะซื้อขายกันนี้ไปขายให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยจะต้องนำเงินที่ขายได้มาแบ่งกันคนละครึ่งเท่านั้นการมีข้อตกลงเป็นพิเศษเพียงเท่านี้หาทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกลายเป็นสัญญาหุ้นส่วนไปไม่ และกฎหมายมิได้กำหนดอายุความสำหรับการเรียกร้องให้แบ่งเงินตามข้อตกลงดังกล่าวจึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้อง เพิ่มข้อเท็จจริงใหม่ และอายุความสัญญาจะซื้อจะขายที่มีข้อตกลงพิเศษ
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งแปลง และจำเลยได้รับเงินไปเรียบร้อยในวันทำสัญญา ครั้นเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเดิมโดยเพิ่มเติมข้อความว่า โดยจำเลยตกลงให้โจทก์นำเงินไปชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่บริษัท ย. ค้างชำระบริษัท ว. และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่บริษัท ว. เรียบร้อยแล้ว จึงถือว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปจากโจทก์เรียบร้อยแล้วในวันทำสัญญา ข้อความที่โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมนี้เป็นแต่เพียงอธิบายข้อความที่กล่าวว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์แล้วในวันทำสัญญานั้น โจทก์จำเลยตกลงกันให้ถือเอาการที่โจทก์นำเงินไปชำระหนี้ซึ่งบริษัท ย. ของจำเลยติดค้างอยู่กับบริษัท ว. ของโจทก์เป็นการชำระราคาที่ดินที่จำเลยทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์นั่นเอง แม้จะเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริง เพิ่มขึ้นจากคำฟ้องเดิมและกล่าวพาดพิงไปถึงบริษัทของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากตัวจำเลยโจทก์มีสิทธิทำได้
โจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกเงินค่ารถยนต์ที่ค้างชำระ ข้อที่ว่าบริษัทของจำเลยค้างชำระราคารถยนต์อยู่เท่าใด จึงเป็นรายละเอียดซึ่งไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้อง
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งกำหนดไว้ว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมภายใน 1 ปี เพียงแต่มีข้อตกลงกันเป็นพิเศษยอมให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำที่ดินที่จะซื้อขายกันนี้ไปขายให้แก่บุคคลภายนอกได้ โดยจะต้องนำเงินที่ขายได้มาแบ่งกันคนละครึ่งเท่านั้น การมีข้อตกลงเป็นพิเศษเพียงเท่านี้หาทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกลายเป็นสัญญาหุ้นส่วนไปไม่ และกฎหมายมิได้กำหนดอายุความสำหรับการเรียกร้องให้แบ่งเงินตามข้อตกลงดังกล่าว จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษี, การชำระบัญชีบริษัท, และความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ผู้มีเงินได้ต้องยื่นรายการในกุมภาพันธ์ 2502 แสดงเงินได้ในปี 2501 ที่ล่วงมาแล้ว สิทธิเรียกร้องภาษีเงินได้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2502กรมสรรพากรโจทก์ยื่นฟ้องเรียกภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2512ยังไม่เกินอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 167
การชำระบัญชีบริษัทจำกัดสิ้นสุดเมื่อจดทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียน อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 1272 ยังไม่เริ่มนับ
เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินภาษีเงินได้ให้จำเลยชำระรวมทั้งเงินเพิ่ม จำเลยไม่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภายใน 30 วัน จำเลยต้องเสียภาษีตามนั้น จะอ้างว่าไม่ถูกต้องภายหลังไม่ได้
ผู้ถือหุ้นค้างชำระค่าหุ้นอยู่เพราะกรรมการบริษัทและผู้ชำระบัญชีไม่เรียกเก็บ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระได้พร้อมด้วยดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
ผู้ชำระบัญชีบริษัทจำกัดมีหน้าที่ตามมาตรา 1250 แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ที่บริษัทค้างชำระ ข้อหาว่าทำละเมิดก็ต้องแสดงว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เสียหายเพียงแต่ไม่เรียกให้ชำระค่าหุ้นให้ครบยังไม่เป็นละเมิด
of 4