พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากผู้ชำระบัญชีที่ไม่ถูกต้อง การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ชำระบัญชี การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 จึงมีอายุความห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 โจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินถึงจำเลยที่ 1 ให้ชำระภาษี เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยที่ 1 รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตั้งแต่พ้น 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 นำเงินภาษีอากรไปชำระ อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 และเมื่อโจทก์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมมีผลต่อการบังคับคดีของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร เป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกัน กับการฟ้องคดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยที่ 1 รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันดังกล่าวและเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดนับแต่พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 วันที่ 30 กันยายน 2556 คดียังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1252 จำเลยที่ 2 จึงควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประเมินตนเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่นำรายได้ที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 มาลงในงบดุลและไม่จัดการใช้หนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1254 จำเลยที่ 2 กลับทำงบดุลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 (ณ วันเลิก) โดยไม่ถูกต้องแล้วแบ่งกำไรสะสมคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่ต้องไม่เกินวงเงินที่เป็นทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
สำนักสืบสวนและคดีรายงานเรื่องการดำเนินคดีภาษีอากรและการดำเนินคดีละเมิดให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่ง ว. ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ลงนามให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1252 จำเลยที่ 2 จึงควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประเมินตนเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่นำรายได้ที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 มาลงในงบดุลและไม่จัดการใช้หนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1254 จำเลยที่ 2 กลับทำงบดุลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 (ณ วันเลิก) โดยไม่ถูกต้องแล้วแบ่งกำไรสะสมคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่ต้องไม่เกินวงเงินที่เป็นทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
สำนักสืบสวนและคดีรายงานเรื่องการดำเนินคดีภาษีอากรและการดำเนินคดีละเมิดให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่ง ว. ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ลงนามให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกสินค้า: การโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบ ทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราปกติ
ข้อจำกัดในอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องอุทธรณ์การประเมิน ซึ่งในคดีนี้ แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติให้ต้องอุทธรณ์การประเมินภายใน 30 วัน ก็ตาม แต่ปัญหาในเรื่องที่ว่าคำสั่งให้ประเมินภาษีแก่โจทก์อันเป็นคำสั่งทางปกครองมีการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 หรือไม่ เป็นคนละกรณีกับความถูกต้องของการประเมินภาษี ดังนี้ ปัญหาในเรื่องรูปแบบของคำสั่งทางปกครองดังกล่าวย่อมไม่อยู่ในบังคับที่ต้องยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้มีข้อบกพร่องในการระบุเหตุผล แต่ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมถึงโจทก์ก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยหลายเดือนถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และมาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสามแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินจึงสมบูรณ์แล้ว
ในคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์เพียงโต้แย้งในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ย โดยมิได้โต้แย้งว่ามิใช่เงินได้ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังที่โจทก์ยกขึ้นอ้างใหม่ในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในส่วนนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องโดยยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้น มิใช่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่แต่เป็นการคิดคำนวณภาษีใหม่ให้ถูกต้อง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นให้ถูกต้องได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง
