พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุน: การแยกพิจารณาอายุความของลูกหนี้ร่วม และการใช้บังคับอายุความตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จะนำอายุความ1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา 295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานความรับผิดของผู้รับอาวัล vs. ผู้ค้ำประกัน และอายุความของตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 940โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม หากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้น ซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบ มาตรา 940
แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะได้ผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้นอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967, 985
แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะได้ผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้นอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967, 985
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน กรณีไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิมหากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้นซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบมาตรา 940 แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น อายุความในส่วนของจำเลยที่ 2จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967,985
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: ตรวจสอบฐานะผู้รับอาวัล vs ผู้ค้ำประกัน เพื่อกำหนดอายุความที่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับอาวัลมาขายให้แก่โจทก์ ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏข้อความว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือคำว่า "ค้ำประกัน" คงระบุเพียงฐานะของจำเลยที่ 2 ว่า"ผู้รับอาวัล" ต่อท้ายลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และแม้จะระบุเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็เป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับอาวัล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 เท่านั้นเมื่อเป็นกรณีมีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วได้ผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำด้วยอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่สะดุดหยุดลง ตาม มาตรา 295 ประกอบ มาตรา 967,985
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการรับสภาพหนี้: ผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้แต่ละราย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว ดังนี้โจทก์เป็นพ่อค้าฟ้องเรียกเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสอง จึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) การที่ก่อนครบกำหนดอายุความ 2 ปี จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอผัดผ่อนค่าสินค้าย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172(เดิม) และต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ แต่หลังจากอายุความ 2 ปี ที่เริ่มนับใหม่ได้ครบบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือว่าจะนำเงินค่าสินค้าที่ค้างชำระให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนและลงลายมือชื่อเพียงผู้เดียว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ลบล้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในอันที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192(เดิม) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 2 ปีนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความและข้อต่อสู้เรื่องอายุความของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน: การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันไม่สะดุดอายุความของลูกหนี้
การที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันนั้น หามีผลไปถึงถูกหนี้ด้วยไม่ แม้จำเลยในฐานะลูกหนี้จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกัน กำหนดอายุความของลูกหนี้แต่ละคนก็ต้องเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะ แต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตาม 295 การที่ผู้ค้ำประกันผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่ทำให้อายุความที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลูกหนี้ไม่สะดุดหยุดชะงักตามการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน แม้เป็นลูกหนี้ร่วม
การที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันนั้น หามีผลไปถึงลูกหนี้ด้วยไม่ แม้จำเลยในฐานะลูกหนี้จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกัน กำหนดอายุความของลูกหนี้แต่ละคนก็ต้องเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะ แต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295 การที่ผู้ค้ำประกันผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่ทำให้อายุความที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลูกหนี้ไม่สะดุดหยุดชะงักตามการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน แม้เป็นลูกหนี้ร่วม
การที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันนั้น ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าให้มีผลไปถึงลูกหนี้ด้วย แม้จำเลยในฐานะลูกหนี้จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกัน กำหนดอายุความของลูกหนี้แต่ละคนก็ต้องเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 295การที่ผู้ค้ำประกันผ่อนชำระหนี้ให้กับโจทก์ จึงไม่ทำให้อายุความที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยสะดุดหยุดลงด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3958/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีล้มละลาย: การนับอายุความและการชำระหนี้
หนี้จำนวนแรกศาลพิพากษาตามยอมให้ลูกหนี้กับ ท. และ ล.ชำระเงินแก่เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2521 เป็นต้นไป เมื่อ ท.ชำระเงินจำนวน 107,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และ ล. ชำระเงินจำนวน313,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแล้วให้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ ท. และ ล. จำนองไว้ เป็นมูลหนี้อันเป็นสิทธิเรียกร้อง อันตั้งฐานขึ้นโดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลจึงมีอายุความ 10 ปี หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ อายุความย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คือวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2521 เมื่อนับถึงวันที่ 12 เมษายน 2531ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นระยะเวลาเกิน 10 ปีแล้วจึงขาดอายุความ การที่ ท. และ ล. ลูกหนี้ร่วมชำระหนี้แก่โจทก์ในวันที่ 15 มีนาคม 2521 และ 19 มิถุนายน 2521 ตามลำดับ เป็นการไถ่ถอนจำนองตามสิทธิที่ระบุไว้ในคำพิพากษา ไม่เกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนของลูกหนี้ ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง หนี้จำนองที่สอง ศาลพิพากษาตามยอมให้ลูกหนี้กับพวกชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน ทุกวันที่ 15 ของเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2521 เป็นต้นไป หลังจากศาลพิพากษาแล้วมีการผ่อนชำระแก่เจ้าหนี้ 3 งวด แล้วไม่ชำระอีก อายุความเริ่มนับเมื่อผิดนัดงวดที่ 4 คือตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2521เมื่อนับถึงวันที่ 12 เมษายน 2531 ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังอยู่ในระยะเวลา 10 ปี หนี้จำนวนหลังจึงยังไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย: ลูกหนี้ร่วม, สัญญาเพิ่มเติม, และผลของการทำสัญญารับใช้หนี้
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526จำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมด การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2527 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ที่ 5 เกี่ยวกับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงไม่ต้องผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงภายใน 5 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164