คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6979/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ที่ดินเป็นป่าหรือไม่ในคดีทำไม้หวงห้าม โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ชัดเจน หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ถือว่าจำเลยไม่มีความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันทำไม้ขะเจ๊าะและไม้มะเกลือซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ที่ขึ้นอยู่ในป่าและร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูป โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดินจึงเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) เมื่อทางนำสืบของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นป่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม้ของกลางที่ยังมิได้แปรรูปที่จำเลยทั้งสี่มีไว้ในครอบครองเป็นไม้จำนวนเดียวกันกับไม้ที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำไม้ในที่เกิดเหตุซึ่งไม่ใช่ป่าแต่เป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ การที่จำเลยทั้งสี่มีไม้ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8371/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01: ที่ดินของรัฐ – การทำไม้หวงห้ามในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาก็เพื่อนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มิได้มุ่งหมายให้ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ดินของรัฐ แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติอันเนื่องจากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดิน วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในที่ดินจากกรมป่าไม้เป็น ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 36 ทวิ ยังคงเป็นที่ดินของรัฐตาม ป.ดิน มาตรา 2 ไม่อาจถือได้ว่า ส.ป.ก. เป็นบุคคลผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) ที่ดินพิพาทจึงไม่มีบุคคลใดมาตามกฎหมายที่ดิน การที่ ส.ป.ก. ออกเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. ให้แก่เกษตรกรจึงเป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้นไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของที่ดินนั้น
การที่ ส. ได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. มาไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน และยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) การที่จำเลยที่ 1 ตัดฟันโค่นไม้ประดู่อันเป็นไม่หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของ ส. โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกป่า ตัดไม้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ศาลฎีกายืนโทษฐานบุกรุกป่าและทำให้เสียทรัพย์
คำว่า ป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน การเป็นป่าตามความหมายดังกล่าวไม่ใช่กรณีเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ หากที่ใดแปลงใดเป็นที่ดินที่ยังไม่มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ที่ดินแปลงใดแม้จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 616 (พ.ศ.2516) หรือไม่ หากไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิครอบครองทำกินตาม ป.ที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ
จำเลยเข้าไปครอบครองตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรีและก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่าเพื่อยึดถือครอบครองป่าเป็นของตนหรือผู้อื่นจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฐานร่วมกันยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางหรือเผาป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างแผ้วถางป่าโดยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ ป.อ. แยกการกระทำเป็นสองกรรมต่างหากจากกัน แต่เมื่อเป็นการกระทำความผิดต่อต้นยูคาลิปตัสจำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไป จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ใช่ป่าไม้ การตัดไม้ในที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้มาตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงไม่ใช่ป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (1) การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด การที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 62 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่อยู่ในนิยาม 'ป่า' การตัดไม้ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 3(2) จึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1)การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก.ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดดังกล่าวข้างต้นการที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการมีไม้แปรรูป รวมถึงสิ่งประดิษฐ์จากไม้หวงห้าม
จำเลยแปรรูปไม้ในบริเวณบ้านของจำเลยส่วนที่เป็นเพิงหลังบ้าน พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดได้ไม้สักแปรรูปจำนวน 139 แผ่นปริมาตร 0.129 ลูกบาศก์เมตร บานหน้าต่างไม้สัก 60 บานและบานประตูไม้สัก 4 บาน เครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปไม้และทำสิ่งประดิษฐ์ โดยเฉพาะพบแท่นซอยและแท่นเจาะติดตั้งไว้กับพื้นรวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ อีกหลายรายการกับพบร่องรอย ขี้เลื่อยขี้กบทั้งเก่าและใหม่ในบริเวณบ้านด้วย แสดงว่าเป็นสถานที่จัดขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้โดยเฉพาะ จึงเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตามบทนิยามในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 4(13) จำเลยตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยมิได้รับอนุญาตจึงมีความผิดตามมาตรา 78,73

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ชั่วคราวเพื่อใช้ส่วนตัว จำเป็นต้องขออนุญาตตามกฎหมายหรือไม่
จำเลยที่ 1 ติดตั้งเครื่องจักรทำการแปรรูปไม้ในสวนของกลางที่ยึดได้มีไม้สัก 88 แผ่น ไม้รัง 14 แผ่นและยังไม่มีไม้สักยังไม่ได้แปรรูป 12 ท่อน ถือได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 4(13) แล้ว แม้จำเลยที่ 1 ตั้งโรงงานเพื่อแปรรูปไม้เป็นการชั่วคราวเพื่อใช้ปลูกบ้านของตนเองก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 48

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทไม้และการลงโทษฐานครอบครองไม้ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะไม้ฟืนที่ไม่เข้าข่ายเชื้อเพลิง
ไม้ท่อนที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นไม้พื้นปาเก้ ลูกกรงหรือซี่ลูกกรงได้ไม่มีลักษณะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงไม่เป็นไม้ฟืนตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 4(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทไม้และการลงโทษความผิดฐานครอบครองไม้ผิดกฎหมาย โดยพิจารณาจากลักษณะและการนำไปใช้ประโยชน์
ไม้ท่อนที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นไม้พื้นปาเก้ ลูกกรงหรือที่ลูกกรงได้ ไม่มีลักษณะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงไม่เป็นไม้ฟืนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้และสนับสนุนการเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: ความผิดฐานสนับสนุนและการลงโทษ
ไม้ฟืนเป็นไม้ที่ไม่เหมาะสมจะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นนอกจากเป็นเชื้อเพลิงพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา4ก็ได้ให้คำนิยามของคำว่าไม้กับคำว่าของป่าไว้แยกต่างหากจากกันและไม้ฟืนถูกกำหนดให้เป็นของป่าอย่างหนึ่งไม้ฟืนจึงไม่ใช่ไม้ตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยนำไม้ฟืนออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงไม่มีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม้ฟืนของกลางที่จำเลยรับจ้างบรรทุกรถยนต์มานั้นถูกเก็บกองอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติความผิดฐานเก็บหาไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงยังไม่ขาดตอนการที่จำเลยหลบหนีไปเพราะพบเห็นเจ้าหน้าที่แสดงว่าจำเลยทราบดีว่าไม้ฟืนของกลางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำเลยรับจ้างบรรทุกไม้ฟืนอันเป็นของป่าซึ่งมีผู้กระทำผิดนำมากองไว้เพื่อจะนำออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดฐานเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14,31วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา86ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา29ทวิ71ทวิลงโทษบทหนักที่สุดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507.
of 3