ตามสัญญาซื้อขาย คู่สัญญาตกลงให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อขอให้ผู้ขายเก็บรักษาสินค้าและจัดส่งให้ผู้ขายในภายหลัง จึงเป็นการขายภายในประเทศ มิใช่การขายโดยส่งออก และตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งสินค้าทั้งหมดออกไปนอกราชอาณาจักร โจทก์ส่งสินค้าส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทอื่นโดยส่งไปที่เขตอุตสาหกรรมการส่งออก (EPZ) ตามคำสั่งของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว ทั้งตามลักษณะดังกล่าวก็เป็นเรื่องการส่งออกของผู้ซื้อให้แก่บริษัทอื่นอีกด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขายสินค้าโดยส่งออกตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 (4) ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) หากแต่เป็นการขายสินค้าที่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าก่อนการส่งมอบตามมาตรา 78 (1) (ก) ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 80 (1) แม้ต่อมาโจทก์ส่งสินค้าบางส่วนไปยังเขตอุตสาหกรรมการส่งออก (EPZ) ในเดือนกันยายน 2545 ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) เพราะความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นก่อนแล้วในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้มีข้อบกพร่องในการระบุเหตุผล แต่ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมถึงโจทก์ก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยหลายเดือนถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และมาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสามแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินจึงสมบูรณ์แล้ว
ในคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์เพียงโต้แย้งในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ย โดยมิได้โต้แย้งว่ามิใช่เงินได้ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังที่โจทก์ยกขึ้นอ้างใหม่ในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในส่วนนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องโดยยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้น มิใช่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่แต่เป็นการคิดคำนวณภาษีใหม่ให้ถูกต้อง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นให้ถูกต้องได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง
ตามสัญญาซื้อขาย คู่สัญญาตกลงให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อขอให้ผู้ขายเก็บรักษาสินค้าและจัดส่งให้ผู้ขายในภายหลัง จึงเป็นการขายภายในประเทศ มิใช่การขายโดยส่งออก และตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งสินค้าทั้งหมดออกไปนอกราชอาณาจักร โจทก์ส่งสินค้าส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทอื่นโดยส่งไปที่เขตอุตสาหกรรมการส่งออก (EPZ) ตามคำสั่งของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว ทั้งตามลักษณะดังกล่าวก็เป็นเรื่องการส่งออกของผู้ซื้อให้แก่บริษัทอื่นอีกด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขายสินค้าโดยส่งออกตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 (4) ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) หากแต่เป็นการขายสินค้าที่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าก่อนการส่งมอบตามมาตรา 78 (1) (ก) ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 80 (1) แม้ต่อมาโจทก์ส่งสินค้าบางส่วนไปยังเขตอุตสาหกรรมการส่งออก (EPZ) ในเดือนกันยายน 2545 ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) เพราะความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นก่อนแล้วในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีปลอมและการใช้สิทธิทางภาษี: การพิสูจน์การซื้อขายจริงและความถูกต้องของใบกำกับ
ผู้ขายสินค้าให้โจทก์คือ ย. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่ง มิใช่ห้างหุ้นส่วนทั้งสามซึ่งเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีพิพาท หากสินค้าที่ ย. นำมาส่งมอบให้โจทก์เป็นสินค้าที่ ย. ซื้อจากห้างทั้งสามนั้นจริง ใบกำกับภาษีที่ห้างดังกล่าว ออกให้ก็ต้องระบุชื่อ ย. เป็นผู้ซื้อมิใช่ระบุชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ซื้อสินค้าจากห้างดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่อาจนำใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์
การพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาจริง และพิสูจน์ตัวผู้รับเงินนั้น ต้องเป็นการพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษีตามรายการที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้นจริง มิใช่ซื้อสินค้าและชำระราคาแก่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง แต่ผู้ออกใบกำกับภาษีเป็นผู้ประกอบการอีกรายหนึ่ง ใบกำกับภาษีพิพาทจึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นใบกำกับภาษีปลอม
ตามบทบัญญัติใน ป. รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งเป็นประเด็นไว้ในการตรวจสอบไต่สวน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนภาษีพิพาท เนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินคำนวณผิดพลาดโดยนำภาษีที่โจทก์อ้างว่าชำระเกิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินแก้ไขไปแล้ว มาใช้เป็นเครดิตภาษีในเดือนภาษีดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นการปรับปรุงตามข้อมูลที่ปรากฏจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำได้
การพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาจริง และพิสูจน์ตัวผู้รับเงินนั้น ต้องเป็นการพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษีตามรายการที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้นจริง มิใช่ซื้อสินค้าและชำระราคาแก่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง แต่ผู้ออกใบกำกับภาษีเป็นผู้ประกอบการอีกรายหนึ่ง ใบกำกับภาษีพิพาทจึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นใบกำกับภาษีปลอม
ตามบทบัญญัติใน ป. รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งเป็นประเด็นไว้ในการตรวจสอบไต่สวน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนภาษีพิพาท เนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินคำนวณผิดพลาดโดยนำภาษีที่โจทก์อ้างว่าชำระเกิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินแก้ไขไปแล้ว มาใช้เป็นเครดิตภาษีในเดือนภาษีดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นการปรับปรุงตามข้อมูลที่ปรากฏจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำกัดเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้พิจารณาแล้วเท่านั้น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 16 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์เท่านั้นจะไปตั้งประเด็นใหม่นอกเหนือไปจากประเด็นเดิมที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหาได้ไม่ ส่วนการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำการไต่สวนและเรียกพยานมาตรวจสอบเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 32 และมีอำนาจในการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 31 วรรคสอง นั้น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวได้ต้องเป็นการดำเนินการ ในประเด็นเดียวกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ด้วย คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์2535 เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535เป็นเงิน 33 บาท ส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสียคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88,88/2และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี: ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินตั้งไว้เท่านั้น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 16 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์เท่านั้นจะไปตั้งประเด็นใหม่นอกเหนือไปจากประเด็นเดิมที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหาได้ไม่ ส่วนการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำการไต่สวนและเรียกพยานมาตรวจสอบเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 32 และมีอำนาจในการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง นั้น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวได้ต้องเป็นการดำเนินการในประเด็นเดียวกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ด้วย
คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้วเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 เป็นเงิน 33 บาทส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่ง ป.รัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน 25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสีย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 88, 88/2 และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่ง ป.รัษฎากร
คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้วเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 เป็นเงิน 33 บาทส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่ง ป.รัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน 25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสีย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 88, 88/2 และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องแยกจากกัน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาประเด็นนอกเหนือจากที่อุทธรณ์
ป.รัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องตรงความเป็นจริง หรือไม่บริบูรณ์ ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏ แล้วแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระหรือต้องชำระเพิ่มไปยังผู้ที่ ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ผู้ต้องเสียภาษีจะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็น ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ และผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรได้อุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและผู้อุทธรณ์มิได้อุทธรณ์ รวมทั้งจะเปลี่ยนแปลงหรือประเมินเพิ่มเติมจากที่ประเมินไว้เดิมไม่ได้ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินและยังเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19 และ 20 แห่ง ป.รัษฎากรด้วย อีกทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง ก็มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดหรือทำการประเมินเองก็ได้แต่อย่างใด ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีโจทก์จากการประเมินตามมาตรา 71 (1) แล้วให้ประเมินภาษีของโจทก์ใหม่ตามมาตรา 65 โดยไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินใหม่ จึงเป็นการพิจารณา ในประเด็นข้ออื่นที่มิได้ประเมินและอุทธรณ์ไว้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การแก้ไขการประเมิน และการลดเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม กรณีราคาซื้อขายไม่ตรงกับราคาตลาด
กรณีที่จะมีการกำหนดรายได้เพื่อประเมินภาษีอากร มิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และการที่ศาลภาษีอากรรับฟังพยานบุคคลเกี่ยวกับการกำหนดรายได้ของบริษัทโจทก์ก็เป็นการรับฟังว่าสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์และถูกต้องตามความเป็นจริง ทั้งในประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ได้ขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จำนวน 31 หลัง ให้แก่ผู้ซื้อตามที่ระบุไว้หนังสือสัญญาขายที่ดินนั้น ภาระการพิสูจน์ตกโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริงและปรากฏว่าโจทก์ขายที่ดินและทาวน์เฮาส์จำนวน 30 หลัง ในราคาหลังละ 459,000 บาท และการประเมินราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน 26.5 ตารางวา ของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำเอารายได้ดังกล่าวมาถือเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532ส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินและทาวน์เฮาส์นั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุสงสัยว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งในขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่แท้จริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ แม้การคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้างของโจทก์จากราคาค่าก่อสร้างของกรมโยธาธิการบวกด้วยกำไรร้อยละ 25 แล้วนำมาคำนวณรวมกับที่ดินตามราคาประเมินของกรมที่ดินจะไม่สามารถหาราคาขายที่แท้จริงได้ แต่การคำนวณโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็มีเหตุผลอันสมควรเนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาแสดงได้ในการประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ของโจทก์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ดำเนินการให้สอบถามผู้ซื้อเพิ่มเติม ได้ความว่าผู้ซื้อได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ในราคาต่ำสุดประมาณ 459,000 บาท ถึง460,000 บาท คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ โดยเอาราคาขายที่ปรากฏตามพยานหลักฐานที่ได้ความมาถือเป็นราคาขายของโจทก์ แล้วปรับปรุงให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเพิ่มเติมจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายได้ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเป็นการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินให้ถูกต้อง
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ได้ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณกำไรสุทธิในปีดังกล่าวไว้แล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายใดเพิ่มขึ้นอีก จึงไม่อาจนำค่าใช้จ่ายมาหักเพิ่มเติมได้
ในส่วนที่โจทก์ขอลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนั้นปรากฏว่าราคาขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินและราคาที่โจทก์นำมาลงบัญชีเป็นรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์นั้น มิใช่ราคาที่แท้จริง กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรไม่มีกฎหมายให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณาลดหรืองดได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริงและปรากฏว่าโจทก์ขายที่ดินและทาวน์เฮาส์จำนวน 30 หลัง ในราคาหลังละ 459,000 บาท และการประเมินราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน 26.5 ตารางวา ของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำเอารายได้ดังกล่าวมาถือเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532ส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินและทาวน์เฮาส์นั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุสงสัยว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งในขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่แท้จริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ แม้การคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้างของโจทก์จากราคาค่าก่อสร้างของกรมโยธาธิการบวกด้วยกำไรร้อยละ 25 แล้วนำมาคำนวณรวมกับที่ดินตามราคาประเมินของกรมที่ดินจะไม่สามารถหาราคาขายที่แท้จริงได้ แต่การคำนวณโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็มีเหตุผลอันสมควรเนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาแสดงได้ในการประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ของโจทก์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ดำเนินการให้สอบถามผู้ซื้อเพิ่มเติม ได้ความว่าผู้ซื้อได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ในราคาต่ำสุดประมาณ 459,000 บาท ถึง460,000 บาท คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ โดยเอาราคาขายที่ปรากฏตามพยานหลักฐานที่ได้ความมาถือเป็นราคาขายของโจทก์ แล้วปรับปรุงให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเพิ่มเติมจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายได้ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเป็นการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินให้ถูกต้อง
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ได้ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณกำไรสุทธิในปีดังกล่าวไว้แล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายใดเพิ่มขึ้นอีก จึงไม่อาจนำค่าใช้จ่ายมาหักเพิ่มเติมได้
ในส่วนที่โจทก์ขอลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนั้นปรากฏว่าราคาขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินและราคาที่โจทก์นำมาลงบัญชีเป็นรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์นั้น มิใช่ราคาที่แท้จริง กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรไม่มีกฎหมายให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณาลดหรืองดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากราคาขายที่แท้จริง แม้ราคาแจ้งจดทะเบียนต่ำกว่า และการแก้ไขการประเมินโดยคณะกรรมการ
