พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานต่างด้าวและการพิจารณาโทษทางอาญา ศาลฎีกาพิจารณาผลกระทบจาก พ.ร.ก.ใหม่และยกฟ้องบางฐาน
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.ก.บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มาตรา 3 (1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของต่างด้าว พ.ศ.2551 และให้ใช้ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 แทน ซึ่งมาตรา 9 บัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิด และมาตรา 102 กำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวไว้ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 33/2560 เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ 1 ให้มาตรา 102 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป ถือว่าการกระทำความผิดในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เป็นการกระทำที่ไม่มีโทษ จึงไม่เป็นความผิดอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ส่วนการกระทำความผิดที่เกิดก่อนวันที่ 23 มิถุนายน 2560 อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายเก่าที่ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มาตรา 3 แม้ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 จะยังกำหนดให้เป็นความผิด แต่ไม่มีโทษ จึงต้องถือว่า พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดให้การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดอีกต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสองดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงานโดยผิดกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12235/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นกรณี ส.ส./ส.ว. ถูกออกจากตำแหน่งเนื่องจากเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 และมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในเขตเลือกตั้งจังหวัดลพบุรีใหม่ มีผลทำให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2544 ก่อนที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ข้อ 1 ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 และมีผลให้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวสิ้นผลบังคับในวันดังกล่าวก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2544 ก่อนรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกยกเลิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งโดยไม่มีสิทธิได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 97 และโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา และเลขานุการประธานวุฒิสภาประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ด้วย
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา และเลขานุการประธานวุฒิสภาประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ด้วย