พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และอายุความแจ้งความเท็จ ศาลฎีกายกฟ้องบางข้อหา
จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานเพื่อช่วยเหลือให้คนต่างด้าวได้รับบัตรประจำตัวประชาชน นับเป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศชาติ พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้
ภายหลังจากจำเลยที่ 2 กระทำความผิดคดีนี้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทย" เป็น "ผู้ใด" ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยที่ 2 สำหรับความผิดดังกล่าวในห้าปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 ซึ่งเกินกว่าห้าปีนับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาดังกล่าว จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
ภายหลังจากจำเลยที่ 2 กระทำความผิดคดีนี้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทย" เป็น "ผู้ใด" ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยที่ 2 สำหรับความผิดดังกล่าวในห้าปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 ซึ่งเกินกว่าห้าปีนับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาดังกล่าว จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแจ้งความเท็จ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีบัตรประชาชน
ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505(ฉบับเก่า) ยังมีผลบังคับใช้อยู่แม้ต่อมาพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526(ฉบับใหม่) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) แต่การยื่นคำขอรับบัตรโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสัญชาติไทย พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่)ก็ยังบัญญัติเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม โดยมาตรา 14 ได้ระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) ดังนั้น พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่) จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) มาตรา 17 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงมีอายุความเพียง5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 จึงเลยกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำผิด คดีจึงขาดอายุความ ต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิดมีผลต่อองค์ประกอบความผิด จำเลยมีสัญชาติไทย ฟ้องไม่ชอบ
ขณะที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิด ยังไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14แต่ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ มีพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และให้ใช้ความใหม่แทน เมื่อปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใด" ให้เป็น "ผู้ใด"ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทยส่วนพวกของจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในนามของผู้อื่นนั้นฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายองค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ที่ใช้ในภายหลังให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 โดยขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดจาก "ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใด" (ยื่นคำขอมีบัตร?) ให้เป็น "ผู้ใด" ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยผู้มีสัญชาติไทยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตร ประจำตัวประชาชนใหม่ ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตร ประจำตัวประชาชนใหม่ ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนให้ผู้อื่น เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกคำให้การรับรองผู้ขอมีบัตรสำหรับเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ บันทึกคำให้การผู้ขอมีบัตรคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคลเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526มาตรา 14 อันเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประชาชนให้เท่านั้น จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน - ความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคลซึ่งเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าหน้าที่: การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ต้องพิจารณาคุณสมบัติเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2526 ออกตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุกำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าเขตหรือผู้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอ หรือเจ้าพนักงานปกครอง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในอำเภอ กิ่งอำเภอหรือเขตนั้น ๆ ปรากฏว่า ฉ. มิใช่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอตามประกาศดังกล่าว ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ฉ.เป็นเจ้าหน้าที่อำเภอเขมราฐ ทำหน้าที่เสมียนปกครองและเป็นผู้ช่วยงานปลัดอำเภอ หาได้บรรยายว่าเป็นเจ้าพนักงานปกครองไม่ ฉ.จึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน: การกำหนดคุณสมบัติและการบรรยายฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2526 ออกตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุ กำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าเขต หรือผู้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอ หรือเจ้าพนักงานปกครอง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตนั้น ๆ ปรากฏว่า ฉ. มิใช่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ตามประกาศดังกล่าว ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ฉ. เป็นเจ้าหน้าที่อำเภอเขมราฐ ทำหน้าที่เสมียนปกครองและเป็นผู้ช่วยงานปลัดอำเภอ หาได้บรรยายว่าเป็นเจ้าพนักงานปกครองไม่ ฉ. จึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526