กรณีที่จะมีการกำหนดรายได้เพื่อประเมินภาษีอากร มิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และการที่ศาลภาษีอากรรับฟังพยานบุคคลเกี่ยวกับการกำหนดรายได้ของบริษัทโจทก์ก็เป็นการรับฟังว่าสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์และถูกต้องตามความเป็นจริง ทั้งในประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ได้ขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จำนวน 31 หลัง ให้แก่ผู้ซื้อตามที่ระบุไว้หนังสือสัญญาขายที่ดินนั้น ภาระการพิสูจน์ตกโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริงและปรากฏว่าโจทก์ขายที่ดินและทาวน์เฮาส์จำนวน 30 หลัง ในราคาหลังละ459,000 บาท และการประเมินราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน 26.5 ตารางวาของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำเอารายได้ดังกล่าวมาถือเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 ส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินและทาวน์เฮาส์นั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุสงสัยว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งในขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่แท้จริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ แม้การคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้างของโจทก์จากราคาค่าก่อสร้างของกรมโยธาธิการบวกด้วยกำไรร้อยละ 25 แล้วนำมาคำนวณรวมกับที่ดินตามราคาประเมินของกรมที่ดินจะไม่สามารถหาราคาขายที่แท้จริงได้ แต่การคำนวณโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็มีเหตุผลอันสมควรเนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาแสดงได้ในการประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ของโจทก์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ดำเนินการให้สอบถามผู้ซื้อเพิ่มเติม ได้ความว่าผู้ซื้อได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ในราคาต่ำสุดประมาณ 459,000 บาท ถึง 460,000 บาท คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ โดยเอาราคาขายที่ปรากฏตามพยานหลักฐานที่ได้ความมาถือเป็นราคาขายของโจทก์ แล้วปรับปรุงให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเพิ่มเติมจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายได้ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งป.รัษฎากร เพราะเป็นการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินให้ถูกต้อง
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532โจทก์ได้นำต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณกำไรสุทธิในปีดังกล่าวไว้แล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายใดเพิ่มขึ้นอีก จึงไม่อาจนำค่าใช้จ่ายมาหักเพิ่มเติมได้
ในส่วนที่โจทก์ขอลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนั้นปรากฏว่าราคาขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินและราคาที่โจทก์นำมาลงบัญชีเป็นรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์นั้น มิใช่ราคาที่แท้จริง กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่มีกฎหมายให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณาลดหรืองดได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริงและปรากฏว่าโจทก์ขายที่ดินและทาวน์เฮาส์จำนวน 30 หลัง ในราคาหลังละ459,000 บาท และการประเมินราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน 26.5 ตารางวาของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำเอารายได้ดังกล่าวมาถือเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 ส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินและทาวน์เฮาส์นั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุสงสัยว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งในขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่แท้จริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ แม้การคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้างของโจทก์จากราคาค่าก่อสร้างของกรมโยธาธิการบวกด้วยกำไรร้อยละ 25 แล้วนำมาคำนวณรวมกับที่ดินตามราคาประเมินของกรมที่ดินจะไม่สามารถหาราคาขายที่แท้จริงได้ แต่การคำนวณโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็มีเหตุผลอันสมควรเนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาแสดงได้ในการประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ของโจทก์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ดำเนินการให้สอบถามผู้ซื้อเพิ่มเติม ได้ความว่าผู้ซื้อได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ในราคาต่ำสุดประมาณ 459,000 บาท ถึง 460,000 บาท คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ โดยเอาราคาขายที่ปรากฏตามพยานหลักฐานที่ได้ความมาถือเป็นราคาขายของโจทก์ แล้วปรับปรุงให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเพิ่มเติมจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายได้ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งป.รัษฎากร เพราะเป็นการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินให้ถูกต้อง
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532โจทก์ได้นำต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณกำไรสุทธิในปีดังกล่าวไว้แล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายใดเพิ่มขึ้นอีก จึงไม่อาจนำค่าใช้จ่ายมาหักเพิ่มเติมได้
ในส่วนที่โจทก์ขอลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนั้นปรากฏว่าราคาขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินและราคาที่โจทก์นำมาลงบัญชีเป็นรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์นั้น มิใช่ราคาที่แท้จริง กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่มีกฎหมายให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณาลดหรืองดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินราคาขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ตรงกับราคาตลาด และการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงาน
