พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6623/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคดีริบทรัพย์สินก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2549 ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทั้ง 2 รายการ ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27, 29 และ 31 ซึ่งเป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลริบทรัพย์สินก่อนวันที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ใช้บังคับ คดีของผู้ร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสอง จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของผู้คัดค้านทั้งสอง จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13974/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: กรอบเวลา 1 ปี และการแยกพิจารณาผู้ต้องหา
แม้ทรัพย์สินรายการที่ 2 และที่ 3 ที่ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งริบ คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจะเคยมีคำสั่งให้ตรวจสอบตามคำสั่งที่ 1036/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 ซึ่งเป็นการตรวจสอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1255/2547 ของศาลชั้นต้น รวมทั้งมีบันทึกของเจ้าพนักงานตำรวจ เรื่องการตรวจยึดทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2546 ว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจยึดทรัพย์สินทั้งสองรายการไว้แล้วก็ตาม แต่บันทึกการตรวจยึดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวไม่ใช่คำสั่งยึดทรัพย์ของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินตามมาตรา 22 จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำสั่งยึดทรัพย์ทั้งสองรายการไว้แล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1255/2547 แต่เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้มีคำสั่งที่ 346/2549 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2549 ให้ยึดทรัพย์ทั้งสองรายการไว้ในคดีที่ผู้คัดค้านทั้งสองถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดครั้งใหม่เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 จนผู้คัดค้านทั้งสองถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1975/2547 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 แต่สำหรับผู้คัดค้านที่ 2 ที่ให้การปฏิเสธได้ถูกแยกฟ้องเป็นคดีใหม่ และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 4053/2547 ระยะเวลา 1 ปี ในกรณีของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2547 และในกรณีของผู้คัดค้านที่ 2 เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 จึงพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1975/2547 มีคำพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ริบทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 1 คงมีอำนาจร้องขอให้ริบทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12490/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินคดียาเสพติด ผู้ไม่คัดค้านมิใช่คู่ความ อุทธรณ์ฎีกาไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27, 29, 31 ศาลชั้นต้นได้ประกาศหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินเข้ามาในคดีแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามารวมทั้งจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีจึงมิใช่คู่ความ ไม่อาจยื่นอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาในส่วนนี้และศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยในปัญหานี้ให้นั้น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11563/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการริบทรัพย์สินในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: ทรัพย์สินต้องเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดในคดีที่ฟ้อง
ในคดีที่พนักงานอัยการร้องต่อศาลให้ริบทรัพย์สินของบุคคลตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 นั้น มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ว่า "เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและทรัพย์สินที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดและอายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินโดยจะยื่นคำร้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ได้..." บทบัญญัตินี้มีนัยว่า ทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ริบนั้น ต้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องบุคคลใดเป็นคดีอาญานั้น เท่านั้น เมื่อทรัพย์สินทั้ง 5 รายการ เป็นทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวเพื่อทำการตรวจสอบในคดีอาญาที่ผู้คัดค้านถูกกล่าวหาว่าจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี การยึดจึงสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 32 และเมื่อทรัพย์สินถูกยึดไว้ชั่วคราวแล้วก่อนวันที่ 26 มกราคม 2547 อันเป็นวันที่ผู้คัดค้านกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายในคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษผู้คัดค้าน แสดงว่าทรัพย์สินทั้ง 5 รายการมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ย่อมไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบตามมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6850/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสมควรยื่นคำร้องริบทรัพย์หลังศาลตัดสิน: ความล่าช้าในการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นเหตุสมควรได้
เหตุอันสมควรที่แสดงได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27 นั้น มิใช่เหตุที่เกิดจากผู้ร้องฝ่ายเดียว หากมีเหตุอันสมควรเกิดจากความยุ่งยากและความซับซ้อนในการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็นับว่ามีเหตุอันสมควรเช่นกัน การที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่ไว้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2546 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้มีคำสั่งมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2546 แต่เพิ่งมีหนังสือถึงผู้ร้องให้ยื่นคำร้องขอริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2548 ทั้ง ๆ ที่ทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่ที่ถูกตรวจสอบมีจำนวนไม่มาก ส่วนมากเป็นสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างมูลค่าไม่สูงมากหรือมีความซับซ้อนยากแก่การตรวจสอบและอยู่ในราชอาณาจักรสามารถตรวจสอบได้โดยง่าย กระบวนการตรวจสอบนับตั้งแต่ที่มีการยึดทรัพย์จนถึงวันที่แจ้งให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลใช้เวลากว่าสองปี นับว่าเป็นเวลานานเกินสมควร จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12179/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการสมรสได้รับการคุ้มครองจากการริบในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นสินสอด
สร้อยคอทองและกำไลข้อมือทองประดับอัญมณี เป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านและ ส. ได้มาเนื่องในการสมรส จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของผู้คัดค้านและ ส. ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านและ ส. ได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งริบไม่ได้ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง (2) แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์เข้ามาในคดี คงมีแต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านโดย ส. มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีตามกระบวนการแห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 28 และ 29 ผู้คัดค้านจึงไม่อาจขอคืนทรัพย์สินของ ส. แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5316/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคดีริบทรัพย์จากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มาตรา 5 บัญญัติว่า กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความถึงกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย ดังนั้นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามความหมายของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด ซึ่งพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มาตรา 3 แม้จะไม่ได้บัญญัติให้รวมความถึงคำร้องขอให้ริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ด้วย แต่โดยเนื้อหาและลักษณะของคำร้องนี้ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำความผิดข้อหาใดข้อหาหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 โดยมาตรา 32 แห่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดต่อเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีเท่านั้น ซึ่งหมายถึงการฟ้องคดีในข้อหาความผิดตามที่บัญญัติในมาตรา 3 นั่นเอง แสดงให้เห็นว่าการฟ้องคดีดังกล่าวเป็นมูลเหตุโดยตรงและเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินสั่งยึดและอายัดไว้ น่าจะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่จะต้องริบหรือไม่ คำร้องขอให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 27 จึงเป็นส่วนหนึ่งของความผิดหรือมาตรการลงโทษในทางทรัพย์สินที่เกี่ยวโยงอยู่กับความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ต้องถือว่าคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามความหมายของ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์แต่เพียงศาลเดียวตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มาตรา 15 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: สิทธิในการคัดค้านและการพิสูจน์ที่มาของทรัพย์สิน
การร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 นั้น ตามบทบัญญัติมาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อศาลสั่งรับคำร้องของพนักงานอัยการตามมาตรา 27 แล้ว ให้ศาลสั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันเพื่อให้ผู้ซึ่งอาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนคดีถึงที่สุด ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านทรัพย์สินตามคำร้องรายการที่ 2 ดังกล่าวก็ตาม ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้ยื่นคำร้องคัดค้านสำหรับทรัพย์สินตามคำร้องรายการที่ 2 นี้ด้วย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งขอให้คืนทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6285-6286/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุจำนวนเงินในคำร้อง
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 3 และมาตรา 27 มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำผิดว่าจะต้องระบุว่าเป็นเงินจำนวนเท่าใดแน่นอนลงไป ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำเป็นที่ต้องบรรยายถึงจำนวนเงินที่เหลืออยู่ในบัญชีเงินฝากในคำร้อง แต่เป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา คำร้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ประเภททรัพย์สินและระยะเวลาคัดค้าน
ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ นั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27, 28 และการร้องขอให้ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามมาตรา 30 ซึ่งกรณีไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตามความหมายในมาตรา 3 ดังนั้นทรัพย์สินที่จะต้องถูกริบตามมาตรา 27, 28 และมาตรา 30 จึงเป็นทรัพย์สินคนละประเภทกัน และใช้วิธีประกาศแจ้งผู้ที่อาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ต่างกัน เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการได้ดำเนินการร้องขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางตามมาตรา 30 และศาลได้สั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันแล้ว ผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นคำร้องเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายความถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งริบทรัพย์สิน เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำคัดค้านได้