คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 393

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดแดกดัน ไม่ถึงขั้นดูหมิ่น หรือทำให้เสียหาย ไม่เป็นความผิดอาญา
จำเลยต่อว่าผู้เสียหายทั้งสี่ว่าไม่ล้างจานข้าว ผู้เสียหายว่าไม่มีคนล้างจาน จำเลยจึงกล่าวต่อผู้เสียหาย ทั้งสี่ว่า 'สี่คนไม่ใช่คนหรือไง' ดังนี้ เป็นเพียงคำแดกดันหรือประชดประชันด้วยความไม่พอใจเท่านั้น ไม่มีความหมายอันจะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย ทั้งยังไม่พอถือว่าทำให้ผู้เสียหายได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393, 397

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำว่า 'ไอ้ห่า' เป็นคำดูหมิ่นซึ่งหน้าได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยตามพจนานุกรมและความหมายที่ใช้ในการด่า
ตามพจนานุกรมให้ความหมายของคำว่า 'ห่า' ไว้ว่า เป็นชื่อผีจำพวกหนึ่งถือกันว่าทำให้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยนำคำว่า'ไอ้ห่า' มาใช้เป็นคำด่าโจทก์ จึงเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า มิใช่เป็นเพียงใช้คำไม่สุภาพผรุสวาจาหรือคำอุทาน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2220/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำว่า 'ไอ้ห่า' เป็นคำด่าดูหมิ่นซึ่งหน้าได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยตามความหมายพจนานุกรม
ตามพจนานุกรมให้ความหมายของคำว่า 'ห่า' ไว้ว่า เป็นชื่อผีจำพวกหนึ่ง ถือกันว่าทำให้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยนำคำว่า'ไอ้ห่า' มาใช้เป็นคำด่าโจทก์ จึงเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า มิใช่เป็นเพียงใช้คำไม่สุภาพ ผรุสวาจาหรือคำอุทาน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2220/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นพระภิกษุด้วยคำพูดที่ลดทอนเกียรติ ถือเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
กล่าวต่อพระภิกษุซึ่งเป็นบุคคลที่ประชาชนทั่วไปถือว่าควร เคารพด้วยถ้อยคำว่า "พระหน้าผี พระหน้าเปรต ไปฟ้องวานกู กูไม่กลัว" เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นพระภิกษุด้วยถ้อยคำดูหมิ่นถือเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
กล่าวต่อพระภิกษุซึ่งเป็นบุคคลที่ประชาชนทั่วไปถือว่าควรเคารพด้วยถ้อยคำว่า "พระหน้าผีพระหน้าเปรต ไปฟ้องวานกู กูไม่กลัว"เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นซึ่งหน้า: คำว่า 'มารศาสนา' ถือเป็นคำดูหมิ่นที่เข้าใจได้โดยทั่วไป โจทก์ไม่ต้องนำสืบ
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่าเป็นกรณีมีเหตุผลสมควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้" คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คำว่า "มารศาสนา" ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึงบุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นทำบุญและกีดกันบุญกุศลที่จะมาถึงตน ซึ่งเป็นบุคคลประเภทที่ สาธารณชนย่อมรังเกียจที่จะคบหาสมาคมด้วย จำเลยพูดว่าผู้เสียหายด้วยถ้อยคำดังกล่าวต่อหน้าผู้เสียหาย จึงต้องมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมายอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องระบุปัญหาสำคัญสู่อันควรแก่การวินิจฉัยของศาลฎีกา และคำว่า 'มารศาสนา' เป็นคำดูหมิ่น
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า 'พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าเป็นกรณีมีเหตุผลสมควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ' คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คำว่า 'มารศาสนา' ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึงบุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นทำบุญและกีดกันบุญกุศลที่จะมาถึงตน ซึ่งเป็นบุคคลประเภทที่สาธารณชนย่อมรังเกียจที่จะคบหาสมาคมด้วย จำเลยพูดว่าผู้เสียหายด้วยถ้อยคำดังกล่าวต่อหน้าผู้เสียหาย จึงต้องมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมายอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: พฤติกรรมไม่สุภาพ-ก้าวร้าว ไม่ถึงขั้นร้ายแรง เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้
ลูกจ้างเมาสุรา ไม่สวมเสื้อในขณะปฏิบัติงาน อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนั้น หาเป็นกรณีฝ่าฝืนที่ร้ายแรงไม่ และเมื่อนายจ้างบอกให้ลูกจ้างสวมเสื้อก็พูดว่า'คุณไม่เกี่ยว' นายจ้างสั่งให้ออกไปจากโรงงานก็พูดว่า'กูจะอยู่ที่นี่ได้ไหม' และเมื่อออกไปหน้าโรงงานก็พูดว่า 'กูจะเข้าไปไม่ได้หรือ' ถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงคำไม่สุภาพและก้าวร้าว หาเป็นความผิดทางอาญาฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าอันจะเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีฝ่าฝืนระเบียบและแสดงกิริยาไม่สุภาพ ไม่ถึงขั้นร้ายแรงเพียงพอต่อการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างเมาสุรา ไม่สวมเสื้อในขณะปฏิบัติงาน อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนั้น หาเป็นกรณีฝ่าฝืนที่ร้ายแรงไม่ และเมื่อนายจ้างบอกให้ลูกจ้างสวมเสื้อก็พูดว่า "คุณไม่เกี่ยว" นายจ้างสั่งให้ออกไปจากโรงงานก็พูดว่า "กูจะอยู่ที่นี่ได้ไหม" และเมื่อออกไปหน้าโรงงานก็พูดว่า "กูจะเข้าไปไม่ได้หรือ" ถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงคำไม่สุภาพและก้าวร้าวหาเป็นความผิดทางอาญาฐานดูหมิ่น ซึ่งหน้าอันจะเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงผ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ โดยอ้างถึงเชื้อชาติและพฤติกรรม
จำเลยลงพิมพ์โฆษณาข้อความในหนังสือพิมพ์ตอนแรกความว่า2... มีหวังคุก... นายสมศักดิ์เตชะรัตนประเสริฐ (นามสกุลยาวเป็นวาตามประสา'เจ๊ก'ใช้'แซ่' แต่เปลี่ยน นามสกุลเป็นไทย) ฟ้องนายสนิท เอกชัย'กัปตัน''เดลิไทม์' ต่อศาลสงขลา หาว่าใช้นามปากกา 'เรือขุด' ส่วนข้อความตอนหลังมีว่า แฉเบื้องหลังสร้างตัวจาก'เจ๊กกุ๊ย' ขึ้นมาเป็น 'เศรษฐีใหญ่' ร่ำรวยมหาศาลมีอิทธิพลเหนือโปลิศ เพราะมันชอบเนรคุณแต่ทำตัวคลุกคลีกับนายธนาคารใหญ่ๆหาตัว 'อ่อนๆ' ป้อนให้ไม่ซ้ำหน้าระหว่างข้อความตอนแรกกับข้อความตอนหลัง มีเครื่องหมายขีดสั้นๆ 3 ขีด แล้วตามด้วยเครื่องหมายสี่เหลี่ยมจตุรัสคั่นไว้ ซึ่งเมื่ออ่านข้อความทั้งหมดประกอบกันแล้วจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนจีนที่เลวทรามต่ำช้าเนรคุณจึงเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หาใช่ดูหมิ่นซึ่งหน้าไม่
of 12