กรณีที่จะมีการกำหนดรายได้เพื่อประเมินภาษีอากร มิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และการที่ศาลภาษีอากรรับฟังพยานบุคคลเกี่ยวกับการกำหนดรายได้ของบริษัทโจทก์ก็เป็นการรับฟังว่าสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์และถูกต้องตามความเป็นจริง ทั้งในประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ได้ขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จำนวน 31 หลัง ให้แก่ผู้ซื้อตามที่ระบุไว้หนังสือสัญญาขายที่ดินนั้น ภาระการพิสูจน์ตกโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริงและปรากฏว่าโจทก์ขายที่ดินและทาวน์เฮาส์จำนวน 30 หลัง ในราคาหลังละ 459,000 บาท และการประเมินราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน 26.5 ตารางวา ของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำเอารายได้ดังกล่าวมาถือเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532ส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินและทาวน์เฮาส์นั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุสงสัยว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งในขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่แท้จริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ แม้การคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้างของโจทก์จากราคาค่าก่อสร้างของกรมโยธาธิการบวกด้วยกำไรร้อยละ 25 แล้วนำมาคำนวณรวมกับที่ดินตามราคาประเมินของกรมที่ดินจะไม่สามารถหาราคาขายที่แท้จริงได้ แต่การคำนวณโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็มีเหตุผลอันสมควรเนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาแสดงได้ในการประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ของโจทก์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ดำเนินการให้สอบถามผู้ซื้อเพิ่มเติม ได้ความว่าผู้ซื้อได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ในราคาต่ำสุดประมาณ 459,000 บาท ถึง460,000 บาท คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ โดยเอาราคาขายที่ปรากฏตามพยานหลักฐานที่ได้ความมาถือเป็นราคาขายของโจทก์ แล้วปรับปรุงให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเพิ่มเติมจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายได้ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเป็นการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินให้ถูกต้อง
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ได้ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณกำไรสุทธิในปีดังกล่าวไว้แล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายใดเพิ่มขึ้นอีก จึงไม่อาจนำค่าใช้จ่ายมาหักเพิ่มเติมได้
ในส่วนที่โจทก์ขอลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนั้นปรากฏว่าราคาขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินและราคาที่โจทก์นำมาลงบัญชีเป็นรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์นั้น มิใช่ราคาที่แท้จริง กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรไม่มีกฎหมายให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณาลดหรืองดได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริงและปรากฏว่าโจทก์ขายที่ดินและทาวน์เฮาส์จำนวน 30 หลัง ในราคาหลังละ 459,000 บาท และการประเมินราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน 26.5 ตารางวา ของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำเอารายได้ดังกล่าวมาถือเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532ส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินและทาวน์เฮาส์นั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุสงสัยว่าราคาที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่โจทก์แจ้งในขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายพิพาทมิใช่ราคาอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่แท้จริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ แม้การคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้างของโจทก์จากราคาค่าก่อสร้างของกรมโยธาธิการบวกด้วยกำไรร้อยละ 25 แล้วนำมาคำนวณรวมกับที่ดินตามราคาประเมินของกรมที่ดินจะไม่สามารถหาราคาขายที่แท้จริงได้ แต่การคำนวณโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็มีเหตุผลอันสมควรเนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาแสดงได้ในการประเมินราคาขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ของโจทก์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ดำเนินการให้สอบถามผู้ซื้อเพิ่มเติม ได้ความว่าผู้ซื้อได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ในราคาต่ำสุดประมาณ 459,000 บาท ถึง460,000 บาท คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ โดยเอาราคาขายที่ปรากฏตามพยานหลักฐานที่ได้ความมาถือเป็นราคาขายของโจทก์ แล้วปรับปรุงให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเพิ่มเติมจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายได้ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเป็นการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินให้ถูกต้อง
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ได้ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณกำไรสุทธิในปีดังกล่าวไว้แล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายใดเพิ่มขึ้นอีก จึงไม่อาจนำค่าใช้จ่ายมาหักเพิ่มเติมได้
ในส่วนที่โจทก์ขอลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนั้นปรากฏว่าราคาขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินและราคาที่โจทก์นำมาลงบัญชีเป็นรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์นั้น มิใช่ราคาที่แท้จริง กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรไม่มีกฎหมายให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณาลดหรืองดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏและแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน อีกทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19, 20
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้