พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6418/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: ผู้เช่าซื้อก่อนโอนกรรมสิทธิ์ไม่มีสิทธิขอคืน
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น เว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด..." ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านที่ 3 เป็นเพียงผู้เช่าซื้อโดยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมิใช่เป็นเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวในอันที่จะใช้สิทธิร้องขอคืนได้ แม้ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 ผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนและรับโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าวมา ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านที่ 3 กลับเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำคัดค้านขึ้นมาได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้คืนรถยนต์ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึด/อายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด: คำสั่งชอบด้วยกม. เจ้าของทรัพย์ต้องยื่นขอคืนตามขั้นตอน
ศ. สามีโจทก์ที่ 1 และเป็นบิดาโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เจ้าพนักงานมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์สินของ ศ. และโจทก์ทั้งสองเป็นทรัพย์เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินและเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจึงมีอำนาจตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและยึดหรืออายัดทรัพย์สินดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 16 (2) (4) และมาตรา 22 ดังนั้น การที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของ ศ. และโจทก์ทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่ ศ. ผู้ต้องหาหลบหนีและพนักงานอัยการไม่อาจดำเนินคดีได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่การกระทำความผิดเกิด ทรัพย์สินที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากการกระทำความผิดของ ศ. ต้องตกเป็นของกองทุน ตามมาตรา 32 วรรคสอง หากโจทก์ทั้งสองเห็นว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ทั้งสองจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินตามมาตรา 33 ดังนั้น เมื่อคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้
กรณีที่ ศ. ผู้ต้องหาหลบหนีและพนักงานอัยการไม่อาจดำเนินคดีได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่การกระทำความผิดเกิด ทรัพย์สินที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากการกระทำความผิดของ ศ. ต้องตกเป็นของกองทุน ตามมาตรา 32 วรรคสอง หากโจทก์ทั้งสองเห็นว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ทั้งสองจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินตามมาตรา 33 ดังนั้น เมื่อคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7358/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ต้องมีมูลความผิดฐานจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเท่านั้น
พนักงานอัยการฟ้องผู้คัดค้านในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นลงโทษผู้คัดค้านข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ยกฟ้องข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาพิพากษายืน โดยที่ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 3 ให้บทนิยามคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย" มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและทรัพย์สินที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น..." และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง นั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลริบทรัพย์สินนั้น..." การที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า ผู้คัดค้านกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ในอันที่จะขอให้ริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งห้ารายการตามคำร้องตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินทั้งห้ารายการ ดังกล่าว ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 29, 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินริบในคดียาเสพติดสงวนเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีสิทธิ
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบ ดังนั้น เมื่อรถยนต์กระบะซึ่งถูกเจ้าพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งริบเป็นทรัพย์สินของบิดามารดาของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านซึ่งมิใช่เจ้าของทรัพย์สินจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ศาลฎีกาชี้ว่าเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าทรัพย์สินไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ต้องคืนให้เจ้าของ
ตามพระราชบัญญัติมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้นเว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ..."
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยและทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยและทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ศาลฎีกาตัดสินให้คืนเงินของกลางแก่จำเลยเมื่อพิพากษาว่าไม่เกี่ยวเนื่องกับความผิด
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น เว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ..."
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลย และทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่า จำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลย และทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่า จำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย