พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ผลของการยกฟ้องจำเลย และสิทธิในการคัดค้านของภริยา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ผู้ถูกฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานร่วมกับพวกกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด และทรัพย์สินของผู้คัดค้านผู้เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 รวม 7 รายการ เนื่องจากเป็นทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยขอให้ริบตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3, 15, 22, 27, 29, 31 ซึ่งตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใดให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลง?" ดังนั้น เมื่อปรากฏหลักฐานว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา อันเป็นที่สุดให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงมีผลให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินทั้ง 7 รายการของผู้คัดค้านและจำเลยที่ 3 สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินเข้ามาในคดี คงมีแต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงผู้เดียว โดยจำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีตามกระบวนการแห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 28, 29 แม้ผู้คัดค้านจะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจขอคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากผู้กระทำผิดยาเสพติด: สันนิษฐานความเชื่อมโยงกับความผิดและภาระการพิสูจน์
จำเลยคดีนี้กับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วมิใช่บุคคลคนเดียวกัน เหตุแห่งการขอริบธนบัตรจำนวนเดียวกัน คดีอีกคดีหนึ่งโจทก์ขอริบโดยอ้างเหตุว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยในคดีดังกล่าวได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 แต่คดีนี้ผู้ร้อง อ้างเหตุให้ริบว่าเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้ยึดไว้ ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 22, 27, 29 และ 31 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตลอดจนการกระทำที่อ้างเป็นเหตุให้ศาลพิจารณาริบธนบัตรจำนวนนี้แตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงหาเป็นการร้องซ้อนหรือร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีอีกคดีหนึ่ง หรือทำให้สิทธิของผู้ร้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ไม่
ผู้คัดค้านถูกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกผู้คัดค้าน 25 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าธนบัตรที่ผู้คัดค้านมีอยู่ หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถใน
การประกอบอาชีพเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงตกเป็นภาระของผู้คัดค้านที่ต้องพิสูจน์ว่าธนบัตรเป็นของผู้คัดค้านที่ได้มาโดยสุจริตและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าธนบัตรเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน แต่เป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องริบธนบัตรให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามความในมาตรา 29 และ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
ผู้คัดค้านถูกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกผู้คัดค้าน 25 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าธนบัตรที่ผู้คัดค้านมีอยู่ หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถใน
การประกอบอาชีพเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงตกเป็นภาระของผู้คัดค้านที่ต้องพิสูจน์ว่าธนบัตรเป็นของผู้คัดค้านที่ได้มาโดยสุจริตและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าธนบัตรเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน แต่เป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องริบธนบัตรให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามความในมาตรา 29 และ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: การไม่มีส่วนร่วมของจำเลยอื่น และการริบทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 260 เม็ด ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคำเบิกความของพยานโจทก์คงได้ความแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสี่กำลังนั่งล้อมวงอยู่ใต้ต้นมะพร้าวริมบ่อเลี้ยงปลาเท่านั้น และไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตรวจค้นได้จากกระเป๋าคาดเอวของจำเลยที่ 1 และที่บรรจุอยู่ในกระบอกพลาสติกสีขาวอย่างใดบ้าง ส่วนกระบอกพลาสติกสีขาวที่บรรจุเมทแอมเฟตามีนของกลาง หากไม่เปิดฝาออกจะไม่เห็นสิ่งของที่บรรจุอยู่ การที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นญาติกันนั่งคุยกันที่ใต้ต้นมะพร้าวซึ่งเป็นที่ร่ม จึงไม่เป็นการผิดปกติวิสัยที่จำเลยที่ 1 ถือกระบอกพลาสติกสีขาวโดยเปิดเผยและที่จำเลยทั้งสี่นั่งล้อมวงคุยกันที่ใต้ต้นมะพร้าวหาใช่ข้อแสดงว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่
การที่จำเลยที่ 2 เห็นพยานโจทก์ทั้งสี่กับพวกแล้ววิ่งหนี ย่อมเป็นพิรุธ แต่ข้อพิรุธดังกล่าวไม่อาจสันนิษฐานเป็นผลร้ายว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยานบอกเล่าและเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน มีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบจึงไม่อาจรับฟังเป็นความจริง
เงินของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแต่เงินของกลางดังกล่าวมิใช่เป็นทรัพย์สินที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 27 ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบเงินของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยมิได้อ้างพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ตามฎีกาของโจทก์ยืนยันว่า ศาลมีคำสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ข้อวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์จึงมีว่า ศาลจะสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้หรือไม่
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิด ได้ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้เงินของกลางจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ก่อนจะถูกจับกุมคดีนี้ เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดคดีนี้ จึงไม่อาจริบในคดีนี้ได้
การที่จำเลยที่ 2 เห็นพยานโจทก์ทั้งสี่กับพวกแล้ววิ่งหนี ย่อมเป็นพิรุธ แต่ข้อพิรุธดังกล่าวไม่อาจสันนิษฐานเป็นผลร้ายว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยานบอกเล่าและเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน มีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบจึงไม่อาจรับฟังเป็นความจริง
เงินของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแต่เงินของกลางดังกล่าวมิใช่เป็นทรัพย์สินที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 27 ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบเงินของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยมิได้อ้างพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ตามฎีกาของโจทก์ยืนยันว่า ศาลมีคำสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ข้อวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์จึงมีว่า ศาลจะสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้หรือไม่
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิด ได้ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้เงินของกลางจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ก่อนจะถูกจับกุมคดีนี้ เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดคดีนี้ จึงไม่อาจริบในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด ไม่ใช่ประมวลกฎหมายอาญา
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติ มาตราการในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 นั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้ รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 การร้องขอให้ริบทรัพย์คดีนี้เป็นการยื่นคำร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30การริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนี้พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36มาใช้บังคับ ดังนั้นการร้องขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าให้ศาลริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของข้อความในมาตรา 30 วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์นำมาใช้ในการวินิจฉัยขึ้นอ้างอิง และบทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฎหมายบทเดียวกับที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้ศาลอุทธรณ์จึงมิได้ยกข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามมาตรา 32 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลงบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีของการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามมาตรา 22 อันเป็นคนละกรณีกับกรณีตามมาตรา 30 จึงไม่อาจปรับบทบัญญัติตามมาตรา 32 มาใช้บังคับคดีนี้